- 28 ก.ค. 2566
ศาลปกครองสูงสุด ยืนคำพิพากษา สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง คอนโดแอชตัน อโศก ซึ่งก่อสร้างด้วยมูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท
เฟซบุ๊ก Ananda Development ได้โพสต์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้พิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง คอนโดหรู "แอชตัน อโศก" รายละเอียดดังนี้
ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษาให้คดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับพวกได้ยื่นฟ้องผู้อำนวยการเขตวัฒนาที่ 1 ผู้อำนวยการสำนักการโยธาที่ 2 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ 3 ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่ 4 คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และ บริการชุมชนที่ 5 และ บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด โดย ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษา ยืนคำพิพากษาศาลปกครองกลาง น้อมรับและเคารพในคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
กรณีที่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยไว้ในประเด็นสำคัญ ที่ว่าที่ดินของ รฟม.ไม่อาจนำมาให้บริษัท ฯ หรือเอกชนใช้ในการทำโครงการได้ จึงทำให้หน่วยงานของรัฐไม่อาจออกใบอนุญาตในการก่อสร้าง จึงมีผลให้ ใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น
บริษัท ฯ เห็นว่าศาลปกครองซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคดีพิพาท ระหว่าง หน่วยงานของรัฐ และหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน รวมทั้ง เพื่อวางแนวหรือสร้างบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการ ให้ถูกต้องชอบธรรม อีกทั้งภายใต้กฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทุกฉบับ รวมถึงฉบับปัจจุบัน พุทธศักราช 2560 ในส่วนบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ หน้าที่ของรัฐ ในกรณีที่รัฐจะอนุมัติหรืออนุญาตให้ผู้ใด ทำการได้ก็จะต้องดำเนินการไปตามกฎหมายโดย รัฐมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องใช้อำนาจและทำหน้าที่ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ประมาทเลินเล่อ หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นเหตุ ให้เกิดความเสียหายกับประชาชน หรือผู้ประกอบการ
ยิ่งไปกว่านั้น หากมีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังเกิดขึ้นเป็นคดีนี้แล้ว หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ ต้อง รับผิดชอบและทำ การเยียวยา ใน ความเดือดร้อนเสียหาย ที่เกิดขึ้น อย่างเป็นธรรม และโดยไม่ชักช้า
ดังนั้น ผลแห่งคำพิพากษาที่เกิดขึ้นดังกล่าว หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ในความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ต่อเจ้าของร่วมอาคารชุด และบริษัทฯ เพราะ หากหน่วยงานราชการผู้มีอำนาจหน้าที่ไม่เห็นชอบและอนุมัติแล้วโครงการนี้จะไม่สามารถก่อสร้างได้ตั้งแต่แรกซึ่งจะไม่เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงอย่างที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเร่ง รีบดำเนินการ ในการเรียกร้องค่าเสียหายกับ หน่วยงาน ของรัฐ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อเยียวยาความเสียหายแก่เจ้าของร่วมอาคารชุดและ บริษัทฯ โดยเร็ว
รวมทั้ง บริษัทฯ จะดำเนินการประสานงานคณะกรรมการนิติบุคคลแอชตัน อโศก และท่านเจ้าของร่วมเพื่อขอเข้าพบผู้ว่าราชราชการกทม. และผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อทวงถามเพื่อทวงถามความรับผิดชอบความรับผิดชอบในความเสียหายในความเสียหายที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้น ภายใน 14 วัน นับแต่วันนี้นับแต่วันนี้
บริษัทฯ ขอยืนยันว่า การทำทาโครงการแอชตัน อโศก นั้นได้มีการตรวจสอบประเด็นทางกฎหมาย รวมทั้งข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตต่าง ๆ รวมทั้ง ๆ รวมทั้งสภาพที่ดินของโครงการอย่างรอบคอบรัดกุม อีกทั้งการพิจารณาอนุมัติในการทำโครงการต่าง ๆ ยังได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติ และภายใต้การกำกับควบคุม จากหน่วยงานของรัฐไม่ต่ำกว่า 8 หน่วยงาน จึงเป็นที่เห็นประจักษ์และยืนยันได้ว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการไปด้วยความสุจริต และชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้งทุกประการเท่าที่บริษัทฯจะทำได้ ด้วยความเชื่อถือโดยสุจริตว่าการอนุมัติของหน่วยงานราชการทุกฝ่ายนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
บริษัท ฯ จึงใคร่ขอความเป็นธรรมจากทุกภาคส่วน ที่จะร่วมกันแก้ไขภาคส่วนที่จะร่วมกันแก้ไขป้องกันมิให้ปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นคดีนี้อีก และเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐ ได้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเร็ว
