บทสวดและวิธีบูชา "เสด็จพ่อ ร.๕" ที่ถูกวิธี รับรองได้ผลดีสมปรารถนาดังใจนึก

การสวดมนต์ไหว้พระ เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ การบูชา เสด็จพ่อร.5 ช่วยเสริมบารมีให้คนที่สวดเป็นสิริมงคลกับตัวเอง

เสด็จพ่อร.5

        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5นี้ ทรงเป็นมหากษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถยิ่ง อันปรากฏได้ชัดจากที่พระองค์ทรงพัฒนาบ้านเมืองให้มีความทันสมัย ก้าวสู่ความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมกับอารยะประเทศ ด้วยการปฏิรูปด้านต่างๆแก่ประเทศ ผู้คนจึงนิยมขอพรให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้านของชีวิตเช่นกันจึงเชื่อในการพระราชทาน ให้มีโชคลาภในการประกอบอาชีพ งานที่ทำสะดวกลุล่วง การปลดหนี้หรือถูกรังแก ค้าขาย และจากการประกาศเลิกทาสนั้น ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดในพระเมตตาที่มีต่อพสกนิกรไทยอย่างเหลือคณา จึงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของทั้งพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติพระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยะมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” จึงเป็นที่เชื่อกันว่า การสักการะพระองค์ก็เพื่อให้เป็นที่รักของคนทั่วไป หรือเรียกกันว่า เมตตามหานิยม นั่นเอง

           พระองค์จึงมิใช่มีฐานะเป็นกษัตริย์ที่สร้างความเจริญให้ประเทศเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่เมื่อสวรรคตไปแล้ว พระองค์ได้กลายเป็นสมมติเทวราช ในฐานะเทพอันศักดิ์สิทธิ์ของพสกนิกรทั้งหลาย คนทั้งหลายจึงมีความเชื่อว่าได้เห็นท่านแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ผู้ที่นับถือประจักษ์ต่อสายตาต่างๆนานาและด้วยความเชื่อต่าง ๆ นั้นส่งผลให้พระองค์มีลักษณะเป็น บุคลาธิษฐาน หรือบุคคลในจินตนาการหรือบุคคลในมโนคติแห่งการอธิษฐานเพื่อขอพรให้พระบารมีแห่งพระองค์ได้ปกป้องคุ้มครองและอำนวยชัย จนพระองค์มีฐานะเป็นเทพในดวงใจของชาวไทยทั้งมวลในที่สุด จนเป็นที่มาของคำเรียกติดปากที่เราได้ยินกันอยู่ทุกวันนี้ว่า "เสด็จพ่อ ร.5"

บทสวดเสด็จพ่อร.5

(ขอขอบคุณท่านเจ้าของภาพ)

 

วิธีการปฏิบัติบูชา

สำหรับผู้บูชาครั้งแรกให้จุดธูป 16 ดอก ส่วนครั้งต่อไปจุด 9 ดอก ว่าคาถาดังนี้ 


            พระคาถาบูชาดวงวิญญาณเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5 
   "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" (3 จบ)

"พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ" (กล่าว 3 ครั้ง)

หรือ

พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง
         "พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ" หรือแบบเต็ม "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
           อิติปิโส วิเสเสอิอิเสเส พุทธะนาเมอิอิเมนา พุทธะตังโสอิอิโสตัง พุทธะปิติอิ พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง"


และ

 

พระคาถาอธิษฐานขอพร แต่ห้ามบนบาน!!!
           "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิโย เทวามนุสสานังจงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ปิโย นาคะสัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด ปิโย พรหมานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฑ และคนธรรพ์ ปินันทิยัง นะมามินัง

ความรัก ความยินดี ความเมตตาจงบังเกิดในเรือนร่างข้าพเจ้าทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม
           "ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (5 จบ) ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ...นามสกุล... ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง... อิติปิโส วิเสเสอิอิเสเส พุทธะ นาเมอิอิเมนา พุทธะตังโสอิอิโสตัง พุทธะปิติอิปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (3 จบ)
พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะขอให้บุญบารมีขององค์เสด็จพ่อ ร.5 สูงยิ่ง ๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่ง ๆ ขึ้น"

บทสวดและวิธีบูชา \"เสด็จพ่อ ร.๕\" ที่ถูกวิธี รับรองได้ผลดีสมปรารถนาดังใจนึก

บทสวดและวิธีบูชา \"เสด็จพ่อ ร.๕\" ที่ถูกวิธี รับรองได้ผลดีสมปรารถนาดังใจนึก

 

              โดยเครื่องที่ควรนำมาสักการะคือ ดอกกุหลาบสีชมพู เพราะ ดอกกุหลาบนั้นมีทั้งหนามที่แหลมคมและความงดงาม เปรียบดังพระองค์ท่าน ที่พระองค์มีพระปรีชาสามารถและอำนาจในการปกครองประเทศเปรียบกับความแหลมคมของหนาม แต่กระนั้นยังมีความเมตตากรุณายิ่งอันเป็นความงดงามแก่แผ่นดินไทยควบคู่ด้วยเสมอ และสีชมพูนั้นหมายถึง สีของวันอังคารอันเป็นวันพระราชสมภพของพระองค์ นอกจากดอกกุหลาบสีชมพูแล้ว ที่นิยมนำมาสักการบูชายังได้แก่ บายศรี หมากพลู บุหรี่(ซิกการ์) สุรา บรั่นดี หรือ ไวน์เป็นต้น และนอกจากสิ่งของที่นำมาสักการะแก่พระองค์แล้ว ที่นิยมอีกคือ หญ้าสดใหม่ ที่นำมาถวายแก่ ม้าพระที่นั่งอีกด้วย

             วันที่ควรบูชาคือวันที่ 23 ตุลาคม (วันปิยมหาราช – วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) หรือวันอังคารซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ และวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันครูหรือในวันพระ แต่ในวันพระให้ยกเว้นเครื่องสักการะที่เป็นอบายมุข จำพวก บุหรี่ เหล้า