โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง "อโนชา ชีวิตโสภณ" นั่งปธ.ศาลฎีกาคนใหม่

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "นางอโนชา ชีวิตโสภณ" ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566  เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "นางอโนชา ชีวิตโสภณ" ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา

 

โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง อโนชา ชีวิตโสภณ เป็นประธานศาลฎีกา

โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง อโนชา ชีวิตโสภณ เป็นประธานศาลฎีกา

 

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า

โดยที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมได้ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง "นางอโนชา ชีวิตโสภณ" ข้าราชการตุลาการ ตำแหน่ง ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานศาลฎีกา แทน นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ที่จะพ้นจากตำแหน่งประธานศาลฎีกาในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นางอโนชา ชีวิตโสภณ ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานศาลฎีกา

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก

ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
 

โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง อโนชา ชีวิตโสภณ เป็นประธานศาลฎีกา

 

ด้วยการนี้ "นางอโนชา ชีวิตโสภณ" นับเป็นประธานศาลฎีกาคนที่ 49 และเป็นประธานศาลฎีกาหญิงคนที่ 3 ต่อจาก "นางสาวปิยกุล บุญเพิ่ม" และ"นางเมทินี ชโลธร"

 

ประวัติ นางอโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฎีกาคนใหม่ เดิมดำรงตำเเหน่ง ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา 

การศึกษา  

จบนิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เนติบัณฑิตไทย รุ่นที่ 33 สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และนิติศาสตรหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ  นิติศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญ  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแม่สอด, ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว, ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดธัญบุรี, อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2, ผู้พิพากษาศาลฎีกา, อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ

 

เคยได้รับเลือกตั้ง : กรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.), กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.)