เจ้าชายลามะน้อย หลานชายกษัตริย์จิกมีแห่งภูฏาน ทรงระลึกชาติได้ถึง 800 กว่าปี...ไขข้อข้องใจ ทำไม? การระลึกชาติจึงมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก

ติดตามข่าวสารอื่นๆอีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

เจ้าชายลามะน้อย หลานชายกษัตริย์จิกมีแห่งภูฏาน ทรงระลึกชาติได้ถึง 800 กว่าปี...ไขข้อข้องใจ ทำไม? การระลึกชาติจึงมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก

สืบเนื่องจากกรณีเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 เวลา 9.00 น. พระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พร้อมด้วยคณะสงฆ์วัดสระเกศ พระเถรานุเถระมี พระธรรมโพธิวงศ์ หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล ถวายการต้อนรับ สมเด็จพระราชินีอาชิ เชริง เป็ม วังชุก พร้อมด้วยพระธิดา และรินโปเชลามะน้อย เจ้าชายราชวงศ์ภูฏาน ที่มีพระชันษา 3 ปี ซึ่งสามารถระลึกชาติได้ พร้อมเจริญศาสนสัมพันธ์ พุทธเถรวาท - พุทธตันตรยาน ณ พระอุโบสถ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานครนั้น

ในเพจเฟซบุ๊กของ รศ.ดร. ต่อตระกูล ยมนาค ก็เคยได้มีการโพสต์เรื่องราวการระลึกชาติได้ของลามะน้อย ด้วยข้อความว่าลามะน้อยองค์นี้ เป็นพระโอรส พระกนิษฐภคินี ( น้องสาว)ของ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี แห่งภูฐานได้ระลึกชาติ ว่าชาติที่แล้วเป็นอดีตพระลามะที่ภูฐาน ดำรงตำแหน่งสูงเป็น Lotsawa กลับชาติมาเกิด พระลามะผู้ใหญ่ได้นำไปพิสูจน์ตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ก็ทูลขอมาให้เป็นพระลามะเป็นเวลาเป็นปีแล้ว จนถือเป็นข่าวใหญ่อีกที่อินเดียเมื่อได้ไปเยี่ยมวิทยาลัยนาลันทา เมื่อ 1 มกราคม เพราะสามารถจำบริเวณห้องเรียนที่เคยเรียนเคยสอนได้

เจ้าชายลามะน้อย หลานชายกษัตริย์จิกมีแห่งภูฏาน ทรงระลึกชาติได้ถึง 800 กว่าปี...ไขข้อข้องใจ ทำไม? การระลึกชาติจึงมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก

ทั้งนี้ ในเรื่องของการระลึกชาติ นักจิตวิทยาส่วนหนึ่งเชื่อว่า เป็นเพราะจิตใต้สำนึก ที่ถูกบรรจุไว้ที่สมองซีกขวา ซึ่งเก็บความรู้สึกต่างๆในวัยเด็กไว้และค่อยๆ ปล่อยพลังออกมาเรื่อยๆ ตลอดชีวิต

แต่ในทางพุทธศาสนาบอกว่าจิตส่วนลึกจริงๆ ที่เรียกว่าจิตไร้สำนึก หรือ ภวังคจิตมีความรู้สึกที่ถูกเก็บไว้ข้ามภพข้ามชาติมานับร้อยนับพันภพชาติ และค่อยๆ ปล่อยพลังออกมาเช่นกัน แต่ไม่ว่า จะในทางจิตวิทยาหรือทางพุทธศาสนา สมองซีกขวา ก็คือทางผ่าน ของการใช้พลังจิตใต้สำนึกหรือจิตไร้สำนึก

การกำหนดจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในผู้บรรลุญาน จะพบว่า ความรู้สึกเหล่านั้นไม่ได้มาจากวัยเด็กทั้งหมด มีส่วนที่ฝังอยู่ในจิตส่วนลึกซึ่งข้ามภพชาติมาจริงๆ และสามารถย้อนระลึกความทรงจำได้หลายภพหลายชาติ ดังนั้นการระลึกชาติได้จึงเป็นไปได้สุงในผู้ที่ได้ฝึกสมาธิวิปัสสนามาเป็นอย่างดี


