"เทือกเขาอันนัม" เทือกเขาที่ปกป้องประเทศไทยและลาว จากซูเปอร์ไต้ฝุ่นยางิ

รู้จักเทือกเขาอันนัม เทือกเขาปกป้อง ประชาชนชาวลาวและประเทศไทย จากซูเปอร์ไต้ฝุ่นยางิ ที่ขึ้นฝั่งพัดถล่มเวียดนาม

จากเหตุการณ์ พายุไต้ฝุ่นยางิ พัดขึ้นฝั่งถล่มประเทศเวียดนาม จนเกิดความเสียหายจำนวนมาก รวมทั้งมีรายงานผู้เสียชีวิต  โดยซูเปอร์ไต้ฝุ่งยางิ ถือเป็นพายุรุนแรงที่สุดในเอเชียปีนี้ ล่าสุด 8 ก.ย.67  กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง พายุยางิ พายุโซนร้อนกำลังแรงยางิ บริเวณเมืองนิญบิ่ญ ประเทศเวียดนามได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนแล้ว 


สำหรับประเทศไทย ที่รอดพ้นจากพายุไต้ฝุ่นยางิ   ทางเพจ  World Forum ข่าวสารต่างประเทศ เปิดเผยถึง เทือกเขาอันนัม เทือกเขาปกป้อง ประชาชนชาวลาว ชาวไทย จากลมพายุรุนแรง ซูเปอร์ไต้ฝุ่นยางิ ความเร็วลมสูงถึง 230 กม./ชม. ในภาพ เวลา 21.00 น. 6/9/2024 แผนที่ลมกระโชก  จะเห็นได้ว่าลมไม่สามารถผ่านแนวเขาได้เลย  ผ่านได้เพียงเล็กน้อย 

\"เทือกเขาอันนัม\" เทือกเขาที่ปกป้องประเทศไทยและลาว จากซูเปอร์ไต้ฝุ่นยางิ
เทือกเขาอันนัม

เป็นเทือกเขาในภูมิภาคอินโดจีน มีความยาวประมาณ 1,100 กิโลเมตร (680 ไมล์) เป็นชายแดนตลอดแนวทิศตะวันตกของประเทศเวียดนามต่อกับลาวและทางตอนเหนือของกัมพูชา (ชื่ออื่นๆ ภาษาเวียดนามว่า "สายเจื่องเซิน" (Dãy Trường Sơn) "สายภูหลวง" (ພູຫລວງ) ในภาษาลาว  เอกสารไทยเรียก เทือกเขาญวน, เขาญวน หรือ เขาเมืองภูซุน)

\"เทือกเขาอันนัม\" เทือกเขาที่ปกป้องประเทศไทยและลาว จากซูเปอร์ไต้ฝุ่นยางิ
เทือกเขาอันนัมประกอบด้วยภูเขาและยอดเขาเป็นจำนวนมาก  ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ภูเบี้ย ความสูง 2,819 เมตร และยังเป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย

รู้จัก"เทือกเขาอันนัม" ,สายเจื่องเซิน ,สายภูหลวง

เทือกเขาอันนัมประกอบด้วยภูเขาและยอดเขาเป็นจำนวนมาก เป็นเทือกเขาในภูมิภาคอินโดจีน มีความยาวประมาณ 1,100 กิโลเมตร (680 ไมล์) เป็นชายแดนตลอดแนวทิศตะวันตกของประเทศเวียดนามต่อกับลาวและทางตอนเหนือของกัมพูชา 

โดยยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ภูเบี้ย ที่ความสูง 2,819 เมตร และยังเป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย มีชื่อเรียกในภาษาเวียดนามว่า "สายเจื่องเซิน" (Dãy Trường Sơn) และ "สายภูหลวง" (ພູຫລວງ) ในภาษาลาว

สำหรับในส่วนของประเทศเวียดนาม พิษจากซูเปอร์ไต้ฝุ่นยางิ ซึ่งเวียดนามให้พายุ ซูเปอร์ไต้ฝุ่น ยางิ เป็นพายุรุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี เบื้องต้นการประเมินความเสียหาย ทำให้มีรายงานผู้เสียชีวิต 14 ราย บาดเจ็บ 176 ราย บ้านเรือนเสียหาย 3,279 หลัง เสาไฟฟ้าหัก 401 ต้นพายุได้จมเรือปูนซีเมนต์และเรือประมง  25 ลำที่ทอดสมอในฮาลองเบย์ จังหวัดกว๋างนิญห์ ไฮฟอง ท้ายบิ่ญ ไฮเซือง และ ฮานอย  ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง 
การสื่อสารขัดข้อง 

\"เทือกเขาอันนัม\" เทือกเขาที่ปกป้องประเทศไทยและลาว จากซูเปอร์ไต้ฝุ่นยางิ
การเกษตร ข้าวและพืชผล 759,375 ไร่ถูกน้ำท่วมและได้รับความเสียหายจากลม  ต้นไม้ผลไม้ 31,418 ไร่ กระชังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกว่า 1,000 แห่งได้รับความเสียหาย ด้าน เมืองฮานอย มีต้นไม้ล้มและกิ่งหักในเมืองฮานอยจำนวน 14,660 ต้น ในจำนวนนี้มีต้นไม้ล้ม 14,272 ต้น

\"เทือกเขาอันนัม\" เทือกเขาที่ปกป้องประเทศไทยและลาว จากซูเปอร์ไต้ฝุ่นยางิ

เทือกเขาอันนัม ปราการธรรมชาติของอินโดจีน


เทือกเขาอันนัม เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ที่ทอดยาวผ่านประเทศลาว เวียดนาม และกัมพูชา เป็นเหมือนกระดูกสันหลังของภูมิภาคอินโดจีน มีความสำคัญทางภูมิศาสตร์และนิเวศวิทยาอย่างยิ่ง

ความสำคัญของเทือกเขาอันนัม
ปราการธรรมชาติ: เทือกเขาอันนัมทำหน้าที่เหมือนกำแพงกั้นธรรมชาติ ป้องกันไม่ให้มวลอากาศจากทะเลเข้ามาในแผ่นดินใหญ่ ทำให้ภูมิอากาศของภูมิภาคนี้มีความหลากหลาย


แหล่งต้นน้ำลำธาร: เทือกเขาอันนัมเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสายที่สำคัญ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำแดง และแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญสำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรม


ความหลากหลายทางชีวภาพ: เทือกเขาอันนัมเป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์นานาชนิดที่หายากและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น เสาลา ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่พบได้เฉพาะในเทือกเขาอันนัมเท่านั้น

 

เทือกเขาอันนัม ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ
ความยาว - เทือกเขาอันนัมมีความยาวกว่า 1,100 กิโลเมตร
ความสูง - ยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขาอันนัมคือภูเบี้ย ซึ่งมีความสูง 2,819 เมตร
ภูมิประเทศ

เทือกเขาอันนัมมีภูมิประเทศที่หลากหลาย ตั้งแต่ภูเขาสูงชัน ป่าทึบ ไปจนถึงหุบเขาและที่ราบสูง
 

การอนุรักษ์เทือกเขาอันนัม
เทือกเขาอันนัมเป็นมรดกทางธรรมชาติที่สำคัญของภูมิภาคอินโดจี เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและความสมดุลของระบบนิเวศในเทือกเขาอันนัม จำเป็นต้องมีการดำเนินมาตรการอนุรักษ์อย่างจริงจัง เช่น การจัดตั้งเขตอนุรักษ์ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการสร้างความตระหนักให้กับชุมชนท้องถิ่น