นักวิชาการอิสระ ยันป้าย "Bangkok City of Life" ของเดิมคลาสสิกกว่า

ภัทร เหมสุข นักวิชาการอิสระ นักวิชาการอิสระ ยัน ป้าย "Bangkok City of Life" ของเดิมคลาสสิกกว่า ชี้ รสนิยมดีๆ มันซื้อหากันด้วยเงินไม่ได้จริงๆ

นักวิชาการอิสระ ยัน ป้าย "Bangkok City of Life" ของเดิมคลาสสิกกว่า  

นักวิชาการอิสระ ยันป้าย \"Bangkok City of Life\" ของเดิมคลาสสิกกว่า

ภัทร เหมสุข นักวิชาการอิสระ ชี้ป้าย "Bangkok City of Life" ของเดิมที่สี่แยกปทุมวัน คลาสสิกมาก เรียบง่าย สวยด้วยตัวเอง ไม่ใช่ดูทื่อ ๆ แบบฟอนต์ราชการ สรุปก็คือรสนิยมดี ๆ ซื้อด้วยเงินไม่ได้ เป็นเรื่องราวที่ถูกชี้เเจง ผ่าน ) เฟซบุ๊ก Pat Hemasuk ของนายภัทร เหมสุข นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า "คะแนนเสียงคงเป็นเอกฉันท์แล้วนะครับ ว่าวันนี้คนส่วนมากคิดอะไร กับแลนด์มาร์กของกรุงเทพฯ ที่นักท่องเที่ยวต้องมายืนถ่ายรูปตัวเองที่จุดนี้

นักวิชาการอิสระ ยันป้าย \"Bangkok City of Life\" ของเดิมคลาสสิกกว่า

ไม่ต่างคนไปเที่ยวโอซาก้า กับต้องยืนบนสะพานเอบิสุ ถ่ายภาพป้ายกูลิโกะที่ริมคลองโดทงโบริ หลังจากไปถ่ายภาพกับปูที่ปากซอยมา ผมไปโอซาก้าสามล้านกว่าครั้งแล้ว ถ้าพูดเล่น ๆ แบบเซอร์เรียลิสม์ ก็อดไปยืนยิ้มแล้วถ่ายภาพมุมเดิม ๆ ไม่ได้ ทุกอย่างเหมือนเดิม เพียงแต่คนที่ยืนถ่ายแก่ขึ้นทุกปีเท่านั้นเอง แต่มันคือสิ่งที่นักท่องเที่ยวส่วนมากต้องมาทำก่อนไปเดินต่อในย่านชินไซบาชิยามค่ำเท่านั้นเอง
 

นักวิชาการอิสระ ยันป้าย \"Bangkok City of Life\" ของเดิมคลาสสิกกว่า

ภาพกรุงเทพฯ มุมนี้คลาสสิกมาก ทริปแอดไวเซอร์, อาเซียนเบสโฮเทล, แอร์บีเอ็นบี ฯลฯ และเว็บท่องเที่ยวอีกมากมายต้องมีภาพนี้สำหรับเชิญชวนให้คนมาเที่ยวกรุงเทพฯ แล้วจะบอกว่าที่หน้าป้ายนี้ไม่ใช่แลนด์มาร์กของกรุงเทพฯ ที่ให้นักท่องเที่ยวมายืนถ่ายภาพก็คงไม่ใช่แล้วล่ะครับ

สำหรับผมเองผมเป็นคนชอบงานแนว ลอฟท์ (Loft) เป็นพื้นอยู่แล้วงาน ผิวปูนดิบ เนื้องานดิบ ดูแล้วเหมือนงานน้อย แต่กลับให้ความรู้สึกที่มาก และถ้าเป็น Contemporary Loft Design หลังยุค 40-50-60-70's มันคือ งานออกแบบได้ไม่ง่ายเหมือนยุคบุกเบิกที่เน้นงานดิบ ต้องเป็นคนที่อิ่มในความรู้สึกศิลป์และมีชั่วโมงบินอยู่พอสมควร เพราะมันไม่เน้นความดิบและว่างเปล่าเหมือนตอนอีกยุคที่ยังเป็น Mid-Modern Loft Design ในช่วงตลอดหลังสี่สิบปีก่อนอีกแล้ว เพราะในความเป็น Contemporary ที่เริ่มมีสีสันและองค์ประกอบที่เปลี่ยนไม่เคยหยุดของตัวมันเอง มันจะบอกตัวเองว่ามันคืองานแนวลอฟท์ที่ถูกดีซายด์ออกมายุคไหน

มันไม่ต่างกับ น้อยแต่มาก (Less is More) ตามแบบของ มินิมอล (Minimal) หรอกครับ เพียงแต่ลอฟท์มันมีแนวทางของตัวเอง แล้วพัฒนาตัวเองไปเรื่อย ๆ ด้วยความเป็น Contemporary แต่ละยุคตามกาลเวลาของมันเองบนเนื้อผิวที่ดิบของปูนและคอนกรีต และสีสันที่เพิ่มขึ้นตามยุคของมัน

ป้ายนี้ถูกสร้างในยุค คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ถ้าผมจำไม่ผิด ถ้าผิดก็ขออภัยด้วย มันเรียบง่าย สวยด้วยตัวของมันเอง ฟอนต์สวยงาม ตามแบบของตัวเอง ไม่ใช่ดูทื่อ ๆ แบบฟอนต์ราชการแบบที่สมัยนั้นชอบใช้กัน มีความเป็น Contemporary ของยุคนั้นเป็นเอกลักษณ์ที่ดูสวยข้ามเวลาจนถึงทุกวันนี้

"รสนิยมดี ๆ มันซื้อหากันด้วยเงินไม่ได้จริง ๆ มันเกิดจากการบ่มเพาะในความคิดด้วยเวลาชีวิตของคนแต่ละคน"

 

 

Cr. เฟซบุ๊ก Pat Hemasuk