อุทาหรณ์ชั้นดี หมอ เตือน ฝังเข็มทำปอดรั่ว ถ้าขึ้นเครื่องบินอาจถึงเสียชีวิต

นพ.สมรส พงศ์ละไม แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด แพทย์ฝังเข็ม โพสต์เตือน กรณีฝังเข็ม ทำปอดรั่ว ชี้ ถ้าขึ้นเครื่องบินมีโอกาสเสียชีวิต

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 นพ.สมรส พงศ์ละไม แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด แพทย์ฝังเข็ม ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Somros MD Phonglamai ระบุ 

คนไข้ปวดคอบ่าไหล่ ไปฝังเข็ม วันต่อมาหายใจแล้วเจ็บหน้าอกทุกครั้ง เจ็บแปล๊บๆ x-ray เจอปอดรั่ว pneumothorax นิวโมธอแรกซ์ ! ถ้าขึ้นเครื่องบินอาจตายได้

อุทาหรณ์ชั้นดี หมอ เตือน ฝังเข็มทำปอดรั่ว ถ้าขึ้นเครื่องบินอาจถึงเสียชีวิต

1- การฝังเข็มหรือการลงเข็ม เป็นการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ออฟฟิศซินโดรมที่ดี ประหยัด มีประสิทธิภาพถ้าใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ประมาท เข้าใจการดำเนินโรคอย่างถูกต้อง

2- แต่ช่วงหลังๆเจอปัญหาปอดรั่วบ่อยขึ้นมากๆ คนไข้มักมีอาการไอหลังฝังเข็ม

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ “ประมาท” “กายวิภาคไม่แม่น”

อย่าฝังลึกเกินจำเป็น มากกว่า 3.34 cm to 5.35 cm. +/- ผอมอ้วน

อย่าปักจำนวนเข็มมากเกินจำเป็น

อย่าให้คนไข้ขยับตัวโดยไม่จำเป็น

ให้คนไข้หายใจด้วยท้อง เบาๆ ฝังตอนหายใจออกให้ปอดแฟ่บ

ทิศทางเข้ากล้ามเนื้อ ไม่ใช่เข้าปอด

พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด

3- สำหรับแพทย์จีน อย่าจำแค่ว่าจุดนี้ฝังได้กี่ชุ่น กี่ ซม. เพราะเคสนี้กล้ามเนื้อก็หนา ไม่ได้ผอม ไม่มีโรคปอดใดๆ เป็นเรื่องของความเชี่ยวชาญชำนาญล้วนๆ มีอาจารย์หลายท่านสอนน้องๆว่าปักลึกได้เลย ไม่ต้องกลัว อันนี้อันตรายอย่างยิ่ง !

4- สำหรับคุณหมอแผนปัจจุบัน ตอนฉีดยาชาเข้า Trigger point ก็ยิ่งต้องระวังนะครับ ปลายเข็ม syringe ใหญ่กว่าเข็มฝังเข็มมาก ปอดรั่วจะใหญ่กว่านี้เยอะ

5- สำหรับคนที่ไม่ใช่แพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์จีน “ไม่ควรฝังเข็มในสิ่งที่เราไม่เชี่ยวชาญ” นะครับ เห็นน้องๆวิชาชีพอื่นๆแอบทำกันหลายคลินิก ถ้าทำแล้วคนไข้ปอดรั่วหนัก พิการ เสียชีวิตขึ้นมา จะโดนทั้งอาญา แพ่ง วิชาชีพ และวินัยได้นะครับ

อุทาหรณ์ชั้นดี หมอ เตือน ฝังเข็มทำปอดรั่ว ถ้าขึ้นเครื่องบินอาจถึงเสียชีวิต

6- ฝากอาจารย์ในมหาวิทยาลัยทั้งแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์จีนเข้มข้นกับการสอนน้องๆกันหน่อยนะครับ ให้แม่นอนาโตมี่หน่อย รู้ทิศทางและตำแหน่งปอดดีๆ อย่าย่ามใจประมาทเกินไป ถ้าประมาทก็พิการหรือตายได้

7- ทุกครั้งที่เราจะฝังเข็ม/ลงเข็ม ต้อง Informed Consent เสมอว่าจะมีโอกาสเกิดปอดรั่วได้, และติดตามอาการคนไข้สม่ำเสมอ, ถ้ามีปัญหารีบ take action ดูแลคนไข้เต็มที่

8- อย่ามั่นใจในตัวเองเกินไป ไม่มีอะไร 100% ใน medicine ต่อให้ฝังมา 10 ปีก็เกิดได้ถ้าทุกอย่างซวยจริงๆ

9- ถ้าปอดรั่วขนาดเล็ก 1-2 เซนติเมตร มักปิดเองใน 1-2 สัปดาห์ (ดังนั้นจำนวนผู้ป่วยที่แท้จริงจึงมากกว่าที่รายงานจากโรงพยาบาล เพราะคนไข้หายได้เอง)

ติดตามอาการเหนื่อย หายใจเจ็บ ออกซิเจนปลายนิ้ว ตลอด อาจพิจารณา x-ray ซ้ำ 24-48 ชั่วโมง

ถ้าขนาดใหญ่ > 2 เซนติเมตร อาจต้องใส่ท่อระบาย ขึ้นกับหลายปัจจัยและคุณหมอเจ้าของไข้

10- ถ้าสมมติคนไข้รายนี้ ขึ้นเครื่องบินก่อนที่ปอดรั่วหาย จะเกิดอะไรขึ้น ?

ขณะที่ขึ้นบินแรงดันในเครื่องจะต่ำ ทำให้ปอดรั่วลามมากขึ้นได้ ในกรณีที่แย่ที่สุดคือเสียชีวิต ดังนั้นอย่าเสี่ยง งดบินไปเลยอย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือยืนยันแน่ชัดว่ารูรั่วปิดสนิทแล้ว

การฝังเข็มไม่ได้น่ากลัว สิ่งที่น่ากลัวคือความประมาท

เพราะคนที่ต้องมารักษาปอดรั่ว มักไม่ใช่คนทำให้ปอดรั่วนะครับ

นพ.สมรส พงศ์ละไม

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด แพทย์ฝังเข็ม

#DrSomros #Acupuncture #Pneumothorax #ฝังเข็ม #ปอดรั่ว

ถ้าอาจารย์ท่านใดอยากแชร์ประสบการณ์ หรือมี update guideline ก็ยินดีเลยนะครับ

คนไข้เป็นหมอด้วยเคสนี้

ขอบคุณคนไข้ที่ให้ภาพมาเป็นวิทยาทาน คงจะกลัวฝังเข็มไปอีกนาน ขอบคุณอาจารย์เอกที่ช่วยคอนเฟิร์มฟิล์มครับ