ผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศสหรัฐ เคลียร์ชัด ลูกไฟเขียวปริศนาท้องฟ้าเมืองไทย

สมาคมดาราศาสตร์ไทย เผยข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศจากสหรัฐ คลายข้อสงสัยลูกไฟเขียวปริศนาท้องฟ้าเมืองไทย

จากกรณีเมื่อช่วงเวลาประมาณ 21.00 น. ของคืนวันที่ 4 มี.ค. 2567 ประชาชนในหลายพื้นที่ในประเทศไทย ได้พบเห็นดวงไฟสีเขียวขนาดใหญ่ เป็นแสงสว่างพุ่งทะแยงลงมาจากท้องฟ้า มีลักษณะคล้ายกับอุกกาบาต หรือ ดาวตกบนท้องฟ้า ซึ่งสร้างความฮือฮาให้กับผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศสหรัฐ เคลียร์ชัด ลูกไฟเขียวปริศนาท้องฟ้าเมืองไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศสหรัฐ เคลียร์ชัด ลูกไฟเขียวปริศนาท้องฟ้าเมืองไทย

ต่อมาทางด้าน สมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้โพสต์ข้อความระบุว่า "เมื่อชั่วโมงที่ผ่านมา ลูกเพจหลายท่านรายงานการพบเห็น ลูกไฟสีเขียวสว่างใหญ่ เห็นได้หลายจังหวัดในภาคกลาง สมาคมดาราศาสตร์ไทยกำลังเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง และจะรีบรายงานให้ทราบเป็นระยะ"

 

ล่าสุด สมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้โพสต์ข้อความหลังจากที่มีผู้แชร์คลิปและรูปภาพ "ลูกไฟปริศนา" ซึ่งประเทศไทยเห็นได้อย่างชัดเจน โดยระบุว่า "คลายข้อสงสัย ลูกไฟปริศนา เมื่อช่วง 3 ทุ่มที่ผ่านมาโดย Jonathan McDowell ผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศจากสหรัฐ สรุปคือ "ดาวตก" ดวงใหญ่ ครับ"

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศสหรัฐ เคลียร์ชัด ลูกไฟเขียวปริศนาท้องฟ้าเมืองไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศสหรัฐ เคลียร์ชัด ลูกไฟเขียวปริศนาท้องฟ้าเมืองไทย

ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ลูกไฟสีเขียวปรากฏเหนือท้องฟ้าคืน 4 มีนาคม 2567 แถบภาคกลาง และภาคตะวันออกของไทย คาดเป็นดาวตกชนิดลูกไฟ


ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอและภาพถ่ายในโซเชียลมีเดีย ปรากฏเป็นลูกไฟสีเขียวขนาดใหญ่วิ่งพาดผ่านท้องฟ้าเป็นแนวยาว คืนวันที่ 4 มีนาคม 2567 เวลาประมาณสามทุ่มเศษ มีผู้พบเห็นเป็นจำนวนมาก หลายพื้นที่ในจังหวัดแถบภาคกลาง และภาคตะวันออกของไทย อาทิ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบรี ชลบุรี สมุทรสาคร นครนายก ปราจีนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา จากข้อมูลดังกล่าวเบื้องต้นคาดว่าเป็นดาวตกชนิดลูกไฟ


นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า ดาวตก (Meteorite) เกิดจากการที่วัตถุท้องฟ้าขนาดเล็กผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลก เสียดสีกับชั้นบรรยากาศ ที่ระดับความสูงประมาณ 80-120 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นแสงสว่างวาบพาดผ่านท้องฟ้า ยิ่งวัตถุมีขนาดใหญ่ ความร้อนและแสงสว่างที่เกิดขึ้นก็มากตามไปด้วย ซึ่งจากคลิปวิดีโอและภาพถ่ายดังกล่าว ดาวตกที่ปรากฏมีขนาดใหญ่ และสว่างมาก ความสว่างใกล้เคียงกับดาวศุกร์ จึงสันนิษฐานว่าเป็นดาวตกชนิด #ลูกไฟ (Fireball) ทั้งนี้ แสงสีเขียวของดาวตก สามารถบ่งบอกได้ว่ามีส่วนประกอบของธาตุนิกเกิล ซึ่งเป็นธาตุโลหะ


ปัจจัยที่ส่งผลต่อสีของดาวตก เกิดจากเศษหินและฝุ่นของดาวหาง หรือดาวเคราะห์น้อย พุ่งเข้ามาชนกับชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูงมาก เกิดการเสียดสีและเผาไหม้ ทำให้อะตอมของดาวตกเปล่งแสงออกมาในช่วงคลื่นต่าง ๆ เราจึงมองเห็นสีของดาวตกปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยได้แก่ องค์ประกอบทางเคมี โมเลกุลของอากาศโดยรอบ


ในแต่ละวันจะมีวัตถุขนาดเล็กผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลกเป็นจำนวนมาก เราสามารถพบเห็นได้เป็นลักษณะคล้ายดาวตก และยังมีอุกกาบาตตกลงมาถึงพื้นโลกประมาณ 44-48.5 ตันต่อวัน แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ห่างไกลผู้คน จึงไม่สามารถพบเห็นได้ ดาวตกนั้นจึงเป็นเรื่องปกติและสามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ 

 

 

 

ขอบคุณ FB : สมาคมดาราศาสตร์ไทย , NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง