- 24 ต.ค. 2559
รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์ http://panyayan.tnews.co.th
เชื่อไหมว่าเพลงสรรเสริญพระบารมี และบทสวดบูชาพระพุทธเจ้า คล้ายกันจนถือว่าเป็นบทสวดมนต์ได้เช่นกัน
เชื่อว่าคนไทยทุกคนร้องเพลงสรรญเสริญพระบารมีได้
แต่จะมีซักกี่คนที่รู้ความหมายที่แท้จริง ของทุกคำที่อยู่ในเนื้อเพลงสรรญเสริญพระบารมีนี้ ..... ลองมาดูความหมายของแต่ละประโยคกัน
"ข้าวรพุทธเจ้า" หมายถึง ข้าพเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นข้าของพระองค์ผู้ประดุจดังพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าในที่นี้ก็คือเป็นผู้ตรัสรู้และโปรดมวลมนุษย์ให้บรรลุธรรม ให้พ้นจากกิเลส เพราะในมโนทัศน์ของไทยโบราณถือว่ากษัตริย์คือพระโพธิสัตว์
"เอามโนและศิระกราน... "หมายถึง ขอเอาดวงใจและศีรษะก้มน้อมกราบ
"นบพระภูมิบาล บุญดิเรก... "หมายถึง ขอนบไหว้พระผู้ปกครองแผ่นดิน ผู้มีบุญญาธิการอันใหญ่หลวง
"เอกบรมจักริน... "หมายถึง ทรงเป็นวงศ์แห่งพระจักรีอันประเสริฐ
"พระสยามินทร์... "หมายถึง เป็นผู้เป็นใหญ่แห่งสยาม
"พระยศยิ่งยง... "หมายถึง เกียตริยศของพระองค์นั้นยิ่งใหญ่และยืนนาน
"เย็นศิระเพราะพระบริบาล... "หมายถึง พวกเราจึงร่มเย็นด้วยการปกครองของพระองค์
"ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์... "หมายถึง พระคุณของพระองค์มีผลรักษาปวงประชาให้เป็นสุข
"ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด... "หมายถึง ขอพระคุณนั้น บันดาลให้สิ่งที่พระองค์ประสงค์สำเร็จตามความปรารถนา
"จงสฤษฎ์ดัง หวังวรหฤทัย... "หมายถึง ขอให้ได้ดังใจหวัง
"ดุจถวายชัย ชโย"หมายถึง ดังที่ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัย
สำหรับความหมายรวมก็คือ...ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอกราบไว้พระองค์ผู้มีบุญญาธิการ ซึ่งพระองค์ที่ปกครองปวงชนให้เป็นสุข ด้วยใบบุญของพระองค์ประชาชนจึงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงขอบันดาลให้พระองค์สมประสงค์ในทุกสิ่ง เป็นการถวายพระพรชัยแด่พระองค์
ถอดความโดย:
รศ.ดร.ดวงมน จิตรจำนงค์ อาจารย์ภาควิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี เมธีอาวุโส สกว.สาขาวรรณคดี ปี 2547
ส่วนในบทคำบูชาพระพุทธเจ้านั้น ถอดความคำแปลไว้ดังนี้
คำบูชาพระพุทธเจ้า
“นะโม ตัสสะ ภะคะวาโต”คำแปล “ขอนอบน้อมแดผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น”
“อะระหะโต”คำแปล”ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส”
“สัมมาสัมพุทธัสสะ”คำแปล”ตรัสรู้ชอบโด้วบพระองค์เอง”สวดตั้งต้นจนจบ๓รอบ
ดูแล้วในความหมายทั้ง 2 บท มีความหมายใกล้เคียงกัน คือ เป็นบทสวดที่สรรเสริญและระลึกนอบน้อมพระคุณ ในความรู้สึกของคนไทยในวันนี้ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่๙ ก็ทรงมีความดีพร้อมดุจพระโพธิสัตว์ หรือ พระพุทธเจ้าก็ว่าได้ จึงไม่แปลกใจที่จะกล่าวว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีที่เราร้องกันทุกวันนี้ คือบทสวดมนต์เช่นกัน