เปิดหลักเกณฑ์  “เรียกค่าทำขวัญ” หากถูกรถชน หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน

ถูกรถเฉี่ยวชน “เรียกค่าทำขวัญ” ได้ไหม? ปัจจุบันใช้คำว่า “ค่าสินไหมทดแทน” แทน “ค่าทำขวัญ” ตอบชัด ต้องทำอะไร ยังไงบ้าง

ถูกรถเฉี่ยวชน เรียกค่าทำขวัญ” ได้ไหม? ล่าสุดนั้น "หมอหมูรศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี ได้ออกมาโพสต์ข้อความเกี่ยวกับข้อกฎหมายในเรื่องดังกล่าว ว่า 

อุบัติเหตุถูกรถเฉี่ยวชน เรียก “ค่าทำขวัญ” ได้ไหม?

ในอดีตใช้คำว่า “ค่าทำขวัญ” ในอุบัติเหตุจราจร เนื่องจากรถโดยส่วนใหญ่ไม่มีประกันฯ และ พ.ร.บ. เมื่อเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นเรื่องของการตกลงค่าเสียหายกันเองของคู่กรณี โดยไม่มีหลักเกณฑ์ในการจ่าย

ปัจจุบันใช้คำว่า “ค่าสินไหมทดแทน” แทน “ค่าทำขวัญ” เนื่องจากรถโดยส่วนใหญ่มีประกันฯ และ พ.ร.บ. เมื่อเกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นเรื่องของการตกลงค่าเสียหายกับบริษัทประกันฯ โดยมีหลักเกณฑ์ในการจ่าย ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายให้ตามจริง รวมตั้งแต่ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายทางทรัพย์สิน ค่าขาดผลประโยชน์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

แพทย์ออกใบรับรองแพทย์ให้หยุดงาน สามารถนำไปใช้เรียกร้อง “ค่าสินไหมทดแทน” กรณีที่ไม่ได้ไปทำงานจนขาดรายได้ ได้หรือไม่?

ในกรณีที่แพทย์ผู้ทำการรักษา หรือแพทย์นิติเวช ออกใบรับรองแพทย์ที่ระบุรายละเอียดการบาดเจ็บชัดเจน รวมถึงวิธีการรักษา และวันหยุดพักรักษาตัว สามารถนำไปใช้ในยื่น “ค่าสินไหมทดแทนกรณีไม่ได้ทำงาน” ได้ ซึ่งบริษัทประกันฯ หรือคู่กรณี จะจ่ายให้ตามหลักฐานจริง ว่ามีรายได้เท่าไหร่ต่อวัน ต่อเดือน แต่หากไม่มีหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับรายได้ (ไม่มีสลิปเงินเดือน) อาจจ่ายโดยยึดตามค่าแรงขั้นต่ำรายวัน

รถรอซ่อม ไม่มีรถไปทำงาน สามารถเรียกร้อง “ค่าสินไหมทดแทน” กรณีที่ไม่มียานพาหนะใช้ในการทำงานจนขาดรายได้ ได้หรือไม่?

ได้ครับ โดยต้องมีหลักฐานรายละเอียดเกี่ยวกับการซ่อมที่ชัดเจนประกอบ ซึ่งสามารถเรียกร้อง “ค่าสินไหมทดแทน” กรณีที่ไม่มียานพาหนะใช้ในการทำงานจนขาดรายได้ ได้ดังนี้

1. รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง รวมคนขับ เคลมได้อย่างน้อย 500 บาท / จำนวนวันที่รถซ่อม

2. รถยนต์รับจ้างสาธารณะ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง รวมคนขับ เคลมได้อย่างน้อย 700 บาท / จำนวนวันที่รถซ่อม

3. รถขนาดมากกว่า 7 ที่นั่ง เคลมได้อย่างน้อยวันละ 1,000 บาท / จำนวนวันที่รถซ่อม

4. รถประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ข้อ 1-3 เช่น รถจักรยานยนต์ ให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องและข้อตกลงกันได้ โดยพิจารณาหลักฐานเป็นกรณี

รู้สึกผิดและอยากชดใช้ค่าทำขวัญ สามารถจ่ายเลยได้ไหม?

สามารถจ่ายได้เลย แต่จะจ่ายให้ในรูปแบบของค่าเสียหายตามกรมธรรม์ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่ายานพาหนะเสียหาย ด้วยการส่งไม้ต่อให้เจ้าหน้าที่ประกันไกล่เกลี่ยได้ทันที เว้นแต่ว่าไม่มีประกันภัยรถยนต์ / ประกันขาด ในส่วนนี้จะต้องไปทำการไกล่เกลี่ยต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือขึ้นโรงขึ้นศาลแทน เพื่อชดเชยค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนกันในลำดับถัดไป

คุณ “ต้อง” มีใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะอย่างถูกต้อง จึงจะสามารถเรียกค่าสินไหมจากคู่กรณีได้ นะครับ

เรียบเรียงโดย: รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี

เปิดหลักเกณฑ์  “เรียกค่าทำขวัญ” หากถูกรถชน หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน