- 03 ธ.ค. 2567
เปิดประวัติความเป็นมา ความสำคัญของพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ครั้งแรกในรัชสมัย ร.10
พิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พระลานพระราชวังดุสิต 3 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป โดย รัฐบาล ชวนคนไทยชมพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ ขอเชิญชวนพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์
สำหรับพิธีสวนสนามวันนี้ และถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ฯ ถือเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของรัชกาลที่ 10 โดยจัดขึ้นอย่างสมพระเกียรติ แสดงถึงความจงรักภักดีของทหารทุกเหล่าทัพ โดยจะมีการแสดงยิ่งใหญ่จาก 3 เหล่าทัพ ประกอบด้วย
1.กองทัพบก จะจัดแสดงไหว้ครูมวยไทย กับแม่ไม้มวยไทย
2.กองทัพเรือ จะจัดแสดงอาวุธประกอบดนตรีหรือ fancy drill
3.กองทัพอากาศ จะจัดการแสดง” ดรัมซีท “เป็นการต่อสู้ของนักรบไทยประกอบดนตรีโบราณ เช่นกลองสะบัดชัย ประกอบเครื่องดนตรีสมัยใหม่ ก่อนจะเข้าสู่พิธีสวนสนามฯ
- ประวัติความเป็นมาพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ของประเทศไทย
พิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ของประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและมีความสำคัญอย่างยิ่งในวัฒนธรรมและประเพณีของชาติไทย พิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และสะท้อนถึงความพร้อมและความเป็นระเบียบวินัยของกองทัพไทย
- ในยุคแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ กองทัพไทยมีลักษณะเป็นกองทัพที่ประกอบด้วยทหารจากหน่วยงานต่างๆ ที่รวมตัวกันเมื่อมีสงครามหรือเหตุการณ์สำคัญ ไม่มีพิธีสวนสนามในลักษณะที่เป็นระเบียบเหมือนในปัจจุบัน
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
ทรงมีพระราชดำริในการปรับปรุงกองทัพไทยให้มีความทันสมัยและเป็นสากล โดยได้รับอิทธิพลจากกองทัพของประเทศในยุโรป ในช่วงนี้ได้มีการจัดตั้งหน่วยทหารรักษาพระองค์และเริ่มมีการฝึกสวนสนามแบบสากล
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในเรื่องกองทัพทรงตั้งสภาป้องกันพระราชอาณาจักร กระทรวงทหารเรือ ทรงตั้งกองบินกองทัพบก (ปัจจุบัน คือ กองทัพอากาศ) และทรงสร้างเรือรบและจัดหายุทโธปกรณ์อันทันสมัยมาใช้ รวมถึงการพัฒนาให้ทหารทุกเหล่าทัพมีความเป็นระเบียบ มีวินัยและสง่างามมากขึ้น
• พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณตนเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยทหารบก ทหารรักษาวัง และทหารเรือซึ่งประจำการอยู่ในกรุงเทพมหานคร กระทำสัตย์สาบานตนต่อธงชัยเฉลิมพลร่วมกันหน้าพระที่นั่ง ณ พระลานพระราชวังดุสิต ภายหลังจึงได้จัดพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นประจำทุกปีในห้วงเดือนตุลาคมจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๔
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
เสด็จฯ ออกรับการตรวจพลสวนสนามของกองกำลังทหารอังกฤษและอินเดีย แห่งฝ่ายสัมพันธมิตร พร้อมด้วย พลเรือตรีลอร์ด หลุยซ์ เมาท์แบตเตน (Lord Louis Mountbatten) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคตะวันออกไกล (แม่ทัพใหญ่แห่งฝ่ายสัมพันธมิตร) ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถ่ายโดยช่างภาพฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๔๘๙ ณ ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพฯ
- พระบาทสมเด็จพระบรนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙)
ทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการสวนสนามและการถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ โดยมีการจัดพิธีนี้ในหลายโอกาสสำคัญ เช่น
1.วันเฉลิมพระชนมพรรษาในทุกปี วันที่ ๕ ธันวาคม จะมีการจัดพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติ
2. วันกองทัพไทย เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ทหารรักษาพระองค์ได้แสดงความพร้อมและความมีระเบียบวินัย
3. โอกาสพิเศษอื่น ๆ เช่น พิธีเฉลิมฉลองในโอกาสสำคัญต่างๆ ของชาติไทย ทหารรักษาพระองค์จะเข้าร่วมพิธีเหล่านี้เพื่อแสดงความจงรักภักดีและการสืบสานประเพณี
• พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงสืบสานและสนับสนุนการจัดพิธีสวนสนามและการถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์อย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดพิธีในโอกาสสำคัญต่างๆ
โดยในปี 2567 กองทัพไทย ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดพิธี ด้วยเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท อีกทั้งยังแสดงถึงความเข้มแข็ง สง่างาม และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทหารรักษาพระองค์ ในวันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2567 ณ พระลานพระราชวังดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ในรัชกาลปัจจุบัน การจัดพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตน ของทหารรักษาพระองค์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กองทัพไทย ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดพิธี ด้วยเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
อีกทั้งยังแสดงถึงความเข้มแข็ง สง่างาม และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทหารรักษาพระองค์ โดยมี พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นองค์ผู้บัญชาการกองผสม และ พลโทหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เป็นองค์ผู้บังคับกองพันทหารม้ารักษาพระองค์ ซึ่งเป็นการสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ครั้งแรกในรัชกาล
- ความสำคัญของพิธีสวนสนามและการถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์
1.การแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขของประเทศและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนไทย
2.ส่งเสริมการสร้างความสามัคคีที่ทหารจากหน่วยต่าง ๆ จะได้มาร่วมกันแสดงความพร้อมและความสามัคคี เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกองทัพไทย
3. ส่งเสริมวินัยและความพร้อม แสดงความมีระเบียบวินัยและการฝึกฝนอย่างเข้มงวด ซึ่งเป็นการส่งเสริมความพร้อมและความสามารถของทหารในการปฏิบัติหน้าที่
4.สร้างแรงบันดาลใจ ให้กับเยาวชนและประชาชนในการรักษาความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อสังคมและประเทศชาติ
5. เสริมสร้างภาพลักษณ์ของกองทัพ การแสดงความสามารถและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของกองทัพไทยให้เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือในสายตาของประชาชนและนานาชาติ