- 09 เม.ย. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
บทสวดมนต์ที่จะใช้ในคืนวันปีใหม่ไทย ๑๓ เม.ย.๖๑ (สวดธาตุในคืนวันสงกรานต์)
สาธยาย ความเป็นมา ของการสวดทิพยมนต์ (สวดธาตุ)
......ทิพยมนต์ บทสวดของท่านพ่อลี ธมฺมธโร บทนี้ได้เขียนเป็นสายบรรทัดเครื่องจูงใจของผู้ปฏิบัติให้บรรลุถึงความบริสุทธิ์ เพราะมนต์บทนี้ย่อมให้ผลดีแก่ผู้ที่ท่องบ่น เพราะเป็นเรื่องในตัวของเราเอง ธรรมดาคนที่เกิดมาย่อมอาศัยอยู่ในธาตุทั้ง ๖ ธาตุเหล่านั้นสะสมขึ้นด้วยการกระทำของตนเอง ดีบ้าง ชั่วบ้าง
เมื่อเป็นเช่นนี้ธาตุเหล่านี้ย่อมลงโทษแก่ผู้อาศัยอยู่เปรียบเหมือนกับเด็ก มันเป็นสิ่งที่คอยรบกวนใจอยู่เสมอ
ฉะนั้นการสวดมนต์ก็เท่ากับว่าเราเลี้ยงเด็กบำรุงเด็กให้ได้รับความสมบูรณ์ เมื่อเด็กได้รับความสมบูรณ์เช่นนั้นแล้ว ผู้ใหญ่ย่อมได้รับความสะดวกสบาย ฉะนั้นถ้าใครเสกบ่นเท่ากับว่า เราเลี้ยงเด็กแล้วด้วยอาหาร เรากล่อมเด็กแล้วด้วยเพลงอันไพเราะ คือ พุทธคุณ อำนาจพุทธคุณนี้ อาจจะทำธาตุของตนให้บริสุทธิ์ขึ้นเป็นธาตุกายสิทธิ์ เหมือนแร่ธาตุที่มีอยู่ในโลก ย่อมแล่นหรือดึงดูดถึงกันได้ทุกวินาที หรือเปรียบเสมือนสายไฟฟ้า ส่วนมนต์คาถาที่สวดเปรียบเหมือนกระแสไฟมุ่งไปทิศใด ย่อมถึงที่นั้นๆ อาจที่จะทำให้ดินฟ้าอากาศเป็นมงคล
เพราะมนต์หมวดนี้เป็นมนต์กบิลฤาษีปนอยู่ด้วยตามเรื่องที่เล่าไว้ ดังนี้
...ในอดีตกาล มีฤาษีตนหนึ่งไปเจริญทิพยมนต์ อยู่ในป่าสัก ณ ประเทศอินเดียตามตำนานเล่าว่า ในป่านั้นเป็นมหามงคล เช่น ต้นไม้ทั้งหลายสับเปลี่ยนกันเกิดดอกออกผล อยู่ตลอดทุกฤดูกาล มีน้ำใสสะอาด สัตว์ตัวไหนเจ็บป่วยวิ่งผ่านเข้าไปได้กินน้ำในที่นั้น อาการป่วยนั้นก็จะสูญสิ้นไป สัตว์ที่ดุร้ายและโหดร้ายเบียดเบียนกัน
เมื่อเข้าไปผ่านในสถานที่นั้นก็ราวกับว่าเป็นเพื่อนเป็นมิตรกันเอง สัตว์ทั้งหลายก็อาศัยป่านั้นอยู่โดยความรื่นเริง ถ้าหากว่าความตายจะมาถึงตนก็ต้องดิ้นรนไปตายที่อื่น ในที่นี้พวกชาวศากยสกุลวงศ์ของพระพุทธเจ้า ได้ไปตั้งเมืองหลวงในนั้นเรียกว่า กรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งยังเป็นบ้านเมืองมาจนบัดนี้ (เนปาล)
นี่เกิดความศักดิ์สิทธิ์ซึ่งกบิลฤาษีได้ไปเจริญทิพยมนต์อยู่ในที่นั้น วิธีเจริญของฤาษีตนนั้น
วาระแรกเขาได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกได้เจริญมนต์หมวดนี้อยู่ ตลอด ๗ วัน
วาระที่ ๒ เขาหันหน้าไปทางทิศอุดร
วาระที่ ๓ เขาได้หันหน้าไปทางทิศ ใต้
วาระที่ ๔ เขาได้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก
วาระที่ ๕ เขาได้หันหน้าลงไปทาง ใต้พื้นปฐพี
วาระที่ ๖ เขาได้ยกมือแหงนหน้าขึ้นไปในอากาศ ทำจิตให้สะอาดเอารัศมี ของดวงดาวเป็นนิมิต
วาระที่ ๗ เขาได้เจริญอานาปาน์ปล่อยลมของเขาเองออก ทุกทิศ โดยอำนาจแห่งกำลังจิตที่ประกอบด้วยพรหมวิหารทั้ง ๔ ที่เรียกว่า “ทิพยมนต์” ดังเล่ามานี้ตามเรื่องของชาวอินเดียเล่าให้ฟัง
ต่อจากนั้นก็ให้นึกถึงพระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ด้วยคุณธรรมอันเลิศ จนพระองค์สามารถจะเสกธาตุของพระองค์เองให้บริสุทธิ์ยิ่งกว่าธาตุใดๆ เช่น พระบรมธาตุอันเป็นธาตุกายสิทธิ์ซึ่งมีปรากฏอยู่ในผู้เคารพนับถือ ได้ทราบข่าวว่าเสด็จมาบ้าง เสด็จหนีบ้างซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดมาก สิ่งเหล่านี้ก็สำเร็จมาจากดวงจิตอันบริสุทธิ์นั่นเอง เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้วธาตุทั้ง ๖ ก็พลอยบริสุทธิ์ได้ด้วย
เมื่อธาตุเหล่านี้เนื่องอยู่ด้วยโลก อาจจะทำโลกให้ได้รับความ
ชุ่มเย็นไปด้วยก็ได้ เพราะธาตุทั้งหมดย่อมต่อเนื่องถึงกัน ถ้าพวกเราพุทธบริษัทตั้งใจประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น เชื่อแน่ว่าต้องได้รับผลดีตามจำนวนของปริมาณ ถ้าหากว่าจิต มิได้ฝึกหