นักวิชาการชี้ 4 สาเหตุ ส่งผลให้เครื่องบินตกหลุมอากาศอันตรายมากขึ้น

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ระบุ อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกสูงขึ้นหรือที่เราเรียกกันว่า ภาวะโลกร้อน ซึ่งอาจส่งผลโดยตรง ทำให้เครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น ชี้อัตราการเกิดหลุมอากาศเพิ่มขึ้นถึง 2 อาจรุนแรงขึ้น 40%

นักวิชาการชี้ 4 สาเหตุ ส่งผลให้เครื่องบินตกหลุมอากาศอันตรายมากขึ้น

นักวิชาการชี้ 4 สาเหตุ ส่งผลให้เครื่องบินตกหลุมอากาศอันตรายมากขึ้น

 

กรณี เครื่องบินของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ 321 ขอลงจอดฉุกเฉินที่ สนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจาก มีผู้โดยสารบาดเจ็บจากเหตุเครื่องบินตกหลุมอากาศ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 67 ที่ผ่านมา ซึ่งต่อมาทาง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยืนยันข้อมูล ณ เวลา 21.00 น. มีผู้โดยสารชาวต่างชาติ จำนวน 1 ราย เสียชีวิตบนเครื่อง และมีผู้โดยสารและลูกเรือที่ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 83 ราย

 

 

 

 

วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 มีรายงานว่า ดร.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat ระบุว่า โลกร้อนขึ้น โอกาสที่เครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น..เพราะอะไร?

 

นักวิชาการชี้ 4 สาเหตุ ส่งผลให้เครื่องบินตกหลุมอากาศอันตรายมากขึ้น
 

 

นักวิชาการชี้ 4 สาเหตุ ส่งผลให้เครื่องบินตกหลุมอากาศอันตรายมากขึ้น

 

1. เครื่องบินที่บินในบริเวณซีกโลกตะวันตก หรือบินจากโลกตะวันตกมายังซีกโลกตะวันออก มีโอกาสที่จะตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้น ทำให้ลมกรด หรือ Jet stream ซึ่งเป็นลมที่ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการบินแปรปรวน

 

2. Jet Streams หรือลมกรดเป็นกระแสลมที่ไหลเวียนในระดับความสูง ประมาณ 7.0 ถึง 16 กม. เหนือจากพื้นโลก มีความเร็วสูงมากถึง 200-400 กม./ชม. เป็นลมที่พัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกของโลก ดังนั้นถ้าเครื่องบินบินจากซีกตะวันตกมาทางซีกตะวันออก ก็ควรวางแผนการบินให้บินตามกระแสของ Jet stream จะทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น ช่วยประหยัดพลังงาน และลดเวลาในการบินสั้นลง แต่หากจะบินจากตะวันออกมาทางตะวันตก ก็ควรบินหลบ Jet stream ให้มากที่สุด เพราะจะสวนกระแสลม ทำให้ใช้เวลาการบินมากขึ้น

 

3.อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้น เนื่องจากโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ทำให้ลมกรด หรือ Jet stream ลดความเร็วลงในบางช่วง มีงานวิจัยระบุว่าอุณหภูมิในบรรยากาศที่สูงขึ้น ในแถบทวีปอาร์กติกซึ่งร้อนขึ้นเกือบสี่เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก กำลังส่งผลให้กระแสลมกรด (jet stream) ซึ่งเป็นลมที่มีกำลังแรงพัดอยู่บนชั้นบรรยากาศในบางช่วงมีความเร็วลดลง ทำให้เกิดอากาศแปรปรวน ในขณะที่อากาศปลอดโปร่ง (Clear Air Turbulance) มากขึ้น (ทั้งที่ไม่ได้บินผ่านเมฆหรือพายุ) เนื่องจากช่วง
ที่ความเร็วของลมกรดลดลงจะทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศในช่วงบริเวณดังกล่าวบางลง ซึ่งทำให้เกิด"หลุมอากาศ"ขึ้น ในขณะที่เครื่องบินได้บินผ่านหลุมอากาศ แรงยกจากปีกของเครื่องบินจะลดลงอย่างกระทันหันทำให้ตัวเครื่องตกลงไปในหลุมอากาศ ซึ่งจะตกมากหรือน้อยอยู่ที่ขนาดของความหนาแน่นของมวลอากาศ 


4.นักวิจัยชี้ว่าอัตราการเกิดหลุมอากาศจะเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าภายในปี2050และอาจมีเครื่องบินต้องเผชิญกับหลุมอากาศที่รุน แรงมากขึ้นถึง40%

 

 

Cr. เฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat