โควิดขาขึ้น "หมอโอภาส" ไขข้อสงสัยควรฉีดเข็มกระตุ้น หรือรอวัคซีนรุ่นใหม่

ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ ไขข้อสงสัยวัคซีนโควิด-19 ควรฉีดเข็มกระตุ้นแบบเก่า หรือรอวัคซีนรุ่นใหม่ ในช่วงโควิดขาขึ้น

สถานการณ์โควิด-19 เริ่มกลับมาเป็นที่น่ากังวลอีกครั้ง หลังจากที่พบผู้ติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการเพิ่มขึ้น ทำให้แพทย์หลายคนออกมาเตือนให้ประชาชนป้องกันตัวเองให้ดี หลีกเลี่ยงไปในสถานที่แออัด พร้อมกับแนะนำให้ฉีควัคซีนโควิด-19 วัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ทำให้หลายคนเกิดคำถามถึงวัคซีนรุ่นใหม่ที่กำลังพัฒนาในขณะนี้ ว่าเราควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือจะรอวัคซีนตัวใหม่ดี

 

โควิดขาขึ้น "หมอโอภาส" ไขข้อสงสัยควรฉีดเข็มกระตุ้น หรือรอวัคซีนรุ่นใหม่
 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2565 หมอโอภาส หรือ ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงวัคซีนโควิด-19 โดยระบุว่า


"มีคนถามมาแยะ ว่าช่วงนี้คนติดเพิ่มขึ้น ไวรัสเปลี่ยนสายพันธุ์ไป ถ้าจะบูสวัคซีนต้องรอวัคซีนรุ่นใหม่มั้ย สรุปว่า ไม่ต้องรอนะครับ ข่าวว่าวัคซีนรุ่นใหม่อาจมาเกือบกลางปีหน้า และแบบเก่ายังป้องกันได้ดีอยู่ บูสก่อนช่วงปีใหม่ได้เลย"

 

โควิดขาขึ้น "หมอโอภาส" ไขข้อสงสัยควรฉีดเข็มกระตุ้น หรือรอวัคซีนรุ่นใหม่

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ หมอโอภาส ได้โพสต์ข้อความถึงการกลับมาพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ โดยระบุว่า "ช่วงนี้คนติดโควิดเพิ่มขึ้นเพราะอะไร


1. น่าจะเป็นจากการมีกิจกรรมที่ใกล้ชิดกันมากขึ้นบวกกับการผ่อนคลายการใส่หน้ากาก


2.ยังไม่เห็นว่ามีกลายพันธุ์ไวรัสใหม่ทำให้เกิดการระบาด จากข้อมูลศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก (สนับสนุนจาก WHO) BA.5 ยังเป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุด รองลงมาเป็น BA.4 และมี BA.2.75 ปนมาประมาณ 5% (ข้อมูล จนถึงต้นเดือน พ.ย. ) แต่ยังคงต้องติดตามการเปลี่ยนสายพันธุ์ไปอีก


3. คนที่ติดในรอบนี้บางคนเคยติดโควิดมาก่อนในระลอกที่มี ไวรัส delta หรือ omicron BA.2 ระบาด รอบนี้ติดซ้ำ ซึ่งพบคนที่ติดซ้ำรอบนี้ประมาณ 8% คาดว่าจะมีการติดเชื้อซ้ำๆ ได้อีก


4.จับตาการกลายพันธุ์ของ BA.5 เป็น BQ.1 ซึ่งอาจจะลดการตอบสนองต่อ EVUSHELD คาดว่าอีกซักพักอาจจะเห็น BQ.1 เพิ่มขึ้นในประเทศ แต่ขึ้นช้าๆ แนวโน้มอาจจะเห็นการระบาดของไวรัสหลายสายพันธุ์พร้อมกัน แต่อาการมักไม่รุนแรงในคนที่ยังมีภูมิจากวัคซีน


5. จากที่ได้มีโอกาสตรวจระดับภูมิคุ้มกันในงานวิจัย พบว่าคนที่ฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายเกินหกเดือนบางคน ภูมิตกลงอาจจะไม่พอป้องกัน ไวรัสสายพันธุ์ BA.5 ดังนั้นคนสูงอายุที่มีความเสี่ยงโรครุนแรงน่าจะต้องรีบไปกระตุ้น เพื่อป้องกันอาการหนัก โดยเฉพาะก่อนปีใหม่ที่การระบาดมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น


6. รอบนี้คนติดที่ไม่ได้มาตรวจอาจจะมีจำนวนมาก เนื่องจากตรวจได้เองที่บ้านกับรักษาตามอาการได้เอง คนที่อาการรุนแรงจะยังไม่มีจำนวนมากแต่จะค่อยสูงขึ้นช้าๆ มีโอกาสเตียงแน่นในบางโรงพยาบาล"

 

โควิดขาขึ้น "หมอโอภาส" ไขข้อสงสัยควรฉีดเข็มกระตุ้น หรือรอวัคซีนรุ่นใหม่

ขอบคุณ Opass Putcharoen

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Thainewsonline