ไล่ออกแล้ว 29 ราย ข้าราชการ"กทม."ทุจริต ผิดวินัยร้ายแรง ชัชชาติ ลั่น เราไม่ทน

กทม. มีคำสั่งไล่ออก-ปลดออกข้าราชการ ไปแล้ว 29 ราย เข้าข่ายทุจริตและประพฤติมิชอบ "ชัชชาติ"ลั่นแจ้งผมได้ทันที เราไม่ทนต่อการทุจริต

4 ก.ค.67 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงความคืบหน้าการตรวจสอบเรื่องการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย โดยมี นางวันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร และนางสาวเต็มสิริ เนตรทัศน์ ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (สำนักงาน ก.ก.) ร่วมแถลง 

โดยผู้ว่าชัชชาติ ย้ำว่า การตรวจสอบเรื่องทุจริต ทุกคนอยากให้เร็ว แต่สุดท้ายต้องรอบคอบ วันนี้ได้เน้นย้ำหัวหน้าหน่วยงานทั้งหมดว่าความโปร่งใสเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เราจะไม่อดทนต่อการทุจริต อย่าเกรงใจ อย่าให้ใครมาบังคับให้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หากมีใครแอบอ้างหรือบังคับให้แจ้งได้ทันที”

ไล่ออกแล้ว 29 ราย ข้าราชการ\"กทม.\"ทุจริต ผิดวินัยร้ายแรง ชัชชาติ ลั่น เราไม่ทน

ศตท.กทม. เร่งกระบวนการตรวจสอบหลังรับเรื่องร้องเรียน
      สำหรับการตรวจสอบเรื่องการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายสำหรับศูนย์กีฬาของกรุงเทพมหานคร หลังจากศูนย์ปฏิบัติการติดตามการต่อต้านทุจริตของกรุงเทพมหานคร (ศตท.กทม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 67 นั้น ในวันที่ 6 มิ.ย. ผู้ว่าฯ กทม. ได้สั่งการในทันทีให้ชะลอการส่งมอบเครื่องออกกำลังกายที่อยู่ระหว่างการจัดซื้อและยังไม่ได้ส่งมอบ และให้คณะกรรมการเร่งรัดตรวจสอบโครงการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายทั้ง 7 โครงการ รวมทั้งโครงการอื่น ๆ หากมีรายการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายเกี่ยวข้องด้วย 


      วันที่ 7 มิ.ย. ปลัด กทม. มีคำสั่งมอบหมายให้ นายณัฐพงศ์ ดิษยบุตร รองปลัด กทม. ในฐานะผู้อำนวยการ ศตท.กทม. เป็นผู้รับผิดชอบสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เพื่อความรวดเร็วและโปร่งใสในการตรวจสอบ

ไล่ออกแล้ว 29 ราย ข้าราชการ\"กทม.\"ทุจริต ผิดวินัยร้ายแรง ชัชชาติ ลั่น เราไม่ทน


      วันที่ 11 มิ.ย. ผู้อำนวยการ ศตท.กทม. รายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้นต่อปลัด กทม. และสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ถึงเหตุอันน่าเชื่อว่าจะมีมูลการกระทำความผิด ซึ่งในกระบวนการทั้งหมดนี้ ศตท.กทม. ได้เอาจริง เร่งรัด และรอบคอบในการดำเนินงานโดยใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน 

     ขณะเดียวกัน ปลัด กทม. ได้สั่งการให้สำนักงานตรวจสอบภายใน (สตน.) สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ตรวจสอบราคากลางเทียบกับราคาท้องตลาดของเครื่องออกกำลังกาย ซึ่งเบื้องต้นพบว่ามีราคาที่สูงกว่าท้องตลาดมาก สตน. จึงได้เสนอให้มีคณะกรรมการกำหนดราคากลางสำหรับครุภัณฑ์ที่ไม่มีราคากลางมาก่อน เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมให้การกำหนดราคาเป็นไปตามมาตรฐานในอนาคตต่อไป  อีกส่วนหนึ่งคือเครื่องออกกำลังกายมีสเป็กสูงเกินความจำเป็น เช่น บริเวณที่เครื่องออกกำลังกายติดตั้งอยู่นั้นไม่มีสัญญาณไวไฟที่จะต่อเชื่อมกับเครื่องออกกำลังกายได้ 


