รับซื้อ"ปลาหมอคางดำ" 2 ล้านกิโลฯ ให้ราคาอย่างงาม ตั้งจุดรับซื้อทุกจังหวัด

ประกาศจับตาย ปลาหมอคางดำ เงินรางวัลนำจับ กก.ละ 15 บาท "ธรรมนัส"เผย การยางแห่งประเทศไทย ตั้งจุดรับซื้อทุกจังหวัดที่มีการแพร่ระบาด คาดรับซื้อได้ 2,000,000 กิโลกรัม

กระแสล่า"ปลาหมอคางดำ" ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด การยางแห่งประเทศไทย ทุ่มงบ 50 ลบ. จ่ายค่าหัวปลาหมอคางดำ กิโลกรัมละ 15 บาท  ด้าน ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่ง ประกาศจับตาย เชิญชวนนักล่าทั้งหลายจับตาย ปลาหมอคางดำ  มีเงินรางวัลนำจับ กิโลกรัมละ 15 บาท โดยการยางแห่งประเทศไทย ตั้งจุดรับซื้อทุกจังหวัดที่มีการแพร่ระบาด ( จับตายเท่านั้น) เพื่อนำไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ต่อไป


โดย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ทุ่มงบประมาณ กยท. มาตรา 13 เพื่อการดำเนินธุรกิจฯ วงเงินรวม 50 ล้านบาท เตรียมจ่ายค่าหัวปลาหมอคางดำ กก.ละ 15 บาท. ส่งผลิตเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตร มุ่งลดต้นทุนปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรควบคู่การกำจัดปลาหมอคางดำศัตรูทำลายระบบนิเวศ

รับซื้อ\"ปลาหมอคางดำ\" 2 ล้านกิโลฯ ให้ราคาอย่างงาม ตั้งจุดรับซื้อทุกจังหวัด


นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสำคัญ และรับทราบปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ จึงเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกร โดยที่ประชุมคณะกรรมการแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 67 ได้มีมติให้ดำเนินมาตรการระยะเร่งด่วน คือการกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่มีการระบาด ทั้งนี้ กยท. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่สามารถช่วยกำจัดปลาหมอคางดำซึ่งเป็นปลาที่ทำลายระบบนิเวศน์ได้

รับซื้อ\"ปลาหมอคางดำ\" 2 ล้านกิโลฯ ให้ราคาอย่างงาม ตั้งจุดรับซื้อทุกจังหวัด

จึงเตรียมรับซื้อปลาหมอคางดำเพื่อนำไปทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตร โดยใช้เงินงบประมาณ กยท. มาตรา 13 สำหรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของ กยท. ภายใต้โครงการจำหน่ายปัจจัยการผลิต แผนปฏิบัติการดำเนินงานด้านธุรกิจ ซึ่งคณะกรรมการ กยท. มีมติเห็นชอบและให้ดำเนินการตามแผนธุรกิจของ กยท. ไว้แล้วเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 66 เบื้องต้นจะใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท โดยตั้งราคารับซื้อที่กิโลกรัมละ 15 บาท คาดว่าสามารถรับซื้อปลาหมอคางดำได้ประมาณ 2,000,000 กิโลกรัม และนำไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพได้ 2 ล้านลิตร ทั้งนี้ ได้ศึกษาค้นคว้าแล้วว่า มีงานวิจัยทั้งในประเทศและข้อมูลจากต่างประเทศที่นำเอาปลาไปหมักเป็นอะมิโนจากปลา เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยน้ำได้

เบื้องต้น กยท. ได้ดำเนินการบูรณาการกับกรมประมงจัดหาผู้ประกอบการด้านการประมงที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมง เพื่อเป็นผู้รับซื้อปลาหมอคางดำจากเกษตรกรหรือประชาชนที่จับมาขาย โดยกรมประมงจะจัดจุดรับซื้อในจังหวัดที่มีการแพร่ระบาด ก่อนส่งปลาหมอคางดำที่รับซื้อไว้ไปให้โรงงานในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ดำเนินการผลิตเป็นปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพต่อไป ซึ่ง  กยท. จะนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปวางจำหน่ายตามหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ที่ราคาลิตรละ 100 บาท

รับซื้อ\"ปลาหมอคางดำ\" 2 ล้านกิโลฯ ให้ราคาอย่างงาม ตั้งจุดรับซื้อทุกจังหวัด
“ตอนนี้น้ำหมักชีวภาพที่จำหน่ายในท้องตลาด มีราคาประมาณลิตรละ 200 บาท ดังนั้น ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากปลาหมอคางดำ จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร สามารถนำไปใช้ในสวนยาง สวนปาล์ม สวนผลไม้และพืชอื่นๆ ได้”

รับซื้อ\"ปลาหมอคางดำ\" 2 ล้านกิโลฯ ให้ราคาอย่างงาม ตั้งจุดรับซื้อทุกจังหวัด


ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ สามารถปรับปรุงส่วนประกอบของดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินซึ่งสามารถช่วยปรับปรุงบำรุงดินที่เสื่อมโทรมให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น การใช้ปุ๋ยหมักเป็นแนวทางหนึ่งที่เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน และสามารถปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของดิน อีกทั้งยังสามารถแก้ไขปัญหาของการระบาดของปลาหมอคางดำได้อีกด้วย