- 21 ก.ย. 2567
หมอหมู รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี ได้ออกมาเปิดผลเสีย ของการกินยาพาราอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลายคนไม่เคยรู้มาก่อน
ใครที่กินยาพารามาก ๆ ต้องอ่าน เมื่อล่าสุด หมอหมู รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ระบุว่า
เตือน! ทานพาราเซต ต่อเนื่อง เสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
การรับประทานยาพาราเซตามอลเป็นประจำอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์
ก่อนหน้านี้มีการสันนิษฐานว่าพาราเซตามอลเป็นยาที่ปลอดภัยอย่างสมบูรณ์สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต สูง จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้
จากการศึกษาในปี 2022 พบว่าการใช้ยาพาราเซตามอลในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้
นักวิจัยกล่าวว่าผลกระทบต่อความดันโลหิตคล้ายคลึงกับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน
ส่วนหนึ่งของการศึกษาที่ดำเนินการโดยทีมงานจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ในผู้ป่วย 110 ราย ที่มีประวัติความดันโลหิตสูง โดยได้รับยาพาราเซตามอล 1 กรัม (500 มิลลิกรัม 2 เม็ด) 4 ครั้งต่อวัน (4 กรัมต่อวัน (500 มิลลิกรัม 8 เม็ดต่อวัน)) หรือ ให้ยาหลอกที่เข้าคู่กัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์
กลุ่มที่ได้รับยาพาราเซตามอลพบว่า มีความดันโลหิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก
การเพิ่มขึ้นนี้คล้ายคลึงกับที่พบในยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และอาจคาดว่าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองประมาณร้อยละ 20
สรุป การได้รับยาพาราเซตามอลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จะเพิ่มความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และเมื่อหยุดรับประทานยา ความดันโลหิตก็จะกลับคืนสู่ระดับเดิม
ผู้ที่ใช้ยาพาราเซตามอลเป็นครั้งคราวไม่ต้องกังวลนะครับ การใช้ยาพาราเซตามอลในระยะสั้นเพื่อรักษาอาการปวดหัวหรือมีไข้ อันนี้ไม่มีผลกระทบครับ