วิธีตรวจสอบสิทธิรับเงิน 10,000 กลุ่มเปราะบาง-กลุ่มผู้พิการ ช่องทางไหนบ้าง

กลุ่มเปราะบาง-ผู้พิการ เช็กวิธีตรวจสอบสิทธิรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ช่องทางไหน และวิธีใดบ้าง พร้อมช่องทางผูกบัญชีพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน กำหนดวันโอนเงินสดเข้าบัญชี


แจกเงิน 10000 บาท "ดิจิทัลวอลเลต"กลุ่มเปราะบาง ล่าสุด ธนาคารกรุงไทย ออกมาชี้แจงแล้ว กรณี กลุ่มเปราะบาง ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปธนาคาร สามารถผูกพร้อมเพย์ กับเลขบัตรประชาชน เตรียม "รับเงินสด" วันที่ 25-30 ก.ย.67 นี้ โดยไม่ต้องลงทะเบียน

ล่าสุด ธนาคารกรุงไทย เผยผ่าน Krungthai Care เกี่ยวกับ วิธีผูก พร้อมเพย์ ผ่านแอป Krungthai NEXT

วิธีตรวจสอบสิทธิรับเงิน 10,000 กลุ่มเปราะบาง-กลุ่มผู้พิการ ช่องทางไหนบ้าง


ขั้นตอนง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน


1.เปิดแอป Krungthai NEXT เลือกเมนูบริการ >> เมนู พร้อมเพย์
2. เลือกผูกกับหมายเลขบัตรประชาชน (สำหรับรับเงินจากภาครัฐ) หรือเบอร์โทรศัพท์
3. อ่านและยอมรับเงื่อนไขข้อกำหนดในการให้บริการ
4. เลือกบัญชีรับเงินที่ต้องการผูกกับหมายเลขพร้อมเพย์
5.ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนยืนยันการสมัคร


หากต้องการความช่วยเหลือ ติดต่อ Krungthai contact center 02-111-1111 หรือ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา

วิธีตรวจสอบสิทธิรับเงิน 10,000 กลุ่มเปราะบาง-กลุ่มผู้พิการ ช่องทางไหนบ้าง

 

โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ

1. โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพและเพิ่มศักยภาพของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (โครงการลงทะเบียนฯ) ปี 2565 ให้มีโอกาสเข้าถึงการใช้จ่ายที่จำเป็นในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพิ่มการบริโภคและกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ โดยรัฐจะสนับสนุนเงินจำนวน 10,000 บาทต่อคน ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนหรือผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารตามที่ได้แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือ ณ สำนักงานคลังจังหวัดหรือกรมบัญชีกลาง (เฉพาะกรณีผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวนประมาณ 12.40 ล้านราย ประกอบด้วย

1.1 ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ยืนยันตัวตน (e-KYC) สำเร็จแล้วตามฐานข้อมูลของกระทรวงการคลัง และไม่เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

1.2 ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ e-KYC สำเร็จแล้ว เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่หมดอายุ ตามฐานข้อมูลของ พก. พม.

1.3 ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ e-KYC สำเร็จแล้ว เป็นคนพิการที่ได้รับเงินเบี้ยความพิการ ตามฐานข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา แต่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลของ พก. พม.

ทั้งนี้ จะใช้ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 ซึ่งไม่รวมถึงผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ยืนยันตัวตน (e-KYC) สำเร็จ และเป็นบุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัด พม. ตามที่ พม. ได้ยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลาง

 

2. โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพและเพิ่มศักยภาพของคนพิการซึ่งเป็นผู้เปราะบางที่ขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ให้มีโอกาสเข้าถึงการใช้จ่าย

ที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการและความจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภทในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพิ่มการบริโภคและกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ โดยรัฐจะสนับสนุนเงินจำนวน 10,000 บาทต่อคน ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

(1) ช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการที่ได้รับข้อมูลจาก อปท. กทม. และเมืองพัทยา (2) บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของคนพิการ (กรณีไม่ปรากฏข้อมูลช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการตามข้อ (1) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวนประมาณ 2.15 ล้านราย ประกอบด้วย

2.1 คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่ยังไม่หมดอายุ ตามฐานข้อมูลของ พก. พม.

