- 15 พ.ค. 2567
"กรมราชทัณฑ์ " เปิดไทม์ไลน์ ชี้แจงเหตุการณ์ช่วงก่อน "บุ้ง ทะลุวัง" เสียชีวิต มีอาการวูบและหมดสติไปขณะกำลังพูดคุยกับ นางสาวทานตะวัน
ไทม์ไลน์"บุ้ง ทะลุวัง"ก่อนเสียชีวิต วันที่ 15พ.ค.67 นายแพทย์สมภพ สังคุตแก้ว ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์, นางอาจารี ศรีสุนาครัว ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงกลาง, และนายแพทย์พงศ์ภัค อารียาภินันท์ ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ร่วมแถลงข่าวกรณี นางสาวเนติพร เสน่ห์คง หรือ “บุ้ง ทะลุวัง” นักกิจกรรมทางการเมือง ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14พ.ค.67 ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นการเสียชีวิตขณะอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมราชทัณฑ์
นายแพทย์สมภพ สังคุตแก้ว ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า จากกรณีเสียชีวิตดังกล่าวรัฐบาล ต้องขอแสดงความเสียใจสุดซึ้งไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า กรมราชทัณฑ์ได้รับตัวนางสาวเนติพรมาควบคุมตัวไว้ที่ทัณฑสถานหญิงกลางเมื่อวันที่ 26 มกราคม โดยขณะนั้นนางสาวนิติพรได้อดอาหารอยู่แล้ว ซึ่งทัณฑสถานหญิงกลางได้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเนื่องจากพบว่ามีอาการอ่อนเพลียจากภาวะอดอาหารจึงได้ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลทันตสถานหญิงกลาง
จากนั้นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ - 8 มีนาคม ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์จากอาการอ่อนเพลีย จากนั้นวันที่ 8 มีนาคม-4 เมษายนได้ย้ายตัวนางสาวเนติพร
ไปรักษาโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เป็นเวลา 27 วัน และมีรายงานว่าปฏิเสธการรับสารอาหาร ยาบำรุงเลือดต่างๆ ด้วยเช่นกัน และยังอยู่ในภาวะทั่วไปที่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จึงมองว่าไม่น่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น จนกระทั่งวันที่ 4 เมษายน แพทย์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์จึงได้มีหนังสือส่งตัวนางสาวเนติพรกลับมารักษาตัวที่ทันฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เนื่องจากเห็นว่าสามารถรักษาต่อได้
โดยหลังจากที่นางสาวเนติพรได้กลับมาจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ แล้วสามารถรับประทานอาหารได้บ้างตามลำดับ ทางโรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้จัดให้พักในห้องผู้ป่วยรวมที่มีนางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ เพื่อนสนิทพักอยู่ด้วย
ยืนยันว่าแพทย์และพยาบาลได้เฝ้าตรวจรักษาอาการอยู่ตลอดเวลา ขณะนั้นพบว่านางสาวเนติพรรู้สึกตัวดีมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
