เปิดตัวทุนจีน เบื้องลึกตึกใหม่ สตง. 2.1 พันล. สร้างนานเกือบ 20 ปี

เปิดตัวทุนจีน เบื้องลึกเบื้องหลังตึกใหม่ อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (อาคาร สตง.) แห่งใหม่ ความสูงประมาณ 30 ชั้น งบประมาณ 2.1 พันล. สร้างนานเกือบ 20 ปี

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด ศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ ส่งผลกระทบถึงประเทศไทยและตึกสูงในกรุงเทพฯ และปริมณฑลรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน
และจากเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดเหตุไม่คาดฝันตึกกำลังก่อสร้างย่านจตุจักรถล่ม

เปิดตัวทุนจีน เบื้องลึกตึกใหม่ สตง. 2.1 พันล. สร้างนานเกือบ 20 ปี

 

จากการตรวจสอบพบว่า อาคารดังกล่าวเป็น อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (อาคาร สตง.) แห่งใหม่ ซึ่งมีความสูงประมาณ 30 ชั้น ใช้งบประมาณในการก่อสร้างกว่า 2,136 ล้านบาท

 

เปิดตัวทุนจีน เบื้องลึกตึกใหม่ สตง. 2.1 พันล. สร้างนานเกือบ 20 ปี

 

ล่าสุดทาง กรุงเทพธุรกิจ ได้ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกการก่อสร้างอาคารดังกล่าว พบว่า มีการเสนอใช้งบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารหลังนี้ตั้งแต่ปี 2550 หรือเกือบ 20 ปีก่อน

โดย สตง.ทำหนังสือถึง ครม.เพื่อขออนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างอาคารหลังนี้ ระบุรายละเอียดของเรื่องว่า เดิม สตง.ได้รับอนุมัติรายการค่าก่อสร้างและเพิ่มวงเงินในการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 4 รายการ ได้แก่

  1. รายการก่อสร้างสถาบันธรรมาภิบาลแห่งชาติ ตามมติ ครม.เมื่อ 30 ต.ค. 2550 อนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2551-2553 จำนวนเงิน 338,950,000 บาท
  2. รายการค่าก่อสร้างอาคาร สตง. ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2552 อนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2553-2555 จำนวนเงิน 988 ล้านบาท
  3. รายการก่อสร้างอาคาร สตง. ระยะที่ 2 ตามมติ ครม.เมื่อ 16 พ.ย. 2553 อนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2554-2556 จำนวนเงิน 500 ล้านบาท
  4. รายการค่าควบคุมงานก่อสร้างสถาบันธรรมาภิบาล ตามมติ ครม.เมื่อ 22 ต.ค. 2556 อนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2557-2559 จำนวนเงิน 5,956,600 บาท

เปิดตัวทุนจีน เบื้องลึกตึกใหม่ สตง. 2.1 พันล. สร้างนานเกือบ 20 ปี

ต่อมา สตง.ชง ครม.เพื่อขอเปลี่ยนแปลงวงเงินงบประมาณเป็น 2 ก้อนได้แก่ 

  1. รายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการสำนักงาน สตง. (แห่งใหม่) พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2563-2566 จากเดิม 2,636,800,000 บาท เป็นจำนวนเงิน 2,560 ล้านบาท 
  2. รายการค่าควบคุมงานก่อสร้างอาคารที่ทำการ สตง. (แห่งใหม่) พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2563-2566 จำนวนเงิน 76.8 ล้านบาท

 

เปิดตัวทุนจีน เบื้องลึกตึกใหม่ สตง. 2.1 พันล. สร้างนานเกือบ 20 ปี

 

ต่อมา สตง.ได้ลงนามจ้างก่อสร้างอาคารที่ทำการ สตง. (แห่งใหม่) พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ ตามสัญญาเลขที่ 021/2564 ลงวันที่ 23 พ.ย. 2563 จ้างกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด) ก่อสร้างอาคารแห่งใหม่ พร้อมสิ่งก่อสร้าง ประกอบ จํานวนเงิน 2,136 ล้านบาท
    