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ศาลปกครองกลาง ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด นคดีหมายเลขดำที่ ส. 53/2559 คดีหมายเลขแดงที่ ส. 19/2564 ระหว่าง สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 16 คน (ผู้ฟ้องคดี) กับ ผู้อำนวยการเขตวัฒนา กับพวกรวม 5 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) และบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด หรือ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทู จำกัด (ผู้ร้องสอด) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
(ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้อำนวยการเขตวัฒนา กับพวกรวม 5 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ กรณีร่วมกันออกคำสั่งอนุมัติหรืออนุญาตให้ผู้ประกอบการเอกชนก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยขนาดใหญ่พิเศษ ชื่อโครงการแอชตัน อโศก ในซอยสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยขัดต่อกฎหมาย ละเมิดสิทธิชุมชน และละเมิดสิทธิความเป็นอยู่ส่วนบุคคลของชาวบ้านโดยรอบพื้นที่โครงการดังกล่าว ด้วยการปล่อยให้มีการปิดกั้นหรือใช้ประโยชน์ถนนสาธารณะนอกขอบวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ทำให้ผู้ฟ้องคดีเดือดร้อนเสียหาย)
คดีนี้ ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนใบรับหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลงรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร โดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตที่ออกให้แก่ผู้ร้องสอด โดยให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่ออกหนังสือทุกฉบับในกรณีดังกล่าว
เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เดิมที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของอาคารโครงการแอชตัน อโศก มีทำเลที่ตั้งติดกับถนนสาธารณะ (ถนนอโศกมนตรี) แต่ต่อมาที่ดินด้านที่ติดกับถนนสาธารณะบางส่วนถูกเวนคืน เพื่อสร้างทางพิเศษฯ ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินตั้งอยู่ติดถนนสาธารณะ และไม่มีทางออกสู่ถนนอโศกมนตรีได้เช่นเดิม ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้อนุญาตให้ผู้ร้องสอดใช้ประโยชน์ในที่ดินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นทางผ่านหรือเข้า – ออกสู่ถนนถนนอโศกมนตรี ซึ่งมีขนาดความกว้าง 13 เมตร เพื่อประโยชน์แก่ผู้ร้องสอดในการดำเนินโครงการ แอชตัน อโศก ตามคำขอของผู้ร้องสอดเท่านั้น มิได้มีเจตนาที่จะยกที่ดินบางส่วนของ รฟม. ให้เป็นถนนสาธารณะโดยเปิดหรือยินยอมให้ประชาชนเข้าไปหรือใช้เป็นทางสัญจรแต่อย่างใด
ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงไม่อาจนำที่ดินของ รฟม. ไปประกอบการยื่นแจ้งการก่อสร้างและดัดแปลงอาคารโครงการแอชตัน อโศก ได้ และไม่อาจถือได้ว่าที่ดิน รฟม. ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคารของผู้ร้องสอด ตามนิยามในข้อ 1 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ดังนั้น ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคารโครงการแอชตัน อโศก จึงไม่มีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร การที่ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) อนุญาตให้แก่ผู้ร้องสอดทำการก่อสร้างและดัดแปลงอาคารโครงการแอชตัน อโศก จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงสมควรที่ศาลจะพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับแจ้งการก่อสร้างอาคารพิพาททุกฉบับโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่งดังกล่าว เพื่อมิให้คำสั่งดังกล่าวมีผลในระบบกฎหมายต่อไป
สำหรับประเด็นที่ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4) ออกประกาศ เรื่อง กำหนดประเภทการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟม. เป็นทางผ่าน นั้น ศาลเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกไม่ใช่ผู้ที่มีที่ดินและที่อยู่อาศัยตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าที่ขออนุญาตใช้ที่ดินของ รฟม. เป็นทางผ่านเข้า – ออกสู่ทางสาธารณะ ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกจึงมิใช่ผู้ที่อยู่ในบังคับของประกาศที่พิพาทและไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากประกาศดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนประกาศดังกล่าว
ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ออกใบอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟม. เพื่อประโยชน์ของที่ดินของผู้ร้องสอดนั้น ศาลเห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นเพียงการก่อตั้งสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินของ รฟม. ตามคำเสนอของผู้ร้องสอด การออกใบอนุญาตดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง และผู้ฟ้องคดีทั้งสิบหกไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีทั้ง 16 จึงไม่มีสิทธิฟ้อง
ในข้อหานี้ ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 – 4 และผู้ร้องสอดจึงยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด