นาทีคนไทยพลัดตกตึก 18 ชั้นที่ปอยเปต คาดถูกหลอกไปทำแก๊งคอลเซ็นเตอร์

นาทีคนไทยพลัดตกตึก 18 ชั้นที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา วงจรปิดจับภาพเหมือนวิ่งหนีใครมา คาดถูกหลอกไปทำแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 

คนไทยที่ไปทำงานในปอยเปต ประเทศกัมพูชา อาจต้องเผชิญความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิต หลังมีเหตุการณ์คนไทยเสียชีวิตในปอยเปตซ้ำแล้วซ้ำเล่า กรณีล่าสุดเพจ Drama-addict ได้โพสต์ข้อความพร้อมคลิปแจ้งข่าวเศร้า นาทีคนไทยพลัดตกตึก 18 ชั้นที่ปอยเปต คาดถูกหลอกไปทำแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 


นาทีคนไทยพลัดตกตึก 18 ชั้นที่ปอยเปต คาดถูกหลอกไปทำแก๊งคอลเซ็นเตอร์

โดยระบุว่า คนไทย ตกตึกตาย ที่ตึก18ชั้นที่ปอยเปตอีกแล้ว ตึกนี้มีข่าวว่าเป็นที่ตั้งแก๊งค์คอล มีคนไทยถูกหลอกไปทำงาน และตกตึกตายที่นี่ไม่หยุดเลย

นาทีคนไทยพลัดตกตึก 18 ชั้นที่ปอยเปต คาดถูกหลอกไปทำแก๊งคอลเซ็นเตอร์

โดยเผยคลิป CCTV ที่เห็นตอนคนไทยร่วงลงจากตึก 18 ชั้นที่ปอยเปต ลักษณะเหมือนผู้ตายวิ่งหนีใครมาแล้วพลัดร่วงหรือถูกโยนลงมา
ตึกนี้เป็นที่ตั้งของคาสิโน และแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ มีคนไทยถูกหลอกไปทำงานที่นี่เยอะมาก และมีข่าวคนไทยตกตึกตายที่นี่ไม่ยั้ง เป็นสิบๆคนแล้ว

นาทีคนไทยพลัดตกตึก 18 ชั้นที่ปอยเปต คาดถูกหลอกไปทำแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ตึก 18 ชั้นที่ลงคลิปซักครู่ว่ามีคนไทยน่าจะถูกแก๊งค์คอลจับโยนลงมา เป็นตึกแฝดกับตึก 25 ชั้น ที่พ่อนายกพูดถึงวันก่อน ในภาพ  ตึก 25 ชั้น ซ้าย
ตึก 18 ชั้น ขวา ทั้งสองตึก คือฐานบัญชาการใหญ่สุดๆของขบวนการแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ พนันออนไลน์ ค้ามนุษย์ ต้มตุ๋น ยาเสพติด บลาๆๆ เรื่องชั่วช้าทั้งหมดทั้งมมวลอยู่ในสองตึกนี้

นาทีคนไทยพลัดตกตึก 18 ชั้นที่ปอยเปต คาดถูกหลอกไปทำแก๊งคอลเซ็นเตอร์
 

ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่นาน ตำรวจไซเบอร์ – บช.สอท.ก็ได้โพสต์เตือนประชาชน ไว้ว่า
 
 อย่าหลงกล..ตำรวจปลอม สังเกตและป้องกันก่อนตกเป็นเหยื่อ
 
ปัจจุบันมิจฉาชีพใช้ช่องทางออนไลน์หลอกลวงมากขึ้น เช่น การปลอมแปลงเป็นตำรวจ ติดต่อผ่านแอปพลิเคชันไลน์ วิดีโอคอล หรือแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อหลอกลวงเงิน โปรดระมัดระวังทุกครั้งที่มีการติดต่อจากบุคคลที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่
 
 วิธีสังเกตตำรวจปลอม
1.มีพฤติกรรมไม่น่าเชื่อถือ : ตำรวจปลอมจะทำการติดต่อผู้เสียหายผ่านช่องทางแชต ไลน์ หรือทำการวิดีโอคอล ขอข้อมูลส่วนตัว หรือหลอกให้โอนเงิน
2.มีการส่งเอกสารปลอม : ตำรวจปลอมมักจะส่งเอกสารราชการผ่านทางไลน์ เช่น หมายเรียก หมายจับ ข้อมูลการฟอกเงิน
3.เครื่องแบบไม่ถูกต้อง : ควรตรวจสอบเครื่องแบบตำรวจ เช่น เข็มประจำตำแหน่ง, เครื่องหมายยศ หรือการแต่งตัวที่ถูกต้องตามระเบียบ
4.สถานที่ทำงาน : ตำรวจจริงจะปฏิบัติหน้าที่ในสถานีตำรวจหรือในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ไม่ใช่จากสถานที่ส่วนตัวหรือผ่านทางช่องทางออนไลน์
 
 วิธีป้องกัน
1.อย่าให้ข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัตรประชาชน ข้อมูลบัญชีธนาคาร หรือข้อมูลสำคัญใดๆ ผ่านทางโทรศัพท์หรือทางออนไลน์
2.อย่าหลงเชื่อการเรียกรับเงิน ตำรวจจริงไม่มีการเรียกรับเงินผ่านบัญชีส่วนตัว
3.หากมีข้อสงสัยให้ติดต่อสอบถามข้อมูลโดยตรงกับสถานีตำรวจในพื้นที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 
ตำรวจไซเบอร์พึ่งพาได้ ลดภัยอาชญากรรมออนไลน์ สร้างความอุ่นใจให้ประชาชน
  แจ้งความออนไลน์ได้ที่ www.thaipoliceonline.go.th 
 หากมีข้อสงสัย สอบถามได้ที่สายด่วน 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง
 
#ตำรวจไซเบอร์ #เตือนภัยออนไลน์ #ตำรวจปลอม

ขอบคุณเพจ Drama-addict