ชาร์ตพลังบุญ! สวดชินบัญชรต่อหน้ารูปปั้นสมเด็จโต กราบหลวงพ่อยิ้ม พระประธานที่ ร.5 ทรงกล่าวถึงว่า "ยิ้มรับฟ้าทุกที"

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ http://www.tnews.co.th

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต

ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

 เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1

 

วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่)

 

ในสมัยธนบุรี

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช

 

ในสมัยรัตนโกสินทร์

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม”

ชาร์ตพลังบุญ! สวดชินบัญชรต่อหน้ารูปปั้นสมเด็จโต กราบหลวงพ่อยิ้ม พระประธานที่ ร.5 ทรงกล่าวถึงว่า \"ยิ้มรับฟ้าทุกที\"

เหตุที่ชื่อว่าวัดระฆัง

 

นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้ ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา

 

ความเชื่อของคนไทย กับการมาทำบุญที่วัดระฆังนั้น ด้วยเหตุผลหลายประการ อาทิ

1. ทำบุญวัดระฆัง เป็นเคล็ดว่าจะได้มีชื่อเสียงโด่งดัง ขจรไกล มีคนพูดถึงในด้านดีงาม ดังนั้นผู้มาทำบุญหลายท่านก็จะนำระฆังมาทำบุญด้วย เพื่อตกแต่งบริเวณวัด ยามลมพัดมาก็มีเสียงระฆังดังก้องไปทั่ว

2. รำลึกถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆัง เกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน ผู้ศรัทธาสามารถสวดมนต์คาถาชินบัญชร คาถาที่สมเด็จโตนำมารจนาใหม่ ว่ากันว่าหากจะใช้คาถาชินบัญชรให้ได้ผล ให้มาสวดบอกกล่าวอธิษฐาน กับองค์สมเด็จโตที่วัดระฆังนี่เสียก่อน ที่เป็นปฐมฤกษ์ที่ดี

3.สักการะ พระประธานยิ้มรับฟ้า หรือ "หลวงพ่อยิ้ม" เนื่องจากถือว่าชื่อเป็นมงคล ให้ชีวิตมีแต่ความสุขและรอยยิ้้ม หมดทุกข์โศก

ชาร์ตพลังบุญ! สวดชินบัญชรต่อหน้ารูปปั้นสมเด็จโต กราบหลวงพ่อยิ้ม พระประธานที่ ร.5 ทรงกล่าวถึงว่า \"ยิ้มรับฟ้าทุกที\"

 

(หอระฆังที่ ร.1 ทรงสร้าง พร้อมระฆังอีก 5 ลูก)

วัดระฆังโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก

 เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี

และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก

  ชาร์ตพลังบุญ! สวดชินบัญชรต่อหน้ารูปปั้นสมเด็จโต กราบหลวงพ่อยิ้ม พระประธานที่ ร.5 ทรงกล่าวถึงว่า \"ยิ้มรับฟ้าทุกที\"

ชาร์ตพลังบุญ! สวดชินบัญชรต่อหน้ารูปปั้นสมเด็จโต กราบหลวงพ่อยิ้ม พระประธานที่ ร.5 ทรงกล่าวถึงว่า \"ยิ้มรับฟ้าทุกที\"

ชาร์ตพลังบุญ! สวดชินบัญชรต่อหน้ารูปปั้นสมเด็จโต กราบหลวงพ่อยิ้ม พระประธานที่ ร.5 ทรงกล่าวถึงว่า \"ยิ้มรับฟ้าทุกที\"

ไหว้หลวงพ่อยิ้มรับฟ้า

พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ ๔ ศอกเศษ

เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก ๓ องค์ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท

พระประธานองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก จนปรากฏว่าครั้งหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดระฆังโฆสิตาราม

ได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดว่า ไปวัดไหนไม่เหมือนมาวัดระฆังพอเข้าประตูโบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที

ด้วยเหตุนี้จึงทรงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์ ช้างเผือกแด่พระประธานองค์นี้เป็นพิเศษ

และพระประธานองค์นี้ก็ได้นามว่า "พระประธานยิ้มรับฟ้า" ตั้งแต่นั้นมา