- 16 พ.ย. 2566
อินฟลูเอนเซอร์ดัง แชร์อุทาหรณ์ ยื่นจ่ายภาษีทุกปีแต่โดนสรรพภากรเรียกเก็บภาษีย้อน 2.6 ล้าน หลังเผลอประมาทแค่นิดเดียว
เรียกว่าเป็นอุทาหรณ์ให้หลายคนได้ระวังเมื่อ เพจ “ท็อฟฟี่เป็นตุ๊ดซ่อมคอม” อินฟลูเอนเซอร์ด้านไอที ได้ออกมาแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับภาษีหลัง ยื่นจ่ายภาษีทุกปีแต่กลับโดนสรรพภากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังกว่า 2.6 ล้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้
“แชร์ประสบการณ์โดนสรรพภากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง 2.6M ไว้เป็นวิทยาทานให้ความรู้ สำหรับใครที่กำลังจะเป็นดาว Tiktok Influencer หน้าใหม่ไฟแรง หรือ แม่ค้าออนไลน์ดาวรุ่งพุ่งแรง หรืออาชีพอื่น ๆ ที่อยากรู้เรื่องภาษี เพราะเรื่องภาษีไม่ใช่เรื่อง “ไกลตัว” บทความหรือโพสต์นี้อาจจะไม่ได้ถูกต้อง 100% กราบขออภัยตรงนี้ไว้ก่อน
ต้องเกริ่นก่อนว่าท็อฟฟี่แรกเริ่มเป็นพนักงานบริษัทธรรมดา แล้วมาลองทำอาชีพ Influencer เป็นงานเสริม ในช่วงเริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี 2557 แต่ในตอนนั้นยังไม่มีรายได้จากอาชีพนี้และยังไม่มีชื่อเสียงงานยังไม่มี รายได้จึงมีทางเดียว คือ การทำงานประจำเป็นรายได้หลักซึ่งเงินเดือนตามเกณฑ์ในการเสียภาษีคือขั้นต่ำรายได้ไม่เกิน 150K (ถ้าเรามีรายได้ต่อปีไม่เกิน 150k เราไม่เสียภาษีนะ) แต่ลงทะเบียนยื่นภาษีปกติ เราทำแบบนี้มาเรื่อย ๆ ควบคู่กับงานประจำ ลองผิดลองถูกในการทำคอนเทนท์
จนเริ่มมีชื่อเสียงจริง ๆ คือปี 60 เริ่มมีงานเยอะและเพจเริ่มมีชื่อเสียง สปอนเซอร์ลูกค้า งานจ้าง เข้ามาเรื่อย ๆ ทำให้มีรายได้ 2 ทางคือ งานประจำ และ งาน Influencer จนตระหนักได้ว่า โอเครายได้เราต้องเกิน 150k ต่อปีแน่ ๆ ในปีนั้นเลย แต่ภัยความมั่นในตอนนั้นคือ รับงานเอง ดีลงานเอง ทำเอกสารเอง วางบิลเอง
ทำจบคนเดียวไม่จ้างใคร เป็นเพราะคิดว่าทำคนเดียวไหวและสบายใจที่จะทำแบบนี้ แต่ก็จะมีเหตุการณ์บางอย่างเช่นตามเอกสารได้ไม่ครบตามจากบริษัทต่าง ๆ ไม่ได้ ตอนยื่นภาษีต้นปีหลังจากปีที่มีรายได้เลยทำให้เรายื่นเอกสารตามที่เรามีแบบตามมีตามเกิด
เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าอาชีพของเราสโคปมันคืออะไรกันแน่ เพราะเราเป็นพนักงานประจำอยู่แล้ว งานเสริมนี่ก็ ดาราก็ไม่ใช่ นักแสดงก็ไม่ใช่ นิยามตอนนั้นคือ Freelance (ในตอนปี 60 นะ)เพราะในตอนนั้นตอนเราเลือกยื่นภาษีเราเลือกวงเล็บไหนกันแน่ เพราะรายได้เรามาจากการได้สปอนเซอร์ ยกตัวอย่างเช่น รับจ้างรีวิวสินค้า ออกอีเว้นท์
ส่วนแบ่งค่า Donate จากแพลตฟอร์มสตรีมเกม หรือโฆษณาใน YT จำไว้ว่าไม่ว่าจะได้รายได้จากไหนมันคือ “รายได้” เราก็ต้องเสียภาษี แต่ข้างต้นกล่าวมาว่าอาชีพ Freelance , Influencer ล่ะมันยังไม่มีหัวข้อเสียภาษีในตอนนั้น ปี 60 (เพิ่งมามีช่วงปี 64) ในตอนนั้นเราจะเลือกยังไงให้เราได้ประโยชน์ที่สุดที่ไม่ต้องเสียเยอะ คำแนะนำ จนท. ตอนนั้นให้เลือก 40(7)
แต่ตอนนั้นก็ยังเช็คกับสรรพากรเขตนั้นแหละว่าจะมีปัญหาอะไรไหม เค้าก็รับเอกสารและถามรายละเอียดเค้าก็บอกว่ายังไม่ถึง ล้าน8 นะ แต่เสียภาษีมากจากก่อนเราก็เลยโอเคสบายใจต่อให้เสียมากกว่าเดิมแต่ยังไม่ถึง ล้าน8 สำหรับเราคือรับได้แลกกับการที่มีรายได้เพิ่มขึ้น
เลยตั้งใจเก็บเอกสารมากขึ้นแต่อย่างว่าแหละ ทำคนเดียวอ่ะมันไม่ไหวหรอกแต่ยังมั่นอยู่ ทำแบบนี้มาเรื่อย ๆ ดูแค่ว่าเอกสารมาส่งที่บ้านมีกี่อัน นับรวม ๆ เอาว่าเกินล้าน8 มาเรื่อย ๆ หรือยังแล้วก็ “ยื่นออนไลน์” มาเรื่อยๆ เพราะเจ้าหน้าที่บอกว่าไม่ต้องมาที่เขตยื่นเอาก็ได้ถ้าดูแลได้ นั่นแหละความชิบหายเริ่มมาเยือนเพราะยื่นออนไลน์
เพราะเราเหมาจบ ทำเอง โพสต์เอง ไปโชว์ตัวเอง เลยมีความเชื่อแบบนี้เสมอมาและเปลี่ยนมายื่น 40 ไปด้วย จนกระทั่งปี 64 จึงมีมาตราที่ให้อาชีพ Freelance และ Influencer เริ่มเปิดบริษัทจึงรับงานผ่านบริษัทและรายได้ทั้งหมดเข้าบริษัทและจ้างบัญชีจริงจัง แต่เราไม่ได้บอกบัญชีว่าที่ผ่านมาเป็นไง ซึ่งตั้งแต่ 64 จนถึงปัจจุบันไม่มีปัญหา เพราะฉะนั้นปัญหาเริ่มจากตรงไหน เริ่มจากความมั่นช่วงปี 60 ค่ะ ภาษีบุคคลธรรมดา !!
