- 08 ก.ค. 2559
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์แต่ไม่มีเงินสด หรืองบประมาณไม่ถึง ก็มีอีกหนึ่งวิธีก็คือการเลือกจัดไฟแนนซ์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการซื้อรถมือหนึ่ง หรือว่าซื้อรถมือสองก็สามารถเลือกจัดไฟแนนซ์ได้เช่นกัน โดยเฉพาะการขอจัดไฟแนนซ์รถมือสองที่หลายคนชอบคิดว่า เมื่อเลือกซื้อรถมือสองที่มีราคาไม่สูงมาก ก็อาจจะขออนุมัติไฟแนนซ์รถมือสองได้ง่ายกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้วการที่บริษัทไฟแนนซ์รถมือสองจะอนุมัติหรือไม่นั้น ล้วนแต่ขึ้นอยู่กับเอกสาร และประวัติการชำระหนี้ของผู้ขอจัดไฟแนนซ์รถมือสองเป็นหลัก เพราะถ้าหากคุณมีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี หรือมีเงื่อนไขไม่ตรงตามที่บริษัทไฟแนนซ์รถมือสองกำหนดไว้ ความเสี่ยงที่จะขออนุมัติไม่ผ่านก็จะสูงตามไปด้วย
แต่ในกรณีที่คุณจัดไฟแนนซ์รถมือสองแบบมี 'ผู้กู้ร่วม'หรือ 'คนค้ำประกัน'ก็อาจจะทำให้การขออนุมัติไฟแนนซ์รถมือสองของคุณถูกอนุมัติให้ผ่านได้ง่ายมากขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ที่ต้องการจัดไฟแนนซ์รถมือสองก็ยังคงสับสนว่าสองคำนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร เพราะความเป็นจริงถึงแม้ 'ผู้กู้ร่วม'และ'คนค้ำประกัน'นั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่มันก็ยังมีองค์ประกอบที่ไม่เหมือนกันอยู่ดี โดยในบทความนี้ Trusteecar.com ได้บอกถึงความแตกต่างระหว่างคำสองคำนี้ ซึ่งหวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่ต้องการจัดไฟแนนซ์รถมือสองไม่มากก็น้อย
ผู้ค้ำประกันหมายถึง บุคคลภายนอกมาทำสัญญาผูกพันตนเองกับเจ้าหนี้ ว่าจะตนจะต้องเป็นผู้ชำระหนี้ให้แทนลูกหนี้ ในกรณีที่ลูกไม่ชำระหนี้นั้น เพื่อเป็นเครื่องค้ำประกันว่าถ้าหากลูกหนี้เบี้ยวหนี้ หนี้สิ้นนั้นก็จะถูกชำระอย่างแน่นอน เพราะเมื่อผู้ค้ำประกันได้เซ็นยินยอม ก็เท่ากับว่าเจ้าหนี้จะสามารถทวงหนี้ผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ และสามารถฟ้องร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้ได้เช่นกัน โดยผู้ค้ำประกันไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นสายเลือดเดียวกันกับลูกหนี้ แต่อาจจะเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์สนิทสนมกัน
ซึ่งคนที่จะสามารถเป็นผู้ค้ำประกันให้กับคุณได้ ก็จะต้อง
1. มีแหล่งที่อยู่ชัดเจน
2. มีฐานเงินเดือนเยอะเป็น 2 เท่าของค่างวด
3. ประกอบอาชีพมั่นคง ถ้าหากเป็นพนักงานที่มีเงินเดือนประจำจะดีมาก
บุคคลที่จำเป็นจะต้องมีผู้ค้ำประกัน คือ บุคคลที่มีประวัติการชำระเงินที่ไม่ดี อายุน้อย ไม่เคยมีประวัติในด้านสินเชื่อมาก่อน และบุคคลที่วางเงินดาวน์ไว้เป็นจำนวนที่ค่อนข้างต่ำ รวมถึงผู้ที่เงื่อนไขไม่ตรงตามกับที่บริษัทไฟแนนซ์รถมือสองต้องการ
ผู้กู้ร่วม หมายถึง บุคคลที่มีฐานะเป็นเหมือนผู้กู้ร่วมอีกคนหนึ่งในสัญญากับลูกหนี้ และผู้กู้ร่วมจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบชำระหนี้สินที่กู้มาให้เทียบเท่ากับลูกหนี้ แต่ว่าผู้ที่จะสามารถเป็นผู้กู้ร่วมกับลูกหนี้ได้จะต้องมีความสัมพันธ์ในครอบครัวเท่านั้น ต่างจากผู้ค้ำประกันที่ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นแค่บุคคลในครอบครัว
คุณสมบัติของผู้กู้ร่วม ประกอบไปด้วย
1. ผู้กู้ร่วมจะต้องเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ในครอบครัวเดียวกันกับผู้ขอจัดไฟแนนซ์รถยนต์มือสองเท่านั้น อาทิ พ่อแม่ สามีภรรยา หรือพี่น้องสายเลือดเดียวกัน แต่ถ้าในกรณีที่เป็นสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็สามารถนำหลักฐานการแต่งงานมายืนยันได้ รวมถึงในกรณีที่มีบุตร แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็สามารถนำเอาสูติบัตรของบุตรมาใช่้เป็นหลักฐานยืนยันได้เช่นกัน
บุคคลที่ต้องมีผู้กู้ร่วม คือ บุคคลที่มีฐานเงินเดือนที่ไม่พอค่างวดชำระ ก็สามารถนำฐานเงินเดือนของผู้กู้ร่วมกับผู้ขอกู้มารวมกันได้
สุดท้ายแม้ว่าคุณจะมีทั้ง 'ผู้กู้ร่วม'หรือ 'ผู้ค้ำประกัน'ก็ไม่ได้แปลว่าการขออนุมัติไฟแนนซ์รถมือสองจะผ่านได้เลยทันที เพราะการอนุมัติไฟแนนซ์ก็ต้องดูองค์ประกอบหลายอย่างรวมกัน เพราะฉะนั้นถ้าหากใครอยากจะจัดไฟแนนซ์รถมือสองให้ผ่านได้โดยเร็ว ก็ต้องเลือกผู้กู้ร่วม หรือผู้ค้ำประกันที่มีคุณสมบัติตรงตามกับที่บริษัทไฟแนนซ์ต้องการ