รสนา ยื่นหนังสือถึง สตง. จี้ตรวจสอบ แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท กับมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561


    19 ต.ค.66  ที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานครฯ ได้เดินทางเข้ามาเพื่อเข้าพบผู้แทนกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อยื่นหนังสือ เรื่องขอให้ตรวจสอบความชอบด้วยกฏหมาย ที่เกี่ยวข้องตามนัย 8 ของ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2561 ถึงกรณีนโยบายการแจกเงินดิจิทัล10,000 บาท ของรัฐบาล
 

ซุกหนี้สาธารณะ "รสนา" จี้ตรวจสอบ แจกเงิน 10,000 ขัดกับ พ.ร.บ. วินัยการเงินฯ


นางสาวรสนา กล่าวว่า ต้องการให้ สตง. ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว หากพบว่านโยบายดังกล่าวส่งผลเสียต่อระบบการเงินการคลังของประเทศ ก็จะต้องมีการพิจารณาจัดให้มีการประชุมร่วมกับ กกต. และ ปปช. ในการระงับหรือยับยั้งโครงการนี้

 

โดยในหนังสือที่ตนนำมายื่นในวันนี้ได้ระบุเหตุผล 6 ประการ ประกอบด้วย

 

1.นักวิชาการได้ลงความเห็นว่านโยบายการแจกเงิน 10,000 บาท เป็นการได้ไม่คุ้มเสีย ขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศกำลังฟื้นตัวไม่ควรต้องมีการกู้เงินกว่า 560,000 ล้านบาทมาใช้แจกจ่ายสำหรับการบริโภค ควรจะนำเงินที่กู้มานี้ไปใช้พัฒนาระบบต่างๆ ที่มีความยั่งยืนมากกว่า

 

ซุกหนี้สาธารณะ "รสนา" จี้ตรวจสอบ แจกเงิน 10,000 ขัดกับ พ.ร.บ. วินัยการเงินฯ

2.อาจจะเป็นการขัดต่อหลักกฏหมาย เนื่องจากเงินที่นำมาแจกเป็นรูปแบบของเงินดิจิทัลหรือโทเค็น อาจสร้างความสับสนว่าจะเป็นคริปโตเคอเรนซี่และอาจเข้าข่ายเป็นการสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี้ยงการขออนุญาตตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501 

ซุกหนี้สาธารณะ "รสนา" จี้ตรวจสอบ แจกเงิน 10,000 ขัดกับ พ.ร.บ. วินัยการเงินฯ

โครงการดังกล่าวเพิ่มความสิ้นเปลืองแก่ประเทศโดยไม่จำเป็น เนื่องจากต้องมีการสร้างระบบบล็อคเชนใหม่เพื่อรองรับระบบเงินดิจิทัล ทั้งนี้รัฐไม่จำเป็นต้องพัฒนาบล็อคเช่นใหม่ เพราะมีผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ตและ โมบายแบงกิ้ง หลายแอปพลิเคชั่นอยู่แล้ว เช่น เป๋าตัง ทรูมันนี่ เคพลัส เป็นต้น

 

4.หลีกเลี่ยงหลักการใช้เงินแผ่นดิน เนื่องจากรัฐบาลประกาศกำหนดแจกเงินดิจิทัลในเดือน เมษายน 2567 อาจจะเป็นการวางแผนใช้งบประมาณเดิม โดยรัฐบาลจะไม่เสนอโครงการนี้ในกระบวนการงบประมาณต่อรัฐสภาเสียก่อน อาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ

ซุกหนี้สาธารณะ "รสนา" จี้ตรวจสอบ แจกเงิน 10,000 ขัดกับ พ.ร.บ. วินัยการเงินฯ

 

5.อาจเป็นการซุกหนี้สาธารณะ โดยมีข่าวว่ารัฐบาลจะใช้วิธีให้ธนาคารออมสินกู้หนี้ไปก่อน แล้วรัฐบาลจึงค่อยจัดเงินจากงบประมาณชดใช้ในภายหลัง โดยตนเห็นว่าการดำเนินการนี้จะมีลักษณะเป็นการ "ซุกหนี้" ที่ไม่โปร่งใสและอาจจะอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารออมสิน

 

6.ขัดกับ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 รวมทั้งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501และกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจและการเงินการคลังของรัฐอย่างร้ายแรง 

 

นางสาวรสนา ระบุว่า หากเทียบในกรณีจำนำข้าว เราเห็นว่ารัฐมนตรีจะต้องติดคุก แต่จะมีประโยชน์อะไร เนื่องจากเงินเราสูญหายไป ตนในฐานะประชาชนเป็นเจ้าของภาษีที่เป็นเงินที่รัฐบาลจะต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ดังนั้นการทำหน้าที่ในวันนี้เรามาทำหน้าที่ในฐานะประชาชนที่เรียกร้องให้องค์กรตรวจสอบได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้