2.2 คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่หมดอายุ ตามฐานข้อมูลของ พก. พม. และไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งจะต้องต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และ พก. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ จึงจะได้รับสิทธิ

2.3 คนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูลของ พก. พม. แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา และไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งจะต้องทำบัตรประจำตัวคนพิการ ภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และ พก. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ จึงจะได้รับสิทธิ

2.4 คนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูลของ พก. พม. แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและไม่ได้ยืนยันตัวตน (e-KYC) ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ตามฐานข้อมูลโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะต้องทำบัตรประจำตัวคนพิการภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และ พก. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ จึงจะได้รับสิทธิ

 

กลุ่มเปราะบาง รับเงินดิจิทัล เงินสด 10,000 บาท ไม่ต้องลงทะเบียนแอปทางรัฐ

เฟสแรก แบ่งเป็นผู้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐและผู้พิการ (กลุ่มเปราะบางจำนวน 14.5 ล้านคน และ คนพิการ 2.1 ล้านคน)   เริ่มโอนตั้งแต่วันที่ 25-30 ก.ย.2567 เป็นการโอนเงินเข้าสู่ระบบพร้อมเพย์ที่เชื่อมเลขบัตรประชาชน โดยแบ่งโอนเฉลี่ยวันละ 4-5 ล้านคน ดังนี้

  • วันที่ 25 กันยายน 2567 โอนเข้าบัญชีผู้พิการ 2.1 ล้านคน
  • วันที่ 25 กันยายน 2567 ผู้ถือสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เลขหลังบัตรประชาชน 0
  • วันที่ 26 กัยายน 2567 ผู้ถือสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เลขหลังบัตรประชาชน 1, 2, 3
  • วันที่ 27 กัยายน 2567 ผู้ถือสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เลขหลังบัตรประชาชน 4, 5, 6, 7
  • วันที่ 30 กันยายน 2567 ผู้ถือสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เลขหลังบัตรประชาชน 8, 9

หมายเหตุ: คนพิการ หมายถึง ผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ

ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หมายถึง ผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

วิธีตรวจสอบสิทธิรับเงิน 10,000 กลุ่มเปราะบาง-กลุ่มผู้พิการ ช่องทางไหนบ้าง

คุณสมบัติ ผู้ได้รับเงินสด 10,000บาท กลุ่มเปราะบาง ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 12.4 ล้านคน 

 

  • อายุ 18 ปีขึ้นไป
  • รายได้ต่อปีของบุคคลและรายได้เฉลี่ยของครอบครัวไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคนต่อปี รวมถึงทรัพย์สินทางการเงิน อย่าง เงินฝาก สลาก พันธบัตร และตราสารหนี้ของภาครัฐ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคนต่อปีด้วยเช่นเดียวกัน
  • ไม่มีวงเงินกู้ หรือมีวงเงินกู้บ้าน ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และวงเงินกู้รถไม่เกิน 1 ล้านบาท
  • ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิ์แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
  • กรณีไม่มีครอบครัว ห้องชุดต้องไม่เกิน 35 ตร.ม. และที่ดินที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรไม่เกิน 1 ไร่ และใช้ในการเกษตร ไม่เกิน 10 ไร่ และมีบ้านพร้อมที่ดิน บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว ไม่เกิน 25 ตร.ว. และรวมกันหมดแล้วพื้นที่การเกษตรไม่เกิน 10 ไร่
  • ส่วนผู้ถือบัตรรับเงินคนพิการ คุณสมบัติ ไม่จำกัดว่าจะอายุเท่าไร ถ้าถือบัตรผู้พิการ ได้รับเงิน 10,000 บาททุกคน

 

วิธีตรวจสอบสิทธิรับเงิน 10,000 บาท "กลุ่มเปราะบาง" และ "กลุ่มผู้พิการ"

ช่องทางหลักในการตรวจสอบสิทธิและผลการได้รับเงินในโครงการ โดยสามารถตรวจสอบสิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นต้นไป

1. เว็บไซต์ govwelfare.cgd.go.th/welfare/home

2. เว็บไซต์ https://govwelfare.cgd.go.th

3. เว็บไซต์ https://govwelfare.dep.go.th/check (เฉพาะคนพิการ)

4. แอปพลิเคชัน "รัฐจ่าย" (โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง)

5. ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติ โทร. 0 2109 2345 กด 1 กด 5 ทุกวัน

ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์ 24 ชั่วโมง

วิธีตรวจสอบสิทธิรับเงิน 10,000 กลุ่มเปราะบาง-กลุ่มผู้พิการ ช่องทางไหนบ้าง

ช่องทางติดต่อสอบถามเพิ่มเติม แยกตามบัตร 2ประเภท

1. คนพิการ

1.1 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม พม. โทรศัพท์สายด่วน (Call Center) 1300

1.2 พก. โทร. 0 2354 3388 ต่อ 701 - 702 (หน่วยงานออกบัตรประจำตัวคนพิการ)

1.3 ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น. - 16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบสถานที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ของศูนย์บริการคนพิการแต่ละแห่งได้ทางเว็บไซต์ www.dep.go.th/th/contact-us/dsc-contactcenter

1.4 อปท. กทม. หรือเมืองพัทยา ที่คนพิการรับเงินเบี้ยความพิการ ตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น. - 16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

2. ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

2.1 ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โทร. 0 2109 2345 ตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น. - 17.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

2.2 Call Center กรมบัญชีกลาง โทร. 0 2270 6400 ตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น. - 16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์