เที่ยวสวรรค์กันไหม!! นักสร้างบารมีสวรรค์ชั้นนี้เปิดรอ... สวรรค์ชั้นดุสิต สถานที่สำคัญ ที่อยู่ของพระโพธิสัตว์และผู้กุศลถึงพร้อม

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://www.tnews.co.th

เที่ยวสวรรค์กันไหม!! นักสร้างบารมีสวรรค์ชั้นนี้เปิดรอ... สวรรค์ชั้นดุสิต สถานที่สำคัญ ที่อยู่ของพระโพธิสัตว์และผู้กุศลถึงพร้อม

 "...ผู้ทำบุญกุศลแล้วไปจุติบนสวรรค์ชั้นดุสิต..."
ทำไมพระบรมโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและนักสร้างบารมีทั้งหลายถึงเลือกที่จะอยู่ชั้นนี้ ?
สวรรค์ชั้นดุสิตนี้ มีความกว้างใหญ่ไพศาลมาก มีท้าวสันดุสิต ซึ่งบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว เป็นผู้ปกครองภพ ที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดุสิตอยู่สูงขึ้นไปจากยอดเขาสิเนรุ อยู่ในอากาศเหนือสวรรค์ชั้นยามา ๔๒,๐๐๐ โยชน์ บนสวรรค์จะไม่มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ทำให้ไม่มีเงา ไม่มีมุมมืดบนสวรรค์ อยู่ได้ด้วยความสว่างจากวัตถุสิ่งของต่างๆ เช่น กายของเหล่าเทวดา วิมาน สวน สระ สิ่งแวดล้อมต่างๆ มีแต่ความสว่าง จึงไม่ต้องอาศัยดวงอาทิตย์
 

เที่ยวสวรรค์กันไหม!! นักสร้างบารมีสวรรค์ชั้นนี้เปิดรอ... สวรรค์ชั้นดุสิต สถานที่สำคัญ ที่อยู่ของพระโพธิสัตว์และผู้กุศลถึงพร้อม
ลักษณะของสวรรค์ชั้นดุสิต จะไม่ได้กลมอย่างโลกมนุษย์ แต่จะกลมแบบราบ ถ้ามองจากสวรรค์ชั้น ยามาขึ้นไป จะมองเห็นเป็นแสงสว่าง นุ่มเนียนตา และถ้ามองจากสวรรค์ ชั้นดุสิตขึ้นไป ก็จะเห็นแสงสว่างนุ่ม เนียนตาของสวรรค์ชั้นนิมมานรดี หรือถ้ามองลงไปที่ดาวดึงส์ก็จะเห็น ว่ามีขนาดเล็กนิดเดียว เพราะสวรรค์ชั้นดุสิตใหญ่กว่า
โครงสร้างของสวรรค์ชั้นดุสิต มีวิมานของท้าวสันดุสิตเป็นศูนย์กลาง ของสวรรค์ชั้นนี้ แล้วแบ่งออกเป็น ๔ เขต วนโดยรอบวิมานของท้าวสันดุสิต ดังนี้
เขตที่ ๑ เป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี ซึ่งอยู่ชั้นในสุด
เขตที่ ๒ เป็นที่อยู่ของนิยตโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ได้รับการพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ซึ่งวงบุญพิเศษของผู้ที่มีมโนปณิธานจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ไปสู่ฝั่งพระนิพพาน ให้หมดจนกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม ก็จะอยู่ในเขตนี้ด้วย
เขตที่ ๓ เป็นที่อยู่ของอนิยตโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับ พยากรณ์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังต้องสร้างบารมีอีกมาก
เขตที่ ๔ เป็นที่อยู่ของผู้ที่ทำกุศลมาก และมีกำลังบุญมากพอที่จะได้อยู่สวรรค์ชั้นดุสิตนี้ เป็นเขตทั่วไป นอกเหนือจาก ๓ เขตแรก
สวรรค์ชั้นดุสิตนี้ มีความพิเศษกว่าสวรรค์ชั้นอื่นอยู่หลายประการ หนึ่งในความ พิเศษนั้นก็คือ เป็นที่อยู่ของเหล่าพระบรมโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตจำนวนมาก และเหล่าเทพบุตรที่สร้างบารมีเป็นพระสาวก เพื่อตามพระบรมโพธิสัตว์ลงมาตรัสรู้ในอนาคต แล้วทำไมพระบรมโพธิสัตว์ หรือบัณฑิตทั้งหลายจึงปรารถนาที่จะได้มาบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ ทั้งที่กำลังบุญของแต่ละท่านนั้นมากมาย ปรารถนาที่จะไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นใดก็ได้ เหตุที่ท่านเลือกสวรรค์ชั้นนี้ มีข้อสังเกตอย่างน้อย ๓ ประการ คือ
๑. พระโพธิสัตว์สามารถจุติ ลงมาได้ตามใจปรารถนา หมายความ ว่า โดยปกติเทวดามีเหตุแห่งการจุติ หลายประการ เช่น หมดบุญก็มี หมดอายุขัยก็มี จุติเพราะความโกรธก็มี แต่เหล่าพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ เมื่อจะจุติลงมา สร้างบารมี หรือมาบังเกิดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะนั่งทำสมาธิ อธิษฐานจิต สามารถดับวูบลงมาเกิด ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ของ ชาวสวรรค์ชั้นอื่นๆ
๒. เนื่องจากสวรรค์ชั้นนี้ มีแต่บัณฑิต มีแต่พระบรมโพธิสัตว์ ล้วนแต่มีอัธยาศัยคล้ายคลึงกัน ที่จะฝึกฝนตนเองและช่วยสรรพสัตว์ไปสู่ฝั่งพระนิพพานไม่ประมาทในการดำรงชีวิตเหมือนชาวสวรรค์ชั้นอื่นๆ มักจะคบหาบัณฑิต พูดคุยสนทนาธรรมกันเพื่อความ เบิกบานใจ และหมั่นไปฟังธรรมในวันพระ ซึ่งท่านท้าวสันดุสิตจะเป็นผู้อัญเชิญพระบรมโพธิสัตว์ที่มีบุญบารมีมากมาแสดงธรรมให้ฟัง
๓. ขนาดอายุทิพย์ของสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ คือ ๔,๐๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป พอเหมาะพอดีที่จะเสวยสุข เพราะท่านจะต้องลงมาสร้างบารมีต่อ ถ้ามี อายุขัยนานเกินไปจะทำให้เสียเวลา
 