      วันที่ 17 มิ.ย. หลังทราบรายงานผลเบื้องต้น ผู้ว่าฯ กทม. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงทันที และประธานคณะกรรมการฯ ได้รับทราบคำสั่งเมื่อ 20 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยต้องรายงานผลความคืบหน้าต่อผู้ว่าฯ กทม. ทุก ๆ 7 วัน ซึ่งเป็นการสืบสวนจากเอกสารหลักฐาน บุคคล และพยานที่เกี่ยวข้อง และต้องสรุปผลการสืบสวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นทางการภายใน 30 วันหลังรับทราบคำสั่ง

ไล่ออกแล้ว 29 ราย ข้าราชการ\"กทม.\"ทุจริต ผิดวินัยร้ายแรง ชัชชาติ ลั่น เราไม่ทน
      โดยผลการพิจารณาของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงมีความเป็นไปได้ 3 ทาง คือ ทางแรก กรณีพบว่ามีมูลทุจริต จะแต่งตั้งคณะกรรมการวินัยร้ายแรง และให้เวลาพิจารณาดำเนินการทางวินัยภายใน 120 วัน ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องใช้ระยะเวลาเนื่องจากต้องมีความละเอียดและรอบคอบ เป็นไปตามกฎ ก.ก. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2565 ทางที่สอง กรณีมีมูลผิดวินัยไม่ร้ายแรง จะแต่งตั้งคณะกรรมการวินัยไม่ร้ายแรง และทางที่สาม กรณีพิจารณาไม่มีมูล จะเสนอผู้บังคับบัญชาให้ยุติเรื่องดังกล่าว


      จะเห็นได้ว่าการดำเนินการตรวจสอบเรื่องทุจริตกรณีการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายมีกระบวนการที่ใช้เวลามากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำผิดโดยกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) เช่น กรณีครูทุจริตค่าอาหารกลางวัน หรือกรณีการจับกุมนายช่างโยธาเรียกรับสินบนเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินโครงการก่อสร้าง เนื่องจากกรณีที่มีการจับกุมดังกล่าว กทม. สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการวินัยร้ายแรงได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการสืบสวนข้อเท็จจริง เพราะเป็นไปตามหมายจับหรือความผิดซึ่งหน้า


ผลการดำเนินงาน ศตท.กทม.


      สำหรับศูนย์ปฏิบัติการติดตามการต่อต้านทุจริตของกรุงเทพมหานคร (ศตท.กทม.) มีผลการดำเนินงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ดังนี้  มีคำสั่งไล่ออก/ปลดออกข้าราชการ จำนวน 29 ราย แบ่งเป็นกรณีเข้าข่ายทุจริตและประพฤติมิชอบ 12 ราย ได้แก่ ทุจริตเรียกรับสินบน 6 ราย ทุจริตไม่นำส่งเงิน 3 ราย และทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง 3 ราย  ส่วนอีก 17 ราย เป็นกรณีผิดวินัยอย่างร้ายแรงอื่น เช่น ขาดงานเกิด 15 วัน ละเมิดทางเพศผู้เรียน ลอกเลียนผลงาน ยาเสพติด ปลอมเอกสาร หลอกลวงนำเงินไปลงทุน 

ไล่ออกแล้ว 29 ราย ข้าราชการ\"กทม.\"ทุจริต ผิดวินัยร้ายแรง ชัชชาติ ลั่น เราไม่ทน
      ปัจจุบันมีเรื่องทุจริตที่อยู่ระหว่างการสอบสวนทางวินัย 6 เรื่อง แบ่งเป็น กรณีเรียกสินบน 5 เรื่อง และการจัดซื้อจัดจ้าง 1 เรื่อง  ซึ่งเคสสำคัญ เช่น เคสเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ เรียกรับสินบนจากโรงแรมในพื้นที่ กทม. อยู่ระหว่างสอบสวนทางวินัย และดำเนินคดีอาญา  เคสเจ้าหน้าที่ ฝ่ายโยธา เรียกรับสินบนเพื่อออกใบอนุญาตก่อสร้าง อยู่ระหว่างพิจารณาความผิดและกำหนดโทษ และดำเนินคดีอาญา  ส่วนเคสเจ้าหน้าที่สำนักการโยธา เรียกรับสินบนเพื่ออำนวยความสะดว