จนกระทั่งวันเหตุคือวันที่ 14 พฤษภาคม เวลาประมาณ 06:00 น. นางสาวเนติพร ได้เกิดอาการวูบและหมดสติไปขณะกำลังพูดคุยกับนางสาวทานตะวัน เจ้าหน้าที่จึงได้ให้การช่วยเหลือและกระตุ้นหัวใจทันที พร้อมประสานส่งตัวไปที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ จนกระทั่งมีข่าวว่าเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ยืนยันว่า กระทรวงยุติธรรมโดยกรมราชทัณฑ์ได้ให้ความสำคัญตามหลักสิทธิมนุษยชนสิทธิขั้นพื้นฐานและหลักนิติธรรม เฝ้าระวังและดูแลรักษาอาการของนางสาวนิติพลอย่างใกล้ชิด และเพื่อความโปร่งใสกระทรวงยุติธรรมได้ในการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเรื่องสาเหตุการเสียชีวิตของนางสาวนิติพร ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตจะชี้แจงให้ทราบเมื่อผลการชันสูตรออกมาอย่างชัดเจน
สำหรับอาการของนางสาวเนติพรนั้น นายแพทย์สมภพกล่าวว่า ก่อนจะเกิดภาวะช็อก นางสาวเนติพรมีอาการปกติทุกอย่าง และขณะที่นางสาวธิติพรรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ก็มีรายงานว่าปฏิเสธการรับสารอาหาร ยาบำรุงเลือดต่างๆด้วยเช่นกัน และยังอยู่ในภาวะทั่วไปที่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จึงมองว่าไม่น่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น และในเช้าวันเกิดเหตุก็ยังสามารถคุยกับนางสาวทานตะวันได้ตามปกติ กล่าวเพียงว่ามีอาการปวดหัว
สำหรับแนวทางปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ต้องขังที่มีเจตนารมณ์อดอาหารนั้น นายแพทย์สมภพกล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มต้นจะส่งนักจิตวิทยาเข้าไปพูดคุยและโน้มน้าว แต่หากผู้ต้องขังยังยืนยันเจตนาเดิม ทางกรมราชทัณฑ์ก็จะใช้แนวทางปฏิบัติทางการแพทย์ ทั้งด้านจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์เข้าประเมินร่างกาย หากพบว่าเกิดภาวะที่มองว่าน่าจะเกิดอันตราย เกินศักยภาพของสถานพยาบาลเรือนจำก็จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย
ด้านนายแพทย์พงศ์ภัค อารียาภินันท์ ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ กล่าวว่า ตั้งแต่หลังวันที่ 4 เมษายน ที่กลับจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ นางสาวนิติพรยังคงมีอาการอ่อนเพลียสามารถรับประทานอาหารได้บ้างตามลำดับ เช่น ข้าวต้ม ไข่เจียว โดยจัดหาอาหารให้ทั้ง 3 มื้อ และยืนยันว่าที่ผ่านมาได้มีการแนะนำกับนางสาวเนติพรโดยตลอดว่า ว่าการอดอาหารอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
แต่ซึ่งนางสาวนิติพรรับทราบอย่างต่อเนื่องแต่ยังยืนยันในแนวทางเดิม โดยมีเจตจำนงที่จะปฏิเสธรับเกลือแร่หรือวิตามิน ยืนยันว่าให้การรักษาและดูแลตามมาตรฐาน ก่อนเกิดเหตุไม่มีภาวะวิกฤต
อย่างไรก็ตาม ในการนำตัวนางสาวเนติพรไปยังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์นั้นไม่ได้ใช้ เครื่อง AED หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจ เพราะไม่มีข้อบ่งชี้
ทั้งนี้ เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามถึงข้อมูลลำดับเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุ รวมถึงขั้นตอนการช่วยเหลือกู้ชีพนางสาวเนติพรทั้งหมด ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์และผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ยังคงมีความสับสนและให้ข้อมูลไม่ตรงกัน เช่น ช่วงแรกผู้ตรวจฯกล่าวว่าไม่พบสัญญาณชีพของนางสาวเนติพรจึงได้ฉีดยากระตุ้นหัวใจ แต่ภายหลังแพทย์ให้ข้อมูลว่า มีสัญญาณชีพอ่อน ผู้ต้องขังที่ได้รับการฝึกให้เป็นผู้ช่วยพยาบาลจึงได้ cpr ที่เตียงนอน จนมีสัญญาณชีพกลับมา ก่อนเจ้าหน้าที่จะพยุงนางสาวเนติพรลงไปห้องรักษาพยาบาล