และได้จ้างผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้าง ตามสัญญาเลขที่ 024/2564 ลงวันที่ 14 มกราคม 2564 จ้างกิจการร่วมค้า PKW (บริษัท พี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จํากัด, บริษัท ว.และสหาย คอนซัลแตนตส์ จํากัด และ บริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมเนจเม้น จํากัด) ควบคุมงานก่อสร้างอาคาร พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ จํานวนเงิน 74,653,000 บาท ซึ่งได้ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างตั้งแต่ 15 ม.ค. 2564 กำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 1,080 วัน ซึ่งจะครบกำหนดสัญญาในวันที่ 31 ธ.ค. 2566 โดยขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันเป็นปีงบประมาณ 2563 - 2569

 

เปิดตัวทุนจีน เบื้องลึกตึกใหม่ สตง. 2.1 พันล. สร้างนานเกือบ 20 ปี

อย่างไรก็ดี สตง.ได้ขอขยายระยะเวลาก่อสร้าง 155 วัน ทำให้ครบกำหนดสัญญาในวันที่ 3 มิ.ย. 2567 ด้วยเหตุดังต่อไปนี้

ครั้งที่ 1 เนื่องจากงานรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมในพื้นที่ การหยุดงานก่อสร้างตาม ประกาศของทางราชการอันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และมีงานพิธีวางศิลาฤกษ์ รวมเป็น ระยะเวลา 58 วัน

ครั้งที่ 2 เนื่องจากการแก้ไขแบบก่อสร้าง กรณี Load Factor, Core Wall และการสัญจรของรถบรรทุกในชั้นใต้ดิน รวมเป็นระยะเวลา 97 วัน

เนื่องจากผู้ให้บริการควบคุมงานเริ่มงานถัดจากวันส่งมอบพื้นที่ 7 วัน ทำให้ค่าจ้างควบคุมงานก่อสร้างที่ สตง.จะต้องจ่ายเพิ่มเติมจากสัญญาเป็นจำนวน 148 วัน (นับตั้งแต่ 8 ม.ค. 2567-3 มิ.ย. 2567) โดยมีอัตราค่าจ้างวันละ 65,667 บาท รวมเป็นจํานวนเงินทั้งสิ้น 4,718,716 บาท

เรื่องนี้ สตง.ชงที่ประชุม ครม.เมื่อ 17 ธ.ค. 2568 ต่อมา 13 ก.พ. 2568 ครม.มีมติว่า อนุมัติเพิ่มวงเงินรายการค่าควบคุมงานก่อสร้างอาคาร พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ จากเดิมวงเงิน 76,800,000 บาท เป็นวงเงิน 84,371,916 บาท

โดย สตง.ได้ขยายระยะเวลาก่อสร้างอาคาร จํานวน 155 วัน ทําให้ระยะเวลาก่อสร้างขยายจาก 1,080 วัน (วันที่ 31 ธ.ค. 2566) เป็น 1,235 วัน ส่งผลต่อสัญญาจ้างควบคุมงานก่อสร้าง จะต้องมีค่าจ้างเพิ่มเติมจากเดิมอีก 148 วัน (ผู้ให้บริการ ควบคุมงานเริ่มงานถัดจากวันส่งมอบพื้นที่ 7 วัน) เป็นจํานวนเงิน 9,718,716 บาท

ดังนั้นเมื่อรวมกับวงเงินในสัญญาจ้างควบคุมงานก่อสร้าง จํานวน 74,653,200 บาท รวมเป็นจํานวนเงินทั้งสิ้น 84,371,916 บาท ซึ่งจํานวนเงินที่จะต้องใช้ในการจ้างควบคุมงานเนื่องจากการขยายระยะเวลา ตามนัยข้อ 7 (3) ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