เที่ยวสวรรค์กันไหม!! นักสร้างบารมีสวรรค์ชั้นนี้เปิดรอ... สวรรค์ชั้นดุสิต สถานที่สำคัญ ที่อยู่ของพระโพธิสัตว์และผู้กุศลถึงพร้อม
สวรรค์ชั้นที่ ๔ : ตุสิตาเทวภูมิ
เทวภูมิ อันดับที่ ๔ นี้ เป็นแดนสุขาวดี ที่สถิตย์อยู่ แห่งปวงเทพเจ้าชาวฟ้าทั้งหลาย ผู้มีความยินดีและ ความแช่มชื่นอยู่เป็นนิตย์ โดยมีเทพเจ้าผู้มเหศักดิ์ ทรงนามว่า สมเด็จท้าวสันดุสิตเทวาธิราช ทรงเป็น อธิบดี จึงมีนามว่า ตุสิตาเทวภูมิ
หมายถึงภูมิเป็นที่อยู่ของ แห่งทวยเทพ  อันมี สมเด็จท้าวสันดุสิตเทวาธิราช ทรงเป็นอธิบดี
แดนสุขาวดีเมืองสวรรค์ชั้นฟ้า ซึ่งมีนามว่า “ดุสิตาเทวภูมิ”  นี้เป็นเทพนครที่ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไป ในเบื้องบน ไกลแสนไกล ภายในเทพนครนี้ ปรากฏว่า มีปราสาทวิมานอยู่ ๓ ชนิด
๑. รัตนวิมาน = วิมานแก้ว  ๒. กนกวิมาน = วิมานทอง  ๓. รชตวิมาน = วิมานเงิน
ปราสาทวิมานเหล่านี้ ตั้งอยู่เรียงรายมากมาย  แต่ละ วิมานเป็นปราสาทสวยสดงดงาม มีความวิจิตรตระการตา เหลือที่จะพรรณา และมีรัตนปราการกำแพงแก้วล้อมรอบ ทุกวิมาน มีรัศมีรุ่งเรืองเลื่อมพรรณราย สวยงามยิ่งกว่า ปราสาทพิมานของเทพยดาในสรวงสวรรค์ชั้นยามาภูมิ
นอกจากนั้น สถานที่ต่างๆ ในเทวสถานชั้นนี้ ยังมี สระโบกขรณีและอุทยานอันเป็นทิพย์ สำหรับเป็นที่ เที่ยวเล่นให้ได้ความชื่นบานเริงสราญ แห่งเทพเจ้าชาวสวรรค์ชั้นนี้มากมายนัก 
สำหรับปวงเทพเจ้าผู้สถิตย์อยู่ในดุสิตสวรรค์นี้ แต่ละองค์ย่อมปรากฏมีรูปทรงสวยงาม มีความสง่ากว่า เหล่าเทพยดาชั้นต่ำๆ ทั้งมีน้ำใจรู้บุญรู้ธรรมเป็นอย่างดี มีจิตยินดีต่อการสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาเป็นยิ่งนัก ทุกวันธรรมสวณะ เทพเจ้าเหล่านี้ย่อมจะมีเทวสันนิบาต ประชุมฟังธรรมกันเสมอมิได้ขาดเลย
ทั้งนี้ ก็เพราะเหตุที่ องค์สมเด็จท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิราช จอมเทพ ผู้มีอิสริยยศยิ่งใหญ่ในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้ ทรงเป็นเทพเจ้า ผู้พหูสูต เป็นผู้รู้ธรรมะแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าเป็นอันมาก
อีกประการหนึ่ง ตามปกติดุสิตสวรรค์นี้ เป็นที่สถิตย์อยู่แห่งเทพบุตรผู้เป็นโพธิสัตว์ ซึ่งมีโอกาสจัก ได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็น องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคต เพราะฉะนั้นท่านท้าวสันดุสิตเทวาธิบดี จึงมักมีเทวโองการตรัสอัญเชิญให้เทพบุตรพระโพธิสัตว์ผู้ทรงปัญญานั้น เป็นองค์แสดงธรรมเช่นใน ปัจจุบันนี้ สมเด็จพระศรีอริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์ 
ผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือเป็นที่รู้จักกันในหมู่พุทธบริษัทว่า จักได้ ตรัสเป็นพระพุทธเจ้า ในอนาคตอันตรกัปที่ ๑๓ แห่ง ภัทรกัปนี้ พระองค์ก็สถิตอยู่ ณ สรวงสวรรค์ชั้นนี้ และมักได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงธรรม โปรดเหล่าเทพบริษัทในดุสิตสวรรค์นี้อยู่เสมอ
นอกจากจะเป็น สวรรค์ชั้นสำคัญดังกล่าวมาแล้ว ในขณะนี้ แดนสวรรค์ ชั้นดุสิต ยังเป็นที่สถิตย์อยู่ของเทพเจ้าองค์สำคัญ ซึ่งเราท่านทั้งหลายรู้จักกันดี เทพเจ้าองค์นี้ก็คือ พระสิริมหามายา เทพบุตรผู้มีบุรพวาสนาเป็นพระพุทธมารดาแต่ปางบรรพ์ทางไปสวรรค์ชั้นดุสิต คือต้องอุตส่าห์พยายามสร้างเสบียง 
