- 31 มี.ค. 2568
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางมายังจุดเกิดเหตุ อาคาร สตง. ถล่ม โดยลงพื้นที่ได้เพียง 20 นาทีก็ต้องรีบกลับ
วันที่ 31 มี.ค.68 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางที่มายังจุดเกิดเหตุอาคาร สตง. ถล่ม เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา เพื่อติดตามภารกิจการช่วยเหลือผู้ติดค้างภายในสร้างอาคารดังกล่าว และความคืบหน้าการกู้ซากอาคาร เมื่อมาถึง น.ส.แพทองธาร ได้มีการ พูดคุยกับผู้ปฏิบัติงานทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและอาสากู้ภัย ซึ่งขณะที่กำลังเดินเข้าประตูพบว่ามีตัวแทน กลุ่มพันธมิตรแรงงานต่างประเทศเข้าพูดคุย และก้มกราบเท้า น.ส.แพทองธาร โดย น.ส.แพทองธาร ระบุ ยืนยันว่าจะให้ความช่วยเหลือ แรงงานทั้งชาวไทยเเละต่างชาติอย่างเต็มที่ ก่อนที่ตัวแทนคนดังกล่าวจะถูกนำตัวออกมา
เปิดสาเหตุ นายกฯ ลงพื้นที่ ตึก สตง. 20 นาที แล้วต้องรีบกลับ
เปิดสาเหตุ นายกฯ ลงพื้นที่ ตึก สตง. 20 นาที แล้วต้องรีบกลับ
ขณะเดียวกันได้มีตัวแทนเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน นำเอกสาร จำนวนหนึ่งเดินทางเข้ามาบริเวณจุดเกิดเหตุเพื่อส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน
ด้าน รศ.ทวิดา กมลเวช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า เอกสารที่เจ้าหน้าที่ตัวแทนจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินนำมาในวันนี้ คือแบบแปลนอาคารการก่อสร้าง ซึ่งจะมีการระบุตำแหน่งและจุดสำคัญต่างๆภายในอาคารเช่นบันไดหนีไฟและลิฟท์ ซึ่งข้อมูลชุดนี้จะนำมาใช้ในการหารือและวิเคราะห์ร่วมกับเจ้าหน้าที่กู้ภัย สำหรับใช้เป็นแนวทางในการค้นหาและช่วยเหลือผู้สูญหายให้รวดเร็ว โดยจะพิจารณาว่าพื้นที่บริเวณชั้นใดหรือจุดใดของอาคารมีการใช้งานอย่างไร
เปิดสาเหตุ นายกฯ ลงพื้นที่ ตึก สตง. 20 นาที แล้วต้องรีบกลับ
ส่วนภารกิจการค้นหาผู้ติดค้างภายใต้ซากอาคาร ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังเร่งปฏิบัติการช่วยเหลือผู้สูญหายอย่างเต็มที่
โดยสาเหตุที่น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางออกจากพื้นที่หลังเข้ามาติดตามความคืบหน้าภารกิจได้เพียง 20 นาที เนื่องจากคณะทำงานสามารถตรวจจับสัญญาณชีพของผู้สูญหายได้ 1 คน และต้องอาศัยความเงียบในการตรวจสอบสัญญาณชีพที่ยังอ่อน จึงทำให้ต้องเดินทางกลับอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้กระทบกับการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องการความเงียบ
เปิดสาเหตุ นายกฯ ลงพื้นที่ ตึก สตง. 20 นาที แล้วต้องรีบกลับ
จากนั้นผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและทีมสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกำลังอยู่ระหว่างการปรึกษาหารืออย่างละเอียดถึงแนวทางการเข้าช่วยเหลือผู้ที่มีสัญญาณชีพดังกล่าวด้วยวิธีที่เหมาะสมที่สุด
รศ.ทวิดา ยังได้ชี้แจงถึงข้อสงสัยเกี่ยวกับความล่าช้าในการปฏิบัติการช่วยเหลือ โดยยืนยันว่าไม่ได้ล่าช้า เนื่องจากเพิ่งตรวจพบสัญญาณชีพของผู้สูญหายได้เมื่อครู่นี้เอง และในส่วนของกรอบเวลา 72 ชั่วโมงนั้น ขอให้เข้าใจว่าเป็นหลักการทางการแพทย์สากลที่บ่งชี้ถึงช่วงเวลาที่มีโอกาสช่วยเหลือผู้สูญหายและมีอัตราการรอดชีวิตสูงที่สุด
เปิดสาเหตุ นายกฯ ลงพื้นที่ ตึก สตง. 20 นาที แล้วต้องรีบกลับ
ส่วนประเด็นที่ไม่สามารถทำการเจาะทะลุเข้าไปในซากอาคารเพื่อช่วยเหลือได้ทันทีนั้น เนื่องจากผู้สูญหายยังมีชีวิตอยู่ การกระทำใดๆ ที่รุนแรงจนอาจทำให้ซากอาคารถล่มซ้ำ จะยิ่งนำมาซึ่งความสูญเสียและเสียหายที่มากขึ้น ดังนั้น ในช่วง 1-2 วันแรก จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการหน้างานที่ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์พื้นที่และประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ และแม้จะเลยกรอบเวลา 72 ชั่วโมงไปแล้ว ทีมค้นหาก็ยังคงไม่หยุดปฏิบัติการ แต่โอกาสที่ผู้สูญหายจะอ่อนแอลงนั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น การดำเนินการทุกอย่างจึงต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวังและมีสติ ในระหว่างการปฏิบัติงาน อาจมีการดับเครื่องจักรเป็นระยะๆ เพื่อทำการตรวจหาสัญญาณชีพ แต่ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และหลังจากนี้จะพยายามจัดเวลาให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชนอย่างสม่ำเสมอ หากมีเหตุเร่งด่วนใดๆ ก็จะมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนอีกครั้ง