เปิด 4 ระยะอาการ "ฝีดาษลิง" ตั้งแต่เริ่มเป็นจนหาย ใครมีดังนี้หาหมอด่วน

ทำความรู้จัก 4 ระยะอาการของโรคฝีดาษลิง ตั้งแต่ติดเชื้อจนถึงหายจากโรค ใครมีอาการควรรีบพบแพทย์ด่วน สามารถหายได้

วันที่ 3 ก.ย. 2566 นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์ล่าสุดของโรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง ในประเทศไทย โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2566 มีรายงานผู้ป่วยรวม 316 ราย เสียชีวิต 1 รายเป็นผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยเป็นกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย 271 ราย และมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี 143 ราย มีสัญชาติไทย 277 ราย ชาวต่างชาติ 36 ราย ไม่ระบุ 3 ราย 

เปิด 4 ระยะอาการ "ฝีดาษลิง" ตั้งแต่เริ่มเป็นจนหาย ใครมีดังนี้หาหมอด่วน

ทำความรู้จัก 4 ระยะอาการของโรคฝีดาษลิง ตั้งแต่ติดเชื้อจนถึงหายจากโรค

  • ระยะที่ 1 เรียกว่า ระยะฟักตัว : ระยะตั้งแต่รับเชื้อ จนเกิดอาการ ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ โดยจะอยู่ในช่วง 5-21 วันหลังจากได้รับเชื้อ
  • ระยะที่ 2 เรียกว่า ระยะไข้ หรือระยะก่อนออกผื่น : ระยะนี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่ 1-4 วัน จะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วไป ได้แก่ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหัว เจ็บคอ หนาวสั่น อ่อนเพลีย มีแผลในปาก และต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย ซึ่งอาการต่อมน้ำเหลืองโตถือเป็นอาการเฉพาะของโรคฝีดาษลิง

เปิด 4 ระยะอาการ "ฝีดาษลิง" ตั้งแต่เริ่มเป็นจนหาย ใครมีดังนี้หาหมอด่วน

  • ระยะที่ 3 เรียกว่า ระยะออกผื่น : อาการระยะนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ บางรายอาจะเป็นนานถึง 4 สัปดาห์ จะมีผื่นหรือตุ่มขึ้นเป็นจำนวนมากตามร่างกาย โดยจะเริ่มจากผื่นแบน แล้วเป็นผื่นนูน ต่อด้วยตุ่มน้ำใส และตุ่มน้ำขุ่น หรือตุ่มหนอง จนกระทั่งเป็นผื่นแผลแห้งเป็นขุย เมื่อตุ่มหนองต่าง ๆ แห้งหมด จะถือว่าหมดระยะแพร่เชื้อ
  • ระยะที่ 4 เรียกว่า ระยะฟื้นตัว : ใช้เวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์

ทั้งนี้ แพทย์เฉพาะทางจะพิจารณาจากอาการเป็นหลัก โดยเฉพาะอาการมีไข้พร้อมกับตุ่มน้ำใสคือสัญญาณชัดเจนของโรคฝีดาษลิง โดยจะทำการตรวจหาสารพันธุกรรม Real – Time PCR โดยระยะเวลาการตรวจอยู่ที่ 24 – 48 ชั่วโมง และการตรวจลำดับนิวคลิโอไทด์ด้วยเทคนิค DNA Sequencing ที่ใช้ระยะเวลาการตรวจ 4 – 7 วัน

ป้องกันตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัยจากฝีดาษลิง?


แนะนำหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด ตุ่มหนอง หรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย ละอองฝอย หรือน้ำเหลืองของสัตว์ที่ติดเชื้อ สัตว์ป่า หรือจากผู้ที่สงสัยว่าป่วยหรือมีประวัติเสี่ยงติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ สวมหน้ากาก หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์

โดยแยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิดไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปาก เป็นต้น และทานอาหารที่ปรุงสุก สด ใหม่เสมอ การดูแลตัวเองแบบนี้ ไม่ใช่แค่ลดความเสี่ยงจากฝีดาษลิง แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงจากไข้หวัดใหญ่ และ COVID-19 ได้ไปพร้อมๆ กัน และแม้ว่าจะยังไม่เคยมีการระบุชัดเจนว่า โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ Safe Sex ไว้ด้วยการสวมถุงยางอนามัย ไม่เปลี่ยนคู่นอน หรือจะให้ดีเว้นระยะการมีกิจกรรมในช่วงนี้ไปก่อน ก็เป็นการลดความเสี่ยงที่ดีเช่นเดียวกัน