เปิดภาพ พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย

เปิดภาพล่าสุด "พลายศักดิ์สุรินทร์" ช้างไทยทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย ล่าสุดขึ้นเครื่องบินจากศรีลังกาแล้ว

จากกรณีที่ พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทย 1 ใน 3 เชือกที่รัฐบาลไทยมอบให้กับรัฐบาลศรีลังกา ตั้งแต่ปี 2544 และรัฐบาลศรีลังกาได้โอนกรรมสิทธิ์พลายศักดิ์สุรินทร์ให้แก่วัดคันเดวิหาร (วัด Kande Vihara) เป็นผู้ดูแล เพื่อเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในงานแห่พระธาตุประจำปีของศรีลังกา

 

เปิดภาพ พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย

ต่อมาในเดือน พ.ค.2565 กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแจ้งจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า องค์การ Rally for Animal Rights & Environment (RARE) ซึ่งเป็นองค์การด้านการพิทักษ์สิทธิสัตว์ในศรีลังกา ร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้แรงงานพลายศักดิ์สุรินทร์ที่ค่อนข้างหนัก และพลายศักดิ์สุรินทร์ไม่ได้รับการดูแลที่ดี และควรได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วน กระทรวงการต่างประเทศ จึงได้หารือเรื่องข้างต้นกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นการเร่งด่วน และได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ เข้าตรวจสอบ

 

เปิดภาพ พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย


โดยเมื่อวันที่ 24 ส.ค.2565 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นพบว่า พลายศักดิ์สุรินทร์ มีสุขภาพและสภาพความเป็นอยู่ไม่ดี จึงได้ร่วมกับคณะสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญไทย จากกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เดินทางไปตรวจสุขภาพและความเป็นอยู่ของพลายศักดิ์สุรินทร์อีกครั้ง ซึ่งคณะสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ควรให้พลายศักดิ์สุรินทร์หยุดการทำงานและส่งตัวกลับมารักษาอาการป่วยที่ประเทศไทย


สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้หารือกับกระทรวงการต่างประเทศศรีลังกา วัด Kande Vihara และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกใบอนุญาตให้นำพลายศักดิ์สุรินทร์กลับมารักษาที่ประเทศไทย ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และล่าสุดได้รับการยืนยันจาก น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ว่าจะเดินทางไปด้วยตัวเองเพื่อรับ พลายศักดิ์สุรินทร์ กลับไทยในวันที่ 1 ก.ค.2566 และจะส่งตัวไปรักษาและดูแลชีวิตบั้นปลายที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง

 

เปิดภาพ พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย

อย่างไรก็ตามวันนี้  2 ก.ค.2566 เพจเฟซบุ๊ก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เปิดภาพบรรยากาศการเคลื่อนย้ายช้างไทย พลายศักดิ์สุรินทร์ ทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย โดยสำหรับขั้นตอนการขนย้าย "พลายศักดิ์สุรินทร์" มีดังนี้


วันที่ 1 ก.ค. 2566 เวลา 22.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นศรีลังกา เริ่มการเคลื่อนย้ายในคืน


เวลาประมาณ 00.20 น. วันที่ 2 ก.ค. 2566 นำช้างเดินเข้ากรง โดยใช้รถเครนขนาดใหญ่ยกกรงช้างไปไว้บนรถเทรลเลอร์ลากพ่วง

 

เปิดภาพ พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย


เวลา 01.05 น. เริ่มขนย้ายทางรถยนต์จากสวนสัตว์ Dehiwala ไปยังสนามบิน "บันดารานายาเก" กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา


เวลา 03.00 น. ถึงคาร์โก้สนามบิน


เวลา 03.25 น. สัตวแพทย์เก็บอุจจาระ ตรวจสอบช้าง และยกช้างเปลี่ยนรถ และเคลื่อนสู่เครื่องบิน พิธีการศุลกากร (ตม.) และโหลดสัมภาระและใช้รถเครนขนาดใหญ่ย้ายกรงช้างจากรถเทรลเลอร์

 

เปิดภาพ พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย


เวลา 04.00 - 04.50 น.ได้เคลื่อนย้ายกรงเข้าไปในเครื่องบินแบบ Ilyushin IL-76 (อิลยูชิน อิล-76) ซึ่งช่วงการยกกรงช้างโดยรถเครน ซึ่งขณะปฏิบัติการมีเจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินการประมาณ 40 คน


เวลา 07.30 น. เครื่องบินแบบ Ilyushin IL-76 (อิลยูชิน อิล-76) เครื่องบินขนส่งรัสเซียจะเริ่มเดินทาง เพื่อบินสู่สนามบินเชียงใหม่ ประเทศไทย โดยใช้เวลาในการทำการบินประมาณ 5-6 ชั่่วโมง เนื่องจากต้องใช้เพดานบินและความเร็วต่ำ


โดยพลายศักดิ์สุรินทร์จะอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของควาญช้างนายทรชัยสิทธิ์ ศิริ นายศุภชัย บุญเกิด นายไกรสร เครือจันทร์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จากสถาบันคชบาลแห่งชาติฯ รวมจำนวน 3 คน และ Mr. Don Upul Jayarathna Denelpitiyage หัวหน้าชุดควาญศรีลังกา จากสวนสัตว์ Dehiwala จำนวน 1 คน ที่ช่วยปฏิบัติหน้าที่ในการร่วมเดินทางดูแลช้างบนเครื่องบินขนส่ง ซึ่งการเคลื่อนย้ายช้างครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในการขนย้ายสิ่งมีชีวิต ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบินมา

 

เปิดภาพ พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย

 

เปิดภาพ พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย

 

เปิดภาพ พลายศักดิ์สุรินทร์ ช้างไทยทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย

 

ขอบคุณ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช , NuNa Silpa-archa