รวมถึงข้อมูลก่อนนางสาวเนติพรจะหมดสติไป ที่ตอนแรกให้ข้อมูลว่านางสาวนิติพรลุกไปเข้าห้องน้ำและมีการพูดคุยกับนางสาวทานตะวันว่าปวดท้องหรือไม่ และกลับมานอนข้างกัน ภายหลังมีการให้ข้อมูลว่านางสาวทานตะวันเป็นผู้ลุกไปเข้าห้องน้ำ และบุ้งนอนอยู่ที่เตียง, ก่อนที่สุดท้ายทางผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้แก้ไขว่ายังไม่แน่ใจว่าใครเป็นคนลุกไปเข้าห้องน้ำกันแน่ แต่หลังกลับจากเข้าห้องน้ำแล้วบุ้งและทานตะวันมีการพูดคุยกัน จากนั้น เจ้าหน้าที่ได้เข้ามาวัดความดัน หลังจากนั้นหนึ่งถึง 2 นาที บุ้งกระตุกหนึ่งถึงสองครั้ง เจ้าหน้าที่ตรวจไม่พบสัญญาณชีพ เป็นต้น
นอกจากนี้ผู้แทนดังกล่าวยังให้ข้อมูลสับสนว่านางสาวทานตะวันเห็นเหตุการณ์ขณะบุ้งกระตุกหรือไม่ น่าจะตอนแรกให้ข้อมูลว่าเกิดเหตุขณะขณะตะวันหลับอยู่ แต่ เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นไปได้อย่างไรเมื่อมีคนหนึ่งไปเข้าห้องน้ำอยู่ ผอ.รพ.จึงให้ข้อมูลใหม่ว่าตะวันเองก็วัดความดันอยู่เช่นกันขณะที่มุ่งเกิดอาการกระตุก
ซึ่ง ผอ.รพ.อ้างว่าได้ดูเพียงกล้องบันทึกภาพขณะเกิดเหตุการณ์เท่านั้น แต่ช่วงอื่นๆนั้นไม่ทราบ และไม่ได้ดูกล้องวงจรปิด จึงไม่สามารถให้รายละเอียดที่ชัดเจนได้ ทำให้ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ได้ตำหนิผู้อำนวยการโรงพยาบาลว่า ผอ.ยังสับสนในคำถาม!และไม่เข้าใจและไม่สามารถลงลึกในรายละเอียดได้ แต่ผู้ตรวจฯยืนยันว่าได้ดำเนินการตามมาตรฐานการการกู้ชีพทั้งหมด เป็นไปตามจรรยาบรรณของแพทย์ พร้อมอ้างว่าเป็นข้อมูลที่ลึกเกินไป แต่ยืนยันว่าไม่ใช่ความพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง
ด้านอาการของทานตะวันและแฟรงค์ที่ยังอยู่ในโรงพยาบาลนั้น อาการแข็งแรงดีและกลับมารับประทานอาหารตามปกติแล้ว แฟรงค์สามารถทานอาหารได้มากขึ้นและเดินได้ ส่วนนางสาวทานตะวันยังคงมีภาวะเครียดและอาการซึมเศร้า และกลับมารับประทานอาหารได้น้อย ซึ่งทางโรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้ส่งจิตแพทย์เข้าไปดูแลอย่างอย่างใกล้ชิดแล้ว
เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามว่า ทางกรมราชทัณฑ์จะมีมาตรการในการป้องกันเหตุซ้ำรอยอีกหรือไม่ นายแพทย์สมภพกล่าวว่า ราชทัณฑ์ได้ดำเนินการตามมาตรฐานอยู่แล้ว แต่หากเกิดเหตุจนถึงแก่ชีวิตนั้นไม่มีแพทย์ที่ไหนจะยื้อชีวิตได้ แม้กระทั่งนางสาวธิติพรเองก็ทำนิติกรรมไว้แล้วล่วงหน้าเนื่องจากมีความมุ่งมั่นในอุดมการและเราไม่สามารถแตะต้องอะไรได้ เราช่วยชีวิตได้ แต่เหตุการณ์หลังจากนั้นก็เป็นที่เข้าใจกันอยู่
ส่วนการป้องกันนั้น ได้พยายามส่งนักจิตวิทยาเข้าไปโน้มน้าวแล้วอย่างเต็มที่ แต่หากเขายืนยันจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์เหตุการณ์ร่างกายทนไม่ไหวแล้ว ราชทัณฑ์ทำได้เต็มที่ก็คือส่งให้แพทย์รักษาเท่านั้น ส่วนการจะให้เปลี่ยนใจนั้นทำไม่ได้เป็นเรื่องยาก หากร่างกายมาถึงจุดที่ไม่สามารถดูแลได้แล้วก็ยาก ต่อให้เป็นแพทย์เทวดาก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้“