ยูเนสโก ยก "สงกรานต์ไทย" ขึ้นทะเบียนมรดกโลก

ข่าวดีของคนไทยและประเทศไทย ล่าสุด ยูเนสโก รับรองให้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติแล้ว

   ถือเป็นข่าวดีของประเทศไทย เมื่อล่าสุดวันที่  6ธ.ค.66 ยูเนสโก(UNESCO)ประกาศขึ้นทะเบียนรายการ "ประเพณีสงกรานต์ไทย"  เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ในะหว่างการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้  ครั้งที่ 18  ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 9 ธันวาคม 2566 ณ สาธารณรัฐบอตสวานา 

ยูเนสโก ยก \"สงกรานต์ไทย\" ขึ้นทะเบียนมรดกโลก

  ด้าน นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไทย กล่าวขอบคุณยูเนสโก เนื่องในโอกาสที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 ณ เมืองคาเซเน สาธารณรัฐบอตสวานา ในวันที่ 6 ธ.ค. 2566 เวลา 15.20 น. ได้รับรองประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทย ขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ประจำปี 2566
ยูเนสโก ยก \"สงกรานต์ไทย\" ขึ้นทะเบียนมรดกโลก


   โดย ในช่วงระหว่างการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 18 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียน “สงกรานต์ในประเทศไทย” ให้เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ 

ยูเนสโก ยก \"สงกรานต์ไทย\" ขึ้นทะเบียนมรดกโลก

   กิจกรรมในช่วงประเพณีสงกรานต์ทั้งหมดถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ของมรดกทางวัฒนธรรม อาทิ บิณฑบาต สรงน้ำพระพุทธรูป รดน้ำดำหัวผู้อาวุโสที่เคารพนับถือ ตลอดจนการแสดงละครพื้นบ้านและการแสดงที่เกี่ยวเนื่องกับตำนานสงกรานต์ ดังนั้นสงกรานต์ในประเทศไทยจึงเป็นตัวแทนของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ สะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ 

ยูเนสโก ยก \"สงกรานต์ไทย\" ขึ้นทะเบียนมรดกโลก

   ทั้งนี้“สงกรานต์ในประเทศไทย” ถือเป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ UNESCO ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้แก่ “โขน” ในปี 2561, “นวดไทย” ในปี 2562 และ “โนรา” ของ ในปี 2564 โดยการประชุมฯ ครั้งนี้ มีประเทศต่าง ๆ เสนอขึ้นทะเบียนรายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมฯ ทั้งสิ้น 45 รายการ