กล่าวคือบุญกุศล ต้องมีกมลสันดานชอบสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา เพื่ออบรมปัญญาให้เจริญผ่องใส ไม่หวั่นไหวโยกคลอน ในการประกอบกุศล ไม่เป็นผู้มัวเมาประมาทในวัย และชีวิตของตน  เร่งสร้างกุศลเช่น บำเพ็ญทานและ รักษาศีลเป็นเนืองนิตย์
ทานสูตร ดูกรสารีบุตร ! ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวัง ให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า "บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำ ให้ประเพณี"  แต่ให้ทานด้วยคิดว่า... " เราหุงหากิน แต่สมณะหรือพราหมณ์ไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ไม่หุงหากิน ย่อมเป็นการไม่สมควร" เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำ กาลกิริยาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นดุสิต
ปุญญกิริยาวัตถุสูตร  (อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๖ หน้า ๒๔๕ บาลีฉบับสยามรัฐ)
ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ! บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง กระทำบุญกิริยาวัตถุด้วยศีลมีประมาณยิ่ง  ไม่เจริญบุญ กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อถึงกาลกิริยา ตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นดุสิต
ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ! ท้าวสันดุสิตเทพบุตร จอมเทพในชั้นดุสิตนั้น ได้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จ ด้วยทานเป็นอดิเรก ได้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย ศีลเป็นอดิเรก ท้าวเธอจึงทรงเจริญรุ่งเรือง ก้าวล่วง เหล่าเทวดาชั้นดุสิตสวรรค์ 
โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ
อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพะทิพย์สังคีติสูตร (ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๑ บาลีฉบับสยามรัฐ)
ดูกรสารีบุตร! บุคคลบางคนในโลกนี้ 
ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้าผ่อน ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่นั่ง ที่พัก ที่อาศัย และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ ประทีป ให้เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป โดยเขาได้ยินมาว่า
"พวกเทพเจ้าเหล่าดุสิตสวรรค์เป็นเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะงาม มากไปด้วยความสุข"
ดังนี้แล้ว เขาจึงจินตนาอธิษฐานอย่างนี้ว่า "โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพวกเทพเจ้าเหล่า ดุสิตสวรรค์เถิด" เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขา นั้นน้อมไปในสิ่งที่ต่ำ มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตนั้น ก็ข้อนี้แล เรากล่าวสำหรับบุคคลผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับบุคคลผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จลงได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ดังนี้
ที่มา : ปุญญกิริยาวัตถุสูตร  (อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๖ หน้า ๒๔๕ บาลีฉบับสยามรัฐ)
สังคีติสูตร (ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ ๓๔๖ หน้า ๒๗๑ บาลีฉบับสยามรัฐ)
๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๐
กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของภาพวาดสีน้ำมันนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน
ที่มา FB :เพจพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น