ทิ้งด่วน อย.กวาดล้าง 7 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผสมไซบูทรามีน อันตรายถึงชีวิต

ตำรวจสอบสวนกลาง ร่วมกับ อย. กวาดล้างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วน ต้องสงสัยผสมสาร "ไซบูทรามีน" อันตรายถึงชีวิต

วันที่ 30 พ.ค. 2567 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย บก.ปคบ., สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  ร่วมปฏิบัติการ ระดมกวาดล้างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วนต้องสงสัยว่าผสมไซบูทรามีน 7 ยี่ห้อ ตรวจค้น 5 จุด ตรวจยึดของกลาง จำนวน 21 รายการ มูลค่ากว่า 450,000 บาท

 

 

ทิ้งด่วน อย.กวาดล้าง 7 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผสมไซบูทรามีน อันตรายถึงชีวิต

 

พฤติการณ์กล่าวคือ สืบเนื่องจากปัจจุบันประชาชนหันมาดูแลสุขภาพและให้ความสำคัญในการลดน้ำหนัก โดยการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับลดน้ำหนักเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่นิยมใช้ และเข้าถึงง่าย และมีการจำหน่ายอย่างแพร่หลาย อาจเป็นช่องว่างให้ผู้ผลิตลักลอบผสมวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1(ไซบูทรามีน) ไปในผลิตภัณฑ์ ซึ่งเมื่อรับประทานแล้ว อาจทำให้ปวดหัว ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด และเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ในกรณีผู้มีโรคประจำตัวอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีการเฝ้าระวังกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยตลอด

 

ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนและได้รับเรื่องร้องเรียนจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับลดน้ำหนัก บนแพลตฟอร์มออนไลน์ จึงเป็นที่มาของปฏิบัติการกวาดล้างเครือข่ายผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักผสมไซบูทรามีน จำนวน 7 ยี่ห้อ ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร จ.พิษณุโลก จ.นครสวรรค์ และ จ.นครปฐม รวม 5 จุดตรวจค้น ตรวจยึดของกลางเป็น

 

1. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วน ต้องสงสัยว่าผสมไซบูทรามีน ยี่ห้อ CIS จำนวน 3,720 แคปซูล


2. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วน ต้องสงสัยว่าผสมไซบูทรามีน (ยี่ห้อ Lishou, Baschi และ บาชิ) จำนวน 12,650 ชิ้น 


3. ผลิตภัณฑ์กาแฟ ต้องสงสัยว่าผสมไซบูทรามีน (ยี่ห้อ Vitaccino, Slimming Coffee และ 1+3) จำนวน 8,655 ชิ้น รวมของกลาง 21 รายการ มูลค่ากว่า 4.5 แสนบาท 

 

ทิ้งด่วน อย.กวาดล้าง 7 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผสมไซบูทรามีน อันตรายถึงชีวิต

สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งหมดที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจยึด จะต้องส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปตรวจ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเพื่อยืนยันอีกครั้ง หากตรวจพบสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อไป

 

เบื้องต้นการกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นความผิดตาม 1. ประมวลกฎหมายยาเสพติด ฐาน “จำหน่ายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 โดยกระทำเพื่อการค้า” โทษตามมาตรา 149 วรรคสอง (1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึง 10 ปี และปรับไม่เกิน  1 ล้านบาท 2. กรณีพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีส่วนผสมของยาแผนปัจจุบัน หรือมีการผสมสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์ จะเป็นความผิด ฐาน “ผลิต/ จำหน่ายอาหารที่ไม่บริสุทธิ์” ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 25(1) โทษตามมาตรา 58 ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  3. ในส่วนผลิตภัณฑ์ที่แสดงฉลากไม่ถูกต้องจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522  มาตรา 6(10) ฐาน “จำหน่ายอาหารแสดงฉลากไม่ถูกต้อง” ระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท 


ขอย้ำเตือนประชาชนว่าการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางสื่อออนไลน์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงมารับประทานเพื่อหวังผลตามกล่าวอ้างเสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และ อย.ไม่อนุญาตการโฆษณาที่อวดอ้าง เป็นเท็จ หลอกลวงและเกินจริง หากพบจะดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำการโฆษณาเกินจริงทุกกรณี 


ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ที่เว็บไซด์ หรือสายด่วน อย.1556

 

ทิ้งด่วน อย.กวาดล้าง 7 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผสมไซบูทรามีน อันตรายถึงชีวิต

 

ทิ้งด่วน อย.กวาดล้าง 7 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผสมไซบูทรามีน อันตรายถึงชีวิต

 

ทิ้งด่วน อย.กวาดล้าง 7 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผสมไซบูทรามีน อันตรายถึงชีวิต