เฉลยแล้วทำไม "โรคพิษสุนัขบ้า" ถึงพบมากในหน้าร้อน

ทำไมโรคพิษสุนัขบ้าถึงพบมากในหน้าร้อน วันนี้ เรามาเปิด 9 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ที่ได้ยินต่อๆ กันมา

ทำไมโรคพิษสุนัขบ้าถึงพบมากในหน้าร้อน วันนี้เรามาไขข้อข้องใจโดย "อ.เจษฎ์ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า 
"9 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ที่ได้ยินต่อๆ กันมา"

เฉลยแล้วทำไม "โรคพิษสุนัขบ้า" ถึงพบมากในหน้าร้อน เฉลยแล้วทำไม "โรคพิษสุนัขบ้า" ถึงพบมากในหน้าร้อน

ความเชื่อที่1 สุนัขและแมวเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเฉพาะฤดูร้อนเท่านั้น

ความจริง >> โรคพิษสุนัขบ้าเกิดได้ทุกฤดู โรคพิษสุนัขบ้าเกี่ยวข้องระบบประสาท (สมอง) ไม่ใช่เพราะสภาพอากาศ ไม่ใช่เพราะอากาศร้อนทำให้สุนัข (เป็น) บ้า

 

แต่ที่พบมากในหน้าร้อน เพราะฤดูผสมพันธุ์ของสุนัขอยู่ในช่วงพฤศจิกายนถึงมีนาคม ระยะนี้สุนัขตัวผู้มักกัดกัดเพื่อแย่งสุนัขตัวเมีย ถ้าสุนัขตัวใดมีเชื้อพิษสุนัขบ้าก็มีโอกาสถ่ายทอดให้สุนัขตัวอื่น และระยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่รับเชื้อจนถึงแสดงอาการ) ประมาณ 3 เดือน จึงมักแสดงอาการ

ความเชื่อที่2 ลูกสุนัขและลูกแมวไม่มีเชื้อพิษสุนัขบ้า

ความจริง >> โรคพิษสุนัขบ้าเกิดได้ทุกวัย เพียงแต่ไม่ค่อยเจอ เพราะลูกสุนัขและลูกแมวมักถูกเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด ไม่ค่อยเจอสุนัขและแมวตัวอื่นๆ โอกาสติดเชื้อจึงค่อนข้างน้อย แต่โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ต่อให้อยู่บริเวณบ้าน ถ้าโดนหนูกัด โอกาสได้รับเชื้อก็มี

ความเชื่อที่3 สุนัขและแมวเท่านั้นที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้

ความจริง >> โรคพิษสุนัขบ้าเกิดได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หนู กระต่าย กระรอก หมู ม้า วัว ควาย ลิง เสือ สิงโต ลิง

ความเชื่อที่ 4 โดนสุนัขและแมวที่มีอาการปกติกัด ก็ไม่เป็นไร

ความจริง >> สัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้าสามารถแพร่เชื้อในน้ำลายได้ แม้ตัวโรคยังไม่แสดงอาการ หากถูกกัด อย่าชะล่าใจ ต้องไปฉีดวัคซีน

ให้เห็นช่วงหน้าร้อนพอดี

ความเชื่อที่ 5 ฉีดวัคซีนให้สุนัขและแมวแล้ว สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ 100%

ความจริง >> การฉีดวัคซีนเป็นการลดความเสี่ยงการเกิดโรคเท่านั้น ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของร่างกายหลังจากถูกกระตุ้น และขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อด้วย หากได้รับวัคซีนหลังจากร่างกายได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าแล้ว วัคซีนอาจไม่ได้ผลตามที่คาด

ความเชื่อที่ 6 ฉีดวัคซีนให้สุนัขและแมวเพียงครั้งเดียว สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้

ความจริง >> การฉีดวัคซีนเข็มแรกเข็มเดียว ยังมีโอกาสเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ ต้องได้รับการกระตุ้นวัคซีนเป็นครั้งที่สอง (ในปีแรก) และกระตุ้นซ้ำเป็นประจำทุกปี

ความเชื่อที่ 7 ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าได้โดยการถูกกัดเท่านั้น

ความจริง >> โรคพิษสุนัขบ้าแพร่กันผ่านเชื้อไวรัสในน้ำลาย สามารถติดกันผ่านการกัด ข่วน เลีย แม้ว่าการกัดทำให้เชื้อไวรัสเข้าทางบาดแผลได้ง่าย แต่ถ้าร่างกายเรามีบาดแผล และโดนสุนัขข่วนหรือเลียบาดแผล โอกาสติดเชื้อพิษสุนัขบ้าก็มี

ความเชื่อที่ 8 ถูกสุนัขกัด ให้เอารองเท้าตบแผลหรือราดแผลด้วยน้ำปลา

ความจริง >> ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่หลายครั้ง เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีใส่แผล ก่อนไปพบแพทย์ วิธีนี้ดีที่สุด

การเอารองเท้าตบแผล นอกจากไม่ช่วยอะไรแล้ว ยังทำให้สิ่งสกปรกเข้าแผลมากขึ้นด้วย และการใช้น้ำปลาราดแผล หากเป็นน้ำปลาที่มีความเข้มข้นสูงอาจช่วยฆ่าเชื้อได้บ้าง แต่ถ้าล้างด้วยน้ำปลาไม่มีคุณภาพ สิ่งปรุงแต่งในน้ำปลาอาจเข้าไปในแผลได้

ความเชื่อที่ 9 รอให้สุนัขและแมวที่กัดเราตายก่อน แล้วค่อยไปพบแพทย์

ความจริง >> ถ้าโดนกัด ควรได้รับการฉีดวัคซีนไม่เกิน 48 ชั่วโมงหลังถูกกัด ยิ่งฉีดเร็วเท่าไร ความสามารถในการควบคุมโรคจะดีกว่าปล่อยทิ้งไว้นาน และยิ่งถ้าโดนกัดบริเวณใกล้สมอง หรือที่มีเส้นประสาทมาก การแพร่เชื้อเข้าสู่สมองจะรวดเร็วมาก การรอดูอาการสัตว์ 10-14 วันว่าตายหรือไม่ อาจเสี่ยงต่อชีวิตเกินไป

รายการ Pet Care onair

ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร และ สพ.ญ.ดร.ฉัตรวลี บุญธรรม

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง