สาวรีวิว Flood Gate กำแพงป้องกันน้ำท่วม พร้อมงบลงทุนที่เสียไป

สาวรีวิว Flood Gate กำแพงป้องกันน้ำท่วม ยอมลงทุนหลักหมื่น เพื่อปกป้องทรัพย์สินหลักแสนและสุขภาพจิตในทุกๆปี

ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ นัฐจิรา ถุงแป้ง ยิ่งยง โพสต์แชร์ประสบการณ์ ใช้ Flood Gate กำแพงกันน้ำท่วมแบบเดียวกับ โรงแรมแชงกรีล่าเชียงใหม่ ลงทุนครั้งเดียวสุดคุ้ม โดยข้อความระบุว่า "รูปเมื่อ2ปีก่อน ตอนนั้นก็คิดหาวิธีทำอย่างไรไม่ให้น้ำท่วมเข้าบ้านเหมือนกัน สุดท้ายก็ยอมจบที่ flood gate เหมือนกับโรงแรมดังเชียงใหม่ที่เป็นข่าวอยู่ อยากจะบอกว่าลงทุนครั้งเดียวไม่ต้องหลอนทุกหน้าฝนอีกยาวๆไป

 

และสิ่งที่ต้องเตรียมรับมือมากกว่านั้น คือเตรียมไดโว่สูบน้ำพร้อมสายยางแบบผ้าใบไว้ซัก2ตัวและเครื่องปั่นไฟแบบใช้น้ำมัน4500W เพื่อรองรับการตัดไฟจากทางการไฟฟ้า และทำจุดเบรคเกอร์เสริมคล้ายๆATSเพื่อต่อไฟจากเครื่องปั่นไฟไปจ่ายเข้าบ้านแทนการไฟฟ้า และปรับปรุงระบบน้ำประปาให้มีหัวต่อสายยางน้ำเข้าจากไดโว่เพื่อสูบน้ำที่ท่วมเข้ามาผ่านระบบกรองน้ำใช้ที่มีอยู่แล้วให้สะอาดและทำการจ่ายน้ำเข้าถังพัก2000ลิตรในตัวบ้าน เพื่อไว้ใช้ตอนที่ประปาถูกน้ำท่วม 

 

สาวรีวิว Flood Gate กำแพงป้องกันน้ำท่วม พร้อมงบลงทุนที่เสียไป

 

จะบอกว่าการเตรียมพร้อมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เร็วๆนี้วางแผนจะติดโซล่าเซลล์แบบ Hybrid On/Off 10kw พร้อม แบตอีก 300Ah ทีนี้น้ำท่วมซัก2เมตรก็มาเถอะฮะ พร้อมบวก... ไฟที่เหลือก็เอามาคั่วกาแฟกับเครื่องM10ต่อสบายๆ"


ทั้งนี้ เมื่อโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเรื่องน้ำย้อนว่า ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่อะไรกั้นหน้าบ้านครับ(น้ำท่วมถึงเข่ากระสอบทราย+ผ้าใบก็เอาอยู่ครับ) ประเด็นมันอยู่ที่ทำยังไงไม่ให้น้ำย้อนกลับมาทางท่อระบายน้ำ อันนี้คือเรื่องสำคัญกว่า อยากให้อธิบายเรื่องนี้มากกว่า เพราะการจัดการน้ำที่ย้อนกลับเข้ามามันไม่สามารถทำตามกันได้ง่ายเนื่องจากต้องทำตั้งแต่เริ่มสร้างบ้าน มันเป็นระบบภายใน แน่นอนว่าถ้าเป็นบ้านโครงการคือหมดสิทธิ์ หลายบ้านผนึกหน้าบ้านมิดชิด แต่มาแพ้ภัยจากภายในนั่นคือน้ำดัน สูบออกยังไงก็ไม่ทัน เดินเครื่องสูบจนท้อ แถมไดโว่เองก็มีเวลาจำกัดในการใช้งาน

 

สาวรีวิว Flood Gate กำแพงป้องกันน้ำท่วม พร้อมงบลงทุนที่เสียไป

โดยเจ้าของโพสต์ได้เข้ามาตอบในประเด็นนี้ว่า  ตอนที่น้ำท่วมเมื่อ3ปีก่อน เรื่องของน้ำย้อนไม่ค่อยเป็นประเด็นมากนักสำหรับบ้านเรา เพราะท่อระบายน้ำที่ไปเชื่อมต่อกับท่อระบายน้ำด้านนอกได้ทำจุดพักเอาไว้ตอนสร้างบ้านตั้งแต่แรก วิธีแก้แค่เอากระสอบทรายยัดลงไปที่จุดพักท่อระบายน้ำออก2ลูก คืออยู่หมัดเลย น้ำได้แค่ซึมๆมานิดหน่อย ซึ่งไดโว่ก็เอาอยู่สบายๆ ส่วนท่อระบายตามจุดในห้องน้ำ ห้องซักล้าง ก็เอาฟองน้ำใส่ถุงพลาสติดไปยัดไว้แล้วผูกกับเชือกเอาไว้ดึงตอนเราเลิกใช้แล้ว น้ำที่เข้าท่อในระบบมามีแรงดันที่ต่ำมาก เพราะมันต้องผ่านถังบำบัดทั้งหมด เราใช้ทฤษฎีที่เรียกว่า น้ำเข้า = น้ำออก ถ้าเราจัดการน้ำระบบออกให้เท่ากับน้ำที่เข้ามาได้ มันก็ไม่ท่วม และ ต้องทำbuffer สำหรับพักน้ำ ซึ่งเราใช้ห้องเก็บของใต้ดินเป็นที่พักน้ำได้ น้ำมันจึงไม่ได้ขึ้นอย่างรวดเร็วในทันที ยังพอมีเวลาให้เตรียมตัวให้ตั้งสติ ทุกอย่างมันเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ถูกน้ำท่วมมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งคนอื่นออกจากบ้านกันหมด เหลือแค่เราคนเดียวทั้งหมูบ้าน ที่อยากจะเรียนรู้ธรรมชาติของน้ำ และการเอาชนะมัน เรียนรู้น้ำมาจากไหนทางไหน ไวแค่ไหน รั่วซึมจากจุดไหนบ้าง 

 


คำตอบที่ได้ก็คือประตูหน้าบ้านที่ไม่สามารถชะลอน้ำได้ มันจึงทำให้เราจัดการกับน้ำออกได้ไม่เร็วเท่าน้ำเข้ามา หลังจากเหตุการณ์ได้กลับมาปกติ เราจึงจบปัญหาด้วยการหาflood gate มาติด เพื่อให้ชะลอการน้ำเข้าให้ช้าที่สุด ซึ่งตอนที่ติดตั้งตอนแรกก็ต้องมาปรับเสาและพื้นให้เสมอกันก่อนเพื่อไม่ให้มีช่องน้ำรอดเข้ามาได้ ประตูกั้นน้ำเท่าที่ลองติดตั้งและทดสอบเบื้องต้น มันสามารถกันได้แทบจะ100%เลยได้ เพราะเค้าออกแบบมากันกันได้จริงและแข็งแรงสามารถทนแรงดันน้ำได้สบายๆ และประตูของเราไม่ได้ยาวมากแค่บานละ3เมตรจำนวน2บาน และไม่ได้อยู่ในตำแหน่งขวางทางน้ำด้วย มันจึงไม่มีแรงดันอะไรมากกัน หลายคนมาเม้นว่าต้องรวยเท่านั้นถึงจะทำได้ อันนี้ขอเถียงเพราะเราลงไปแค่หลักหมื่นเพื่อปกป้องทรัพย์สินหลักแสน เราถือว่าคุ้ม ยังไม่รวมสุขภาพจิตที่จะเสียอีกในทุกๆปีที่เริ่มเข้าเดือนกันยา-ตุลาคม ด้วยนะ 

 

สาวรีวิว Flood Gate กำแพงป้องกันน้ำท่วม พร้อมงบลงทุนที่เสียไป