- 09 ต.ค. 2567
กรมชลประทาน แจงชัดเจน เรื่องสาเหตุที่เมืองเชียงใหม่ระบายน้ำได้ช้า เกิดจากประตูระบายน้ำดอยน้อยเสีย เป็นเรื่องจริงหรือไม่
ว่อน สาเหตุที่เมืองเชียงใหม่ระบายน้ำได้ช้า เกิดจากประตูระบายน้ำดอยน้อยเสียนั้น ล่าสุด กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า
จังหวัดเชียงใหม่ได้รับอิทธิพลจากพายุ “ซูลิค” ในช่วงต้นเดือนและปลายเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา ทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำปิง ก่อนปริมาณน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำปิงตอนล่างผ่านฝายดอยน้อย ซึ่งได้ยกบานประตูน้ำ เพื่อเร่งระบายลงสู่พื้นที่ตอนล่างไปลงเขื่อนภูมิพลตามลำดับ ต่อมาพบว่า มีท่อนซุงเข้ามาชนสายสลิงที่ อยู่ด้านหน้าบานระบายของฝายดอยน้อย ทำให้สลิงขาด โครงการชลประทานเชียงใหม่ได้เร่งเข้าไปแก้ไขด้วยการนำสลิงที่ขาดมาเกี่ยวกับหูบานด้านหลังของประตูระบายน้ำ เพื่อให้บานระบายสามารถยกขึ้นได้ โดยสลิงที่ขาดมีจำนวน 5 บาน ที่สามารถยกบานขึ้นได้ที่ 2.5 – 3 เมตร ส่วนบานประตูที่สลิงไม่ขาดสามสำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสลิงขาดนั้น ยังสามารถระบายน้ำได้ ปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงยังเคลื่อนที่ผ่านได้เท่าเดิม ศูนย์วิเคราะห์สถานการณ์น้ำ สำนักงานชลประทานที่ 1 คาดการณ์ว่า ปริมาณน้ำด้านหน้าฝายจะยกตัวสูงขึ้นกว่าปกติประมาณ 80 เซนติเมตร ทำให้น้ำเอ่อล้นคันด้านหน้าของฝายเข้าไปในพื้นที่บ้านท่าไม้ ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีพื้นที่การเกษตรบางส่วนได้รับผลกระทบ ก่อนที่น้ำล้นคันนี้จะไหลลงสู่ทางผันน้ำเดิมและขณะนี้ได้ไหลกลับลงสู่แม่น้ำปิงตามปกติแล้ว ส่วนคันกั้นน้ำที่ได้รับความเสียหายบางส่วน จะได้เร่งหาแนวทางในการซ่อมแซมเพื่อให้ใช้งานได้โดยเร็วต่อไปารถยกขึ้นได้สูงสุดที่ 6 เมตร
ทั้งนี้ ด้านเหนือของฝายดอยน้อย จะมีฝายหนองสลีกอยู่ห่างขึ้นไปประมาณ 15 กิโลเมตร พบว่า ระดับน้ำที่ยกตัวด้านเหนือของฝายดอยน้อยก็ยังย้อนไปไม่ถึงด้านท้ายของฝายหนองสลีก เท่ากับว่า ปริมาณน้ำดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบย้อนขึ้นไปถึงอำเภอหางดง สันป่าตอง รวมถึงในเขตเมืองของจังหวัดลำพูนแต่อย่างใด มีเพียงจุดที่ได้รับผลกระทบน้ำล้นตลิ่งที่บริเวณเหนือฝายดอยน้อย เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 67 ที่ผ่านมาเท่านั้น และประตูระบายน้ำของฝายดอยน้อยยังยกขึ้นลงได้ ไม่มีผลต่อการระบายน้ำ ส่วนเรื่องขยะ เศษสวะ กิ่งไม้ที่มาติดที่ฝายดอยน้อยขณะนี้ มีผลกระทบน้อย แต่หากมาติดที่ด้านหน้าฝาย ก็จะทำให้การยกตัวของน้ำเพิ่มสูงขึ้นไปอีก