สำหรับงานก่อสร้างอาคารดังกล่าว วงเงิน 2.1 พันล้านบาทเศษ ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด) ถูกแจ้งเลขทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 0993000489811 มีรายละเอียดดังนี้ 

  • บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน)

ยักษ์ใหญ่บริษัทรับเหมาก่อสร้างระดับโครงสร้างพื้นฐานของไทย ของคนตระกูล “กรรณสูต” จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เมื่อ 24 มี.ค. 2537 ทุนปัจจุบัน 6,337,920,861 บาท ชำระแล้ว 5,279,868,944 บาท สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ 2034/132-161 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ รับเหมาก่อสร้าง รับจ้างทำของ มีกรรมการ 9 คน ได้แก่ นายเปรมชัย กรรณสูต นางนิจพร จรณะจิตต์ นายไผท ชาครบัณฑิต นายวิลเลี่ยม ลี เซนท์กราฟ นายปีติ กรรณสูต นายธรณิศ กรรณสูต นายไส้ หว่า ไซม่อน ซุน นายภิญโญ มีชำนะ นายวิรัช ก้องมณีรัตน์

นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อปี 2566 เปรมชัย กรรณสูต ถือหุ้นใหญ่ 11.9% นิจพร จรณะจิตต์ ถือ 6.64% บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด (บริษัทลงทุนของ ตลท.) ถือ 3.32% SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED ถือ 2.05% N.C.B.TRUST LIMITED-POLUNIN EMERGING MARKETS SMALL CAP FUND, LLC ถือ 1.10% นางวลัยทิพย์ พิริยะวรสกุล ถือ 0.95% นายไชยา สกุลชัยวาณิชย์ ถือ 0.89% น.ส.จิตราพรรณ จรณะจิตต์ ถือ 0.87% นายปัณณกุนท์ วัฒนาอุดม ถือ 0.80% น.ส.ปราชญา กรรณสูต ถือ 0.74% ที่เหลือเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยถือรวมกัน 70.74%

นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2566 สินทรัพย์รวม 89,251,986,000 บาท หนี้สินรวม 80,963,771,000 บาท รายได้รวม 31,234,773,000 บาท รายจ่ายรวม 29,075,690,000 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 2,176,786,000 บาท เสียภาษีเงินได้ 177,171,000 บาท ขาดทุนสุทธิ 194,874,000 บาท

  • บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด

จดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2561 ทุนปัจจุบัน 100 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 493 ซอยพุทธบูชา 44 แยก 11 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ เกี่ยวกับการบริการด้านการทรัพยากรมนุษย์และรับเหมาก่อสร้างอาคาร อาคารพาณิชย์ อาคารที่พักอาศัย สถานที่ทำการ ทางรถไฟ ทางรถสาธารณะ ทางรถไฟฟ้าใต้ดิน กรรมการ 2 คน ได้แก่ นายชวนหลิง จาง นายโสภณ มีชัย 

นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อเดือน ธ.ค. 2567 ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป คัมปะนี (สัญชาติจีน) ถือหุ้นใหญ่สุด 49% โสภณ มีชัย ถือ 40.8% ประจวบ ศิริเขตร ถือ 10.2% มานัส ศรีอนันท์ ถือ 3 หุ้น

นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2566 สินทรัพย์รวม 2,804,535,819 บาท หนี้สินรวม 2,952,877,175 บาท รายได้รวม 206,253,951 บาท รายจ่ายรวม 354,955,976 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 50,967,848 บาท ขาดทุนสุทธิ 199,669,872 บาท

 

เปิดตัวทุนจีน เบื้องลึกตึกใหม่ สตง. 2.1 พันล. สร้างนานเกือบ 20 ปี

ส่วนผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้าง วงเงิน 74.6 ล้านบาทเศษ ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า PKW (บริษัท พี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จํากัด บริษัท ว.และสหาย คอนซัลแตนตส์ จํากัด และ บริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมเนจเม้น จํากัด) มีรายละเอียดดังนี้ 

