สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย-สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ คัดค้านค่าจ้างแบบเขตพื้นที่ 400 บาทต่อวัน ขอรัฐพิจารณาปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท/วัน เท่ากันทั่วประเทศ


27 มี.ค.67 สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ยื่นหนังสือรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานคัดค้านการปรับขึ้นค่าจ้าง400บาท แบบเขตพื้นที่ 400 บาทต่อวัน ขอรัฐพิจารณาปรับขึ้นค่าแรง 400 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ


โดย สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.)และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส) นำโดย นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย พร้อมสมาชิกกว่า 300 คน ได้เดินทางมาที่กระทรวงแรงงาน ยื่นหนังสือแก่นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อคัดค้านการปรับขึ้นค่าจ้างรายพื้นที่ และต้องการให้ค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ โดยมีนายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นผู้รับหนังสือ 

คัดค้านขึ้นค่าแรง 400 บาทเฉพาะพื้นที่ ลั่น ต้องขึ้นค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศ

นายสาวิทย์ ระบุว่า การเดินทางมายื่นหนังสือวันนี้ เพื่อต้องการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มีการนำเสนอต่อรัฐบาล ในเรื่องของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยเฉพาะรายพื้นที่ ซึ่งหลังจากที่ทราบข่าว ที่คณะกรรมการไตรภาคี มีมติให้ปรับค่าจ้างวันละ 400 บาทใน 10 จังหวัด ได้ถือเป็นการปรับขึ้นค่าจ้างที่เลวร้ายและไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าจ้าง หรือรายเทศบาลจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องของค่าจ้างและเกิดการย้ายฐานแรงงานจากพื้นที่ค่าจ้างต่ำไปยังพื้นที่ที่มีค่าจ้างสูงก่อให้เกิด ปัญหาด้านการจัดการแรงงานในอนาคต

คัดค้านขึ้นค่าแรง 400 บาทเฉพาะพื้นที่ ลั่น ต้องขึ้นค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศ


ทั้งนี้ การเดินทางมาวันนี้ ไม่ได้ต้องการบอกว่ารัฐบาลจะแทรกแซงคณะกรรมการไตรภาคีไม่ได้ เพราะมติของไตรภาคีที่ออกมาขัดแย้งต่อความเป็นจริงและไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ที่พวกตนได้นำเสนอ จึงต้องการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นำสิ่งที่ได้เสนอไปทบทวน โดยตนเชื่อว่า มีอำนาจที่จะเข้ามาดูแล หากเป็นการดำเนินการเพื่อผลประโยชน์คนส่วนใหญ่ 

คัดค้านขึ้นค่าแรง 400 บาทเฉพาะพื้นที่ ลั่น ต้องขึ้นค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศ

ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งไม่ใช่คณะกรรมการไตรภาคี ได้นำเสนอเจตนารมย์ของพวกตน ส่งไปยังรัฐบาลเพื่อพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ พร้อมขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานยกเลิกสูตรและแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างตามที่คณะกรรมการค่าจ้างมีมติ

พร้อมขอให้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงาน ขอให้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 492 บาทต่อวันหรือไม่ต่ำกว่า 400 บาทต่อวัน ตามที่รัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีแถลงก่อนหน้านี้

 

โดยให้มีค่าจ้างราคาเดียวกันทั่วประเทศ และเสนอให้ค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดให้เป็นค่าจ้างแรกเข้าและให้ทุกสถานประกอบการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างเพื่ออนาคตของคนทำงานครอบคลุมทั้งลูกจ้างภาคเอกชนและลูกจ้างภาครัฐ ขอให้มีการควบคุมราคาสินค้าไม่ให้แพงเกินความเป็นจริง เพราะเมื่อประชาชนมีอาชีพมีงานมีงานทำมีรายได้ก็จะเกิดการผลิตการจำหน่ายผู้ประกอบการขายสินค้าได้ รัฐก็สามารถเก็บภาษีได้ ถือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจให้มั่นคงยั่งยืนและการปรับขึ้นค่าจ้างก็เป็นเพียงมาตรการหนึ่งที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของทำงานรัฐบาลต้องทำควบคู่กับการควบคุมราคาสินค้าให้อยู่ในระดับที่ไม่แพงเกินไปป้องกันการผูกขาด 

นาย สาวิตน์ ระบุอีกว่า สสรท. และ สรส. เคารพในหลักการไตรภาคีแต่ต้องเป็นไปภาคีที่มุ่งประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ การลดความเหลื่อมล้ำและการสร้างความเป็นธรรมในสังคมจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องดำเนินการ โดยหลังจากนี้จะติดตามดูท่าทีของรัฐบาลว่าเป็นเช่นไร หากไม่เป็นไปตามที่ต้องการจะร่วมกันพิจารณามาตรการผลักดันต่อไป 

ด้าน นายสิรภพ ระบุ ว่า จะนำเรื่องนี้เสนอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป