ราชกิจจาฯประกาศ กำหนดความผิดร้ายแรงบนเครื่องบินระหว่างบิน

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกฎกระทรวง กำหนดความผิดร้ายแรงในอากาศยานในระหว่างการบิน พ.ศ. ๒๕๖๗ และ กำหนดเจ้าหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยาน

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ออกประกาศกฎกระทรวง กำหนดความผิดร้ายแรงในอากาศยานในระหว่างการบิน พ.ศ. ๒๕๖๗ และอีกฉบับ ประกาศเรื่องกำหนดเจ้าหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยาน พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

ราชกิจจาฯประกาศ กำหนดความผิดร้ายแรงบนเครื่องบินระหว่างบิน

ราชกิจจาฯประกาศ กำหนดความผิดร้ายแรงบนเครื่องบินระหว่างบิน

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๐ (๒) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ให้ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปเป็นความผิดร้ายแรงในอากาศยานในระหว่างการบิน

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๗

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๐ (๒) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้การกำหนดความผิดร้ายแรงในอากาศยานในระหว่างการบิน เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
 

ราชกิจจาฯประกาศ กำหนดความผิดร้ายแรงบนเครื่องบินระหว่างบิน

 

ราชกิจจาฯประกาศ กำหนดความผิดร้ายแรงบนเครื่องบินระหว่างบิน

ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ กฎกระทรวง กำหนดเจ้าหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยาน พ.ศ. ๒๕๖๗

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๘ วรรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ เจ้าหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยานต้อง

(๑) เป็นข้าราชการทหารหรือข้าราชการตำรวจซึ่งมีอายุไม่เกินห้าสิบปี
(๒) มีทักษะทางสังคมและการสื่อสารที่ดีมาก
(๓) มีความสามารถในการจัดการกับความเครียด
(๔) มีความจำและจดจ่อต่อการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
(๕) มีความสามารถในการปฏิบัติงานโดยลำพังและปฏิบัติงานเป็นทีม
(๖) มีความมั่นใจและมีความสามารถที่จะปฏิบัติงานใต้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๗) มีบุคลิกภาพที่ดีและมีการแสดงออกที่เหมาะสม
(๘) มีทักษะในการจัดการภายใต้สถานการณ์ที่อันตราย
(๙) ไม่เป็นผู้มีประวัติเกี่ยวข้องกับการใช้สารเศพดหรือสารอกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
(๑๐) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายการทดสอบตาม (๒) ถึง (๘) ให้เป็นไปตามวิธีการที่ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือน
แห่งประเทศไทยกำหนด

ข้อ ๒ เจ้าหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยานต้องผ่านการตรวจสอบ ทดสอบและการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้

(๑) ผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขการตรวจสอบประวัติตามเอกสารแนะนำว่าด้วยการตรวจสอบประวัติการรักษาความปลอดภัยที่ผู้อำนวยการสำนักงาน การบินพลเรือนแห่งประเทศไทยกำหนด

(๒) ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรเจ้าหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยานจากหน่วยงานของรัฐที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสำหรับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้รักษาความปลอดภัยในอากาศยาน

(๓) ผ่านการทดสอบความรู้ทั่วไปและความรู้ทางเทคนิค ตามวิธีการที่ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยกำหนด

 

ราชกิจจาฯประกาศ กำหนดความผิดร้ายแรงบนเครื่องบินระหว่างบิน

 

ราชกิจจาฯประกาศ กำหนดความผิดร้ายแรงบนเครื่องบินระหว่างบิน

 

ราชกิจจาฯประกาศ กำหนดความผิดร้ายแรงบนเครื่องบินระหว่างบิน

 

ราชกิจจาฯประกาศ กำหนดความผิดร้ายแรงบนเครื่องบินระหว่างบิน