คือภาษีบุคคลธรรมดาเราสามารถหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะลดหย่อนส่วนตัว เอาชื่อพ่อแม่มาลดหย่อน ซื้อกองทุน หรือบริจาคการกุศล อันนี้ท็อฟฟี่ลดหย่อนทุกปี ทำให้แต่ละปีอาจจะเสียภาษีบางปี แค่ หมื่น 2 หมื่น หรือ 5 หมื่นในบางปี มีได้คืนบางในปีที่รายได้น้อย ซึ่งรายได้ของเราน้อยลงมาตั้งแต่ปี 63 แล้วแต่คิดว่าน่าจะเกิน 1.8 M เลยไปเลือกจดบริษัทเพื่อให้เสียภาษีได้น้อยลง แต่อย่าลืมนะคะว่า ‘รายได้ที่มีการหัก ณ ที่จ่าย สรรพากร รับรู้ 100%’
แต่ปี 66 ได้รับจดหมายจากสรรพากรให้ไปรับรู้ว่าต้องชำระภาษีนะ เราก็ไปรายงานตัวปกติ และจนท. ก็แจ้งว่าเราโดยเบี้ยปรับน๊า ต้องชำระ (โดนตอนเดือน 5 ) แต่เค้ายังไม่สรุปยอดมาให้เราก็ไปไล่เช็คข้อมูลเราก่อน เค้าเห็นว่าเออรายได้เราสูง ถามถึงแหล่งที่มาของรายได้มาจากไหน ได้มายังไง เราก็บอกไปว่าเป็น Influencer น๊าไรงี้ เค้าก็โอเค ขอข้ามไปสาระเลย
จนเค้ารวมยอดที่เราต้องจ่ายคือ 2.6M ได้ยินตอนนั้น คือ ขาสั่นเลย เพราะคิดว่าน่าจะโดนซัก 4 แสน 5 แสน เลยถามว่าทำไมมันโดดไปถึงขนาดนั้น เค้าแจ้งว่า เรามีรายได้สุทธิเกิน 1.8M ตั้งแต่ปี 61 !! และเมื่อเกิน 1.8M ต้องจด Vat เอาล่ะสิ เพราะงั้นก็ต้องมีเบี้ยปรับ และเบี้ยปรับ 2-4 เท่าของแต่ละยอด!! แต่เราก็แจ้งเค้าแหละว่าไม่ได้มีเจตนาหนีการจ่ายภาษีนะ เราก็ยื่นทุกปีสามารถเช็คได้จากแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้ง ภ.ง.ด.90และ 91 แต่เค้าบอกว่าเรายื่นผิดประเภท !!
ละยื่นผิดประเภทก็ต้องโดนค่าปรับ นั้นแหละค่ะคุณผู้ชม ภัยความมั่นอีท็อฟฟี่ล้วน ๆ เท่ากับว่าเบี้ยปรับ *2 Vat*2 ดอกเบี้ย*2 ค่าปรับนั้นนี่โน่นอีก *2 บวกกับเงินต้นที่ต้องจ่ายจริง ๆ คือ 1.5 M จนมันรวมมาเป็นยอด 2.6M และนับตั้งแต่ปี 61 จนถึง ปี 66 เดือน 5
และเป็นยอดที่ได้จาก หัก ณ ที่จ่าย ของบริษัทลูกค้าที่นำส่งสรรพากรค่ะ สำหรับโอนลอยต่าง ๆ ไม่มีผลค่ะ ส่วนเรื่องที่ โอน 3000 ครั้งอะไรแบบนี้แล้วโดนเรียกอันนี้ไม่ทราบรายละเอียดนะคะ เพราะที่โดนเราอยู่ในเขตที่เป็นนิคมอุตสาหกรรมด้วย และติดอยู่ในรายชื่อที่มียอดรายได้สูงในเขตนั้น ๆ เค้าบอกเรามางี้นะ (ตอนได้ยินก็แอบดีใจ ว้าวฉันเป็นผู้มีรายได้สูง แต่ของปีไหนเอ่ย)
ใช่ค่ะมันเป็นเงินที่เราต้องจ่าย ทำไงดีเอ่ย รายได้น้อยลงจะหาเงินจากไหน ก็พยายามออดอ้อน ทำยังไงได้บ้างที่ให้เงินมันลดค่ะ 2.6M ไม่มีปัญหาจ่ายแน่ ๆ แต่ๆๆ ก็ยังมีทางอออกครืออออ ตามกฏหมายเมื่อใดก็ตามที่ยอดเบี้ยปรับมันสูงเท่าเงินต้นเราจริง ๆ คือ 1.5M อันนี้จนท.บอกนะเราไม่ก็ไม่รู้ว่ากฏหมายจริง ๆ คือยังไง เราสามารถทำเรื่องขอ “ละเว้นค่าปรับ” ได้
