เปิดเผยวิธี การคัดแยกขยะที่ถูกต้อง หลายคนยังแยกผิดอยู่

กรุงเทพมหานคร เปิดเผยวิธี การคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ช่วยลดความเสี่ยงที่ส่งผลต่อสุขภาพจากเชื้อโรคและมลพิษ และยังช่วยลดการสะสมขยะ ในเขตเมืองและชุมชน

รู้ให้จริง แยกให้เป็น ไม่เทรวม จากสถิติการดำเนินงานโครงการไม่เทรวมปีที่ผ่านมา(2566) ช่วยลดปริมาณขยะในกรุงเทพฯ เกือบ 2 เท่า และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะมากถึง 387,600 บาทต่อวัน หรือประมาณ 141,474,000 บาทต่อปี
การคัดแยกขยะช่วยลดความเสี่ยงที่ส่งผลต่อสุขภาพจากเชื้อโรคและมลพิษ และยังช่วยลดการสะสมขยะ ในเขตเมืองและชุมชน

ดังนั้น  เราทุกคนควรสร้างนิสัยการแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และอนาคตที่ยั่งยืน
ที่สำคัญเราควรรู้จักชนิดของขยะ เพื่อแยกให้ดี แยกให้เป็น ไม่เทรวม 

ขยะปกติแบ่งเป็น  2 ประเภท 

  • ขยะเปียกหรือขยะสด : ใบไม้, ผลไม้ที่เน่าเสีย เศษอาหารต่าง ๆ นำไปทิ้งในถังสีเขียว
  • ขยะทั่วไป : เศษกระดาษ, ซองพลาสติก, เศษผ้า, ขยะแห้ง นำไปทิ้งในถังสีน้ำเงิน

ขยะลักษณะพิเศษแบ่งเป็น 4 ประเภท 

  • ขยะรีไซเคิล : คือขยะที่นำไปรีไซเคิลหรือแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น กระดาษ ขวดพลาสติก แก้ว กระป๋อง เสื้อผ้า นำไปทิ้งในถังสีเหลือง
  • ขยะอันตราย : คือขยะที่มีสารอันตรายปนเปื้อน ก่อให้เกิดอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดไฟ ยาหมดอายุ น้ำมันเครื่อง ควรทิ้งในถุงขยะสีแดง และนำไปทิ้งในถังสีแดง
  • ขยะติดเชื้อ : คือขยะที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่เยอะ เช่น หน้ากากอนามัย ชุดตรวจ ATK ควรทิ้งในถุงขยะสีแดง และนำไปทิ้งในถังสีแดง 
  • ขยะชิ้นใหญ่ : คือพวกของที่มีขนาดใหญ่ ที่ขนไปทิ้งเองลำบาก เช่น พวกเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ตู้เตียง หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า พัดลม แอร์ เป็นต้น การทิ้งขยะชิ้นใหญ่ ในปัจจุบัน กทม. มีนโยบายนัดรับขยะชิ้นใหญ่ทุกเขตในวันเสาร์-อาทิตย์ของทุกสัปดาห์

 

ซึ่งสามารถสอบถามกำหนดการนัดรับได้ที่ ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ โทร. 02 282 5102

มาร่วมสร้างวินัยในการทิ้งขยะด้วยการ ไม่เทรวม และนัดทิ้งขยะชิ้นใหญ่ ไม่ทิ้งลงแม่น้ำ และรู้จักแยกแยะให้เป็น เพื่อเมืองน่าอยู่ที่สะอาดและมีสภาพแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน! 

เปิดเผยวิธี การคัดแยกขยะที่ถูกต้อง หลายคนยังแยกผิดอยู่