- 28 มี.ค. 2566
พระบรมราชโองการฯ สั่ง "รัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา" เจ้าของนโยบายไม่รับของขวัญ พ้นตำแหน่งอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
พระบรมราชโองการฯสั่ง "รัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา" พ้นตำแหน่ง : สืบเนื่องจาก กรณีที่ ตำรวจสอบสวนกลาง พร้อม เจ้าหน้าที่กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) ร่วมกับ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) บุกจับกุม นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมอุทยานฯ ความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานสมาชิกสภา เรียก-รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนสำมัญพ้นจากตำแหน่ง ใจความว่า ด้วยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มีคำสั่งให้ นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ออกจากรายการไว้ก่อนตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ. 2566 เนื่องจากถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรเกล้าโปรดกระหม่อมให้พ้นจากตำแหน่งแล้ว
บัดนี้ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บุคคุลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อง ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ. 2566 ประกาศ ณ วันที่ 26 มี.ค. 2566 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
โดยก่อนหน้านี้มีการร้องเรียนว่า นายรัชฎา ได้เรียกรับเงิน หรือผลประโยชน์จากผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่จะไม่ต้องถูกโยกย้ายตำแหน่งหรือสับเปลี่ยนกำลังในหน่วยงานรายละหลายแสนบาท นำมาสู่การจับกุม นายรัชฎา ซึ่งจากการตรวจสอบภายในห้องทำงานพบเงินสดเกือบ 5 ล้านบาท
ขณะที่ผลสอบสวนของ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า นายรัชฎา มีความผิดวินัยร้ายแรงจริง เพราะจากกการสอบสวนพยานกว่า 50 ปาก ส่วนใหญ่ยอมรับว่าเงินที่พบในห้องทำงานดังกล่าว เป็นเงินที่นำมาจ่ายเพื่อเรียกรับ แต่ก็มีพยานบางกลุ่มให้การอ้างว่า เป็นเงินค่าเช่าพระ และเงินโครงการต่าง ๆ ของกรมอุทยานฯ