เนื่องจากความรู้สึก เป็นสิ่งที่อยู่เหนือกว่าสถานที่และกาลเวลา ( space – time ) การกำหนดสติเฝ้าดูความรู้สึก ตามหลักสติปัฏฐาน 4 เมื่อเกิดปัญญาญานจะหยั่งรู้ว่า ความรู้สึกบางอย่างถูกฝังมาจากหลายชาติภพ เพียงเมื่อระลึกได้ มันจะผุดขึ้นมาอย่างรวดเร็วในภพปัจจุบัน โดยมิได้จางหายไปตามกาลเวลา ความรู้สึกเมื่อร้อยปีก่อน หรือพันปีก่อน ความเข้มข้นเท่ากัน ความลับนี้พระพุทธองค์ทรงค้นพบ

คำสอนทางพระพุทธศาสนาจึงเน้นย้ำไปที่การทำความเข้าใจเรื่องความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัสสะ(การรับสัมผัส) เวทนา(ความรู้สึกชอบ) ตัณหา(ความรู้สึกอยาก) อุปาทาน(ตัวกู ของกู) เมื่อกำหนดสติได้ไวพอที่จะจับความรู้สึก จะพบว่า ความรู้สึกต่างๆที่ผุดขึ้นมาในใจ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ มีเหตุและปัจจัย ทำให้เกิด เพียงแต่ ลืมไปหมดแล้วว่าเพราะอะไร

หลายคนอาจเกิดคำถามขึ้นในใจว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว สมองซีกขวา กับ จิตวิญญาณ คือส่วนเดียวกันใช่หรือไม่ สำหรับในทางการแพทย์ที่ไม่เชื่อเรื่องของการเกิดใหม่ อาจจะบอกเช่นนั้น แต่ความจริงแล้ว สมองซีกขวา คือประตูที่จะเปิดเข้าสู่จิตไร้สำนึก (Unconscious mind) เปรียบได้กับภวังคจิตในทางพุทธศาสนานั่นเอง จิตส่วนนี้มีฐานข้อมูลร่วมกับจิตจักรวาล ดังนั้นแม้จะตาย สมองเสียไปแล้ว ความรู้สึกส่วนนี้จะยังคงอยู่ในอีกมิติ และเมื่อไปเกิดใหม่ ก็จะแสดงผลอีกครั้ง

เด็กวัย 1-8 ขวบจะใช้สมองซีกขวาถึง 80 - 95% และค่อยๆลดลงเหลือเพียง 5 - 10% ในวัยผู้ใหญ่ ทำให้คนเราเมื่อเติบโตขึ้น จะจำเรื่องราวต่างๆในช่วง 1-8 ขวบไม่ค่อยได้ ความจริงแล้วความทรงจำเหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน มันยังคงฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก นอกจากนั้น มีการวิจัยพบว่า คนที่ระลึกชาติได้ ส่วนใหญ่เมื่อผ่านพ้นวัยสิบขวบ ความสามารถในการระลึกชาติจะลดลง นั่นก็เพราะว่าสมองซีกซ้ายเริ่มมีอิทธิพลเหนือสมองซีกขวา ทำให้ความสามารถในการหยั่งรู้ลดลง

เจ้าชายลามะน้อย หลานชายกษัตริย์จิกมีแห่งภูฏาน ทรงระลึกชาติได้ถึง 800 กว่าปี...ไขข้อข้องใจ ทำไม? การระลึกชาติจึงมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก

เจ้าชายลามะน้อย หลานชายกษัตริย์จิกมีแห่งภูฏาน ทรงระลึกชาติได้ถึง 800 กว่าปี...ไขข้อข้องใจ ทำไม? การระลึกชาติจึงมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก

เจ้าชายลามะน้อย หลานชายกษัตริย์จิกมีแห่งภูฏาน ทรงระลึกชาติได้ถึง 800 กว่าปี...ไขข้อข้องใจ ทำไม? การระลึกชาติจึงมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก

 

ภาพและข้อมูลจาก ต่อตระกูล ยมนาคเดอะท้อปซีเคร็ด” โดย ทันตแพทย์สม สุจิรา