  • บริษัท พี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จํากัด

จดทะเบียนเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2554 ทุนปัจจุบัน 8 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 63/123 หมู่ที่ 12 ต.บางแม่นาง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี วัตถุประสงค์ ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง บริการรับเป็นที่ปรึกษา บริหารสัญญาและให้คำแนะนำเกี่ยวกับด้านการบริหารงานก่อสร้าง กรรมการ 3 คน นายปฏิวัติ ศิริไทย นางพรรณนภา ศิริไทย นายนัฏพร กฤษฎานุภาพ

นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อ ม.ค. 2567 ปฏิวัติ ศิริไทย ถือหุ้นใหญ่สุด 99.25% พรรณนภา ศิริไทย ถือ 0.75%  

นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อ 2566 สินทรัพย์รวม 18,944,740 บาท หนี้สินรวม 1,033,942 บาท รายได้รวม 21,468,991 บาท รายจ่ายรวม 19,819,241 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 2,369 บาท เสียภาษีเงินได้ 395,295 บาท กำไรสุทธิ 1,252,084 บาท

  • บริษัท ว.และสหาย คอนซัลแตนตส์ จํากัด

จดทะเบียนเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2526 ทุนปัจจุบัน 4 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 55 ซอยรามคำแหง 18 (แม้นเขียน 3) แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ ออกแบบ ปรึกษาและควบคุมงานทางวิศวกรรม กรรมการ 3 คน นายโชควิชิต ลักษณากร นายพลเดช เทอดพิทักษ์วานิช นางปราณีต แสงอลังการ

นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อ ม.ค. 2568 โชควิชิต ลักษณากร ถือหุ้นใหญ่สุด 60% พิมลดา ลักษณากร ถือรองลงมา 30% วิชัย ลักษณากร ถือ 5% วิทู รักษ์วนิชพงศ์ ถือ 5%

นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2567 สินทรัพย์รวม 25,344,337 บาท หนี้สินรวม 7,811,284 บาท รายได้รวม 48,332,198 บาท รายจ่ายรวม 44,393,501 บาท เสียภาษีเงินได้ 919,608 บาท กำไรสุทธิ 3,019,087 บาท

เปิดตัวทุนจีน เบื้องลึกตึกใหม่ สตง. 2.1 พันล. สร้างนานเกือบ 20 ปี

 

  • บริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมเนจเม้น จํากัด

จดทะเบียนเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2548 ทุนปัจจุบัน 2 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 76/2 ถนนรามคำแหง แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ รับเหมาก่อสร้าง ออกแบบก่อสร้างรับปรึกษางานก่อสร้าง กรรมการ 4 คน นายกฤตภัฏ ปล่องกระโทก นายศิริศักดิ์ วดีศิริศักดิ์ นายมนตรี สุดรักษ์ นายณัฐวุฒิ เลิศศรีดำรงกุล

นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเมื่อ ส.ค. 2566 กฤตภัฏ ปล่องกระโทก ถือหุ้นใหญ่สุด 52.5% ณัฐวุฒิ เลิศศรีดำรงค์กุล ถือ 12.5% มนตรี สุดรักษ์ ถือ 12.5% ศิริศักดิ์ วดีศิริศักดิ์ ถือ 12.5% พนิดดา พิทักษ์เกียรติยศ ถือ 10%

นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2566 สินทรัพย์รวม 72,675,967 บาท หนี้สินรวม 62,718,649 บาท รายได้รวม 25,816,076 บาท รายจ่ายรวม 21,658,392 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 1,304,613 บาท เสียภาษีเงินได้ 688,111 บาท กำไรสุทธิ 2,164,958 บาท

 

ขอบคุณ กรุงเทพธุรกิจ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thailand Web Stat