- 23 ต.ค. 2567
หมอธีระ นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยข้อมูล Long COVID ที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้
หมอธีระ นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า Long COVID ปัญหาระดับโลกที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชากร
วารสารการแพทย์ BMJ Global Health วันที่ 21 ตุลาคม 2024 เผยแพร่ผลการศึกษาใน 17 ประเทศทั่วโลก 4 ทวีป ทั้งเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาใต้
ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วต่อมาเกิดภาวะผิดปกติเรื้อรังระยะยาวในระบบต่างๆ ของร่างกาย หรือที่เรียกว่า Long COVID นั้น มีกระจายอยู่ทั่วโลก
โดยส่งผลกระทบต่อสมรรถนะในการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง
เพศหญิงเสี่ยงกว่าเพศชาย
คนที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคปอดเรื้อรัง เบาหวาน ก็จะเสี่ยงต่อการเกิด Long COVID มากกว่าคนทั่วไป
คนที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วป่วยรุนแรง ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิด Long COVID มากกว่าคนที่ป่วยอาการน้อยหรือไม่มีอาการ
ทั่วโลกจำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการรับมือกับปัญหา Long COVID และดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบในระยะยาว
การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การได้รับวัคซีนครบตามที่กำหนด และมีความใส่ใจสุขภาพ มีพฤติกรรมป้องกันตัวระหว่างใช่ชีวิตประจำวัน
อ้างอิง
Long Covid: a global health issue – a prospective, cohort study set in four continents. BMJ Global Health. 21 October 2024.