- 14 พ.ย. 2566
นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ อดีตหลวงปู่พุทธะอิสระ โพสต์ข้อความ เตือนมาด้วยความหวังดี รัฐบาลนายกเศรษฐาจะออกพระราชกำหนดหรือกฎหมายกู้เงิน ๕ แสนล้านบาท
นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ อดีตหลวงปู่พุทธะอิสระ ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า
เตือนมาด้วยความหวังดี
๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
เห็นและได้ยินข่าวแววๆ มาว่ารัฐบาลนายกเศรษฐาจะออกพระราชกำหนดหรือกฎหมายกู้เงิน ๕ แสนล้านบาท จะมาแจกเฉพาะคนบางกลุ่ม
นั่นก็แสดงว่า การออกกฎหมายหรือพระราชกำหนดเป็นประโยชน์เฉพาะคนบางกลุ่ม จึงผิดกฎบัญญัติของรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน
ด้วยเพราะหลักการตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญนั้น กระบวนการตรากฎหมายต้องชอบด้วยหลักการแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นต้นว่า หลักความได้สัดส่วน,หลักความเสมอภาค,หลักความจำเป็น (ในข้อว่าหลักความเสมอภาคการออกกฎหมาย หรือพระราชกำหนดใดที่ออกมาแล้ว มีผลบังคับใช้เฉพาะคนบางกลุ่ม นั่นย่อมผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้
ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา212 หรือ มาตรา 231 จึงกำหนดรับรองสิทธิของประชาชนว่ามีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบการตรากฎหมายที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะขัดหรือแย้งกับหลักการรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรากฎหมายตามที่กล่าวข้างต้นได้
อีกทั้งก่อนเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย ต้องส่งนโยบายหาเสียงให้แก่ กกต. พิจารณาว่าจะขัดกับกฎหมายและบทบัญญัติใดๆ หรือไม่
แถม กกต. ยังมีข้อท้วงติงมาว่า การกู้เงินเพื่อมาแจก ไม่น่าจะสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและข้อกฎหมาย ที่ว่าด้วยการเงินการคลัง
พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
มาตรา ๒๘ การมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดำเนินการนั้น ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐนั้น เพื่อฟื้นฟูหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยหรือการก่อวินาศกรรม
ในการมอบหมายตามวรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีต้องพิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายนั้น และแนวทางการบริหารจัดการภาระทางการคลังของรัฐและผลกระทบจากการดำเนินการดังกล่าว
หากส่งผลเสียต่อสถานภาพและความมั่นคงของการเงิน การคลังของประเทศในอนาคต
โดยเฉพาะข้อแถลงการณ์ของนายกเศรษฐา ได้แจ้งชัดว่าจะให้เฉพาะ คนอายุ ๑๖ ปี ขึ้นไป ให้เฉพาะเงินเดือนต่ำกว่า ๗ หมื่นบาท มีเงินฝากรวมกันทุกบัญชีไม่เกิน ๕ แสนบาท
แต่ถึงเวลาใช้หนี้ทุกคนภายในประเทศต้องร่วมกันใช้ จึงไม่น่าจะถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยหลักความเสมอภาค
สรุปว่าเงิน ๕ แสนล้านบาท ที่รัฐบาลกู้มาแจกเฉพาะคนบางกลุ่ม แต่ทุกคนในประเทศนี้ต้องใช้หนี้
แบบนี้มันเสมอภาคตรงไหน ?
หรือรัฐบาลนายกเศรษฐา ต้องการให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการใช้หนี้ นี่แหละคือ ความเสมอภาคของรัฐบาลเพื่อไทยหละ
หากหัวหน้ารัฐบาลคิดแบบนี้ ก็คงเป็นเวรกรรมของคนไทยอีกครา
เมื่อแปดปีที่แล้ว โครงการจำนำข้าวของพรรคเพื่อไทยสร้างหนี้เอาไว้ให้ประเทศนี้ร่วม ๗ แสนล้านบาท ทุกวันนี้ยังใช้ไม้หมดเลย
มาวันนี้ จะมาสร้างหนี้ด้วยการกู้เงินมาแจก เพื่อสร้างคะแนนเสียงให้กับตนเองอีกแล้ว
เวรหละกู
อันที่จริง นายกเศรษฐา และพรรคเพื่อไทยคงจะรู้แต่แรกตอนตั้งรัฐบาลใหม่ๆ ว่า เงินที่จะมาแจกจำเป็นต้องกู้
แต่ติดที่เงื่อนไขที่เคยประกาศและแจ้งแก่ กกต. เอาไว้ว่า จะไม่กู้มาแจก
ซึ่งหากจะล้มเลิกก็กลัวว่า จะเสียคะแนนนิยม เลยทำทุกวิถีทางที่จะดึงเรื่องนี้โยนให้กับสภา และศาล ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการระงับยับยั้งการกู้เงินมาแจก
พรรคเพื่อไทยจึงจะสามารถกล่าวอ้างได้ว่า ปัญหา อุปสรรคที่เกิด ล้วนมาจากศาลและองค์กรอิสระ เป็นผู้ขัดขวาง เช่นนี้จะสามารถรักษาคะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยเอาไว้ได้
เขาคงคิดว่า คนไทยกินหญ้าหละกระมั่ง จึงอ่านเกมเขาไม่ออก
พุทธะอิสระ