- 23 ก.ค. 2567
"ปลาหมอคางดำ" หายนะ ของระบบนิเวศ ล่าสุด เกษตรกรขอยอมแพ้ หลัง "ไข่ปลาหมอคางดำ" ที่ตากแดดอยู่ 2 เดือน พอฝนตกใส่ มันฟักออกมาเป็นตัวได้
"ปลาหมอคางดำ" ปลาตัวร้าย ที่กำลังเข้าบุกแหล่งน้ำหลายแห่ง หายนะ ของระบบนิเวศอย่างแท้จริง เจ้าปลาหมอคางดำนั้น สามารถปรับตัวอยู่ได้ทั้ง ในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ลำไส้ที่ยาวกว่าลำตัว ถึง 4 เท่า ทำให้มีความหิวตลอดเวลากินได้ทั้งลูกกุ้ง หอย ปู ปลาและพืช ตัวเมียวางไข่ปลาหมอคางดำได้ 50 - 300 ฟองต่อครั้ง ตัวผู้คือผู้ดูแล อมไข่ไว้ในปากจนกว่าจะฟักตัวออกมาเป็นลูกปลา 2-3 สัปดาห์ ทำให้ปลาหมอคางดำแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
โดยมีข้อมูลจาก เกษตรกร รายหนึ่ง ได้เปิดเผยว่า ตนเคยสู้กับปลาหมอคางดำมานาน ตอนนั้นตนคิดจะพัฒนาบ่อให้เป็นเชิงพาณิชย์มีการจัดระบบกรองน้ำเข้า โดยการจับปลาจากบ่อขึ้นให้หมด ตากบ่อกว่านานกว่า 2 เดือน จนดินแห้งแตกระแหงเป็นฝุ่น แล้วก็นำรถแบ็คโฮ เข้าไปดันบ่อปรับพื้นแต่งบ่อใหม่ทั้งหมด และตากบ่อต่ออีก คิดว่าจะฆ่าปลาหมอคางดำให้หมด
แต่เมื่อมีฝนตกลงมา ตนก็ได้เห็นว่ามีอะไรบางอย่างดำผุดในน้ำ ตอนแรกคิดว่าเป็นนึลูกอ๊อด จึงเข้าไปดู พบว่าเป็นลูกปลาหมอคางดำ จากการวิเคราะห์จึงสรุปว่าปลาหมอคางดำมันคายไข่ทิ้งไว้ในบ่อ มันทนมาก ตนแดด พอมีน้ำเข้ามามันก็ฟักเป็นตัว กลับมาอีก
ซึ่งทางเพจ สำรวจโลก ก็ได้ลงข้อมูลเอาไว้ว่า
อึด !! ไข่ปลาหมอคางดำ ตากแดดไว้ 2 เดือน ยังฟักเป็นตัวได้