แต่มีเงื่อนไข คือต้องจ่ายเงินต้นให้หมดในก้อนเดียว แต่ถ้าจะผ่อน ผ่อนได้แต่ต้องผ่อนยอด 2.6M นะไม่ละเว้นค่าปรับให้ สุดท้ายเราก็ไปหา 1.5M มาปิดยอดตรงนี้ค่ะ อันนี้สรุปนะ จริง ๆ มันมีเรื่องมากกว่านี้แต่เดี๋ยวจะสร้างเรื่องให้ตัวเอง แต่กรณีที่เราหาเงินไม่ได้ เราอาจจะต้องโดนฟ้องล้มละลายค่ะ อาจจะต้องถูกยึดของที่มีรายชื่อเราให้สรรพากรไปขายทอดตลาดหักลบกลบนี้ หรือถ้าไม่มีก็จะกลายเป็นบุคคลล้มละลายโดยที่ไม่ต้องเสียอะไรไปค่ะ
สาระคือต่อให้ยื่นทุกปี แต่ยื่นผิดประเภท ชิบหายนะคะคุณ ยื่นออนไลน์ ไม่ชัวร์ว่ารายรับเป็นหมวดไหน อาชีพอะไร ใส่ผิดเป็นข้อมูลอันตรายมาก ๆ แนะนำว่าให้ไปยื่นที่เขตสรรพากรใกล้บ้าน และสรรพากรแต่ละเขตไม่เหมือนกัน เคยให้สรรพากรคุยกันเองยังคุยกันไม่รู้เรื่อง ใครรู้ว่ามีรายได้เยอะ พุ่งเข้าหาสรรพากรค่ะ ให้เค้าเช็คยอดให้ว่าเกินยัง ต้องทำยังไง คุยให้รู้เรื่อง เพราะเราไปหาเค้าเองปลอดภัยกว่าให้เค้ามาหาเราค่ะ
สรรพากรสนใจมองแต่รายได้ค่ะ ถ้ามีค่าใช้จ่ายเราต้องมีเอกสารรับรองชัดเจน หรือจ่ายบุคคลก็ต้องวิชามารทั้งหลายใช้ไปหมดทุกวิชาไหม สารภาพว่าใช้ทุกวิชาแล้วค่ะไม่ได้ผล เราพลาดเองตั้งแต่ต้นไปแก้ไขอะไรไม่ได้ค่ะ ได้แค่วันนี้เริ่มใหม่แค่นั้นค่ะ
ใครทำค้าขายออนไลน์ เป็น influencer ดาว Tiktok จ้างบัญชีได้ จ้างเถอะ อย่างก เสียน้อยเสียามากเสียยากเสียง่ายก็ต้องจ้าง อย่ามั่นจริง ๆ เชื่อนี่ แม่ค้าออนไลน์ยอดเข้าเยอะก็ต้องแจ้งนะคะโดนหนักนะ เพราะเค้าจะนับแต่ยอดเข้านะคะ เค้าไม่นับยอดออกถ้าเราไม่แจกแจง อ่วมไม่รู้ตัวด้วยค่ะ อยู่ต่อหน้าสรรพากร ตัวเลขไม่เคยโกหกค่ะ จำไว้เลย อย่ามั่นเถียงให้เค้าเปิดตัวเลขอัดหน้านะคะ นี่โดนมาแล้ว 555555555555555555555
อาจจะมีตกหล่นผิดพลาดกราบขออภัยอีกครั้งค่ะ อันนี้รีบพิมพ์มาก ๆ เพราะเห็นข่าวหลายแหล่งแล้วกลัวคนอ่านไม่ทันใจตอนนี้จ่ายก้อนใหญ่ไปหมดแล้ว เหลือแค่ก้อนภาษีเงินได้ที่สามารถผ่อนได้แบบไม่มีดอกเบี้ยอีกประมาณ 2 แสนกว่า ที่ผ่อนได้เพราะจ่ายก้อนหลักที่ก่อให้เกิดดอกเบี้ยไปหมดแล้วค่ะแต่ใด ๆ เรื่องภาษีมันใกล้ตัวกว่าที่คิดแต่ความรู้เรื่องนี้มันไกลตัวเราจริง ๆ จบ ป.ตรีมา กว่าจะรู้เรื่องภาษีก็ตอนทำงานนี่แหละ
ปล.หลังเริ่มใหม่ เก็บเงินใหม่ ก็ฝากแบรนด์ลูกค้าสปอนเซอร์ จ้างได้นะคะ ว่างงานมาก ๆ เพราะเป็นสปอนเซอร์ให้สรรพากรไปหมดแล้ว”