หนุ่มตกใจ รีบคว้ามือถือถ่ายก้อนเมฆยักษ์ ชาวเน็ตชี้คล้ายคลื่นสึนามิ

โซเชียลแห่แชร์ภาพก้อนเมฆรูปร่างแปลกประหลาด มีลักษณะคล้ายกับคลื่นยักษ์สึนามิ ชาวเน็ตแห่ชมทั้งแปลกตาทั้งขนลุก

กลายเป็นภาพไวรัลขึ้นมาทันทีเมื่อผู้ใช้ เฟซบุ๊ก Su Per Armer ได้โพสต์ภาพเมฆประหลาดลงในกลุ่ม คนรักมวลเมฆ พร้อมข้อความ ว่า สุดยอดไปเลยไปวันนี้ โดยเป็นภาพลักษณะก้อนเมฆคล้ายกับคลื่นทะเล สำหรับพิกัดบริเวณหน้าบิ๊กซี จ.ศรีสะเกษ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2567 ที่ผ่านมา

     

หนุ่มตกใจ รีบคว้ามือถือถ่ายก้อนเมฆยักษ์ ชาวเน็ตชี้คล้ายคลื่นสึนามิ

 

โดยมีชาวเน็ตมาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก บางคอมเมนท์ก็ว่ามวลเมฆดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลื่นสึนามิ หรือลักษณะคลื่นขนาดใหญ่ บ้างก็ว่าเหมือนเทือกเขาเนปาลโดยหลายความคิดเห็นแสดงถึงมวลเมฆก้อนนี้ มีลักษณะที่สวยงาม และมีความน่ากลัวไปพร้อมๆ กัน

 

หนุ่มตกใจ รีบคว้ามือถือถ่ายก้อนเมฆยักษ์ ชาวเน็ตชี้คล้ายคลื่นสึนามิ

 

หนุ่มตกใจ รีบคว้ามือถือถ่ายก้อนเมฆยักษ์ ชาวเน็ตชี้คล้ายคลื่นสึนามิ


 

สำหรับดังกล่าวคือเมฆอาร์คัส เกิดจากอะไร เป็นคำถามที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากที่เกิดปรากฏการณ์เมฆลอยต่ำ และท้องฟ้ามืดเหมือนยามค่ำคืนเมื่อช่วงเช้าวันที่ 29 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา"เมฆอาร์คัส" หรือ เมฆกันชน ซึ่งเป็นปรากฎการณ์หนึ่งก่อนเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง   

"เมฆอาร์คัส" (Arcus Cloud) เป็นปฏิกิริยาหนึ่งของ เมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (CB) ซึ่งเป็น เมฆชั้นต่ำที่ก่อตัวในแนวระนาบ มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ 
 

Shelf Cloud เป็น เมฆ ชั้นต่ำตระกลูเดียวกับ Stratocumulus (SC) ซึ่งจะก่อตัวในแนวระนาบ ลักษณะเป็นลิ่มยื่นออกมาจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (CB) โดยที่อากาศเย็น จะไหลลงมาจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง และแผ่กระจายไปโดยรอบบริเวณผิวพื้น ซึ่งแนวหน้าของลมที่ไหลลงมานั้นจะเรียกว่า Gust Front อากาศเย็นที่ไหลลงมานี้จะทำให้อากาศที่อุ่นกว่าบริเวณผิวพื้นซึ่งมีความหนาแน่นน้อยกว่าไหลขึ้นไป แล้วเกิดการกลั่นตัวเป็น เมฆ ที่มีลักษณะคล้ายชั้นวางสิ่งของที่ยื่นมาจากเมฆก่อนใหญ่ จึงเรียกอาร์คัสประเภทนี้ว่า Shelf Cloud นั่นเอง

 

Roll Cloud เป็นเมฆชั้นต่ำตระกลูเดียวกับ Stratocumulus (SC) และก่อตัวในแนวระนาบเช่นเดียวกัน มีลักษณะเหมือนทรงกระบอกขนาดใหญ่ อาจยาวได้หลายกิโลเมตร สิ่งที่แตกต่างจาก Shelf Cloud คือ Roll Cloud นั้นจะไม่อยู่ติดกับเมฆชนิดอื่น จะเคลื่อนตัวออกไปจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง(CB) เกิดจาก Gust Front ที่สามารถทำให้อากาศบริเวณผิวพื้นเกิดการหมุนวน โดยที่อากาศอุ่นบริเวณผิวพื้นด้านหน้าถูกทำให้ไหลขึ้นไปด้านบนจากอากาศเย็นที่ไหลลงมาด้านหลัง แล้วเกิดการกลั่นตัวเป็นเมฆก้อนใหม่ มีลักษณะม้วนตัวนั่นเอง แต่การม้วนตัวของเจ้าเมฆทรงกระบอกนี้ จะดูตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของมันเสมอ

 


อย่างไรก็ดี ต้องเรียนว่า เมฆอาร์คัส ไม่มีอันตรายโดยตรง แต่เนื่องจากอาร์คัสเป็นส่วนหนึ่งของ เมฆฝนฟ้าคะนอง จึงมีความเสี่ยงจากฟ้าผ่าแฝงอยู่ โดยเฉพาะฟ้าผ่าแบบบวก (positive lighting) ซึ่งสามารถผ่าออกมาไกลจากตัวเมฆได้หลายกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม บริเวณฐานกลุ่มเมฆจะเป็นลมกด ซึ่ง ปรากฏการณ์อาร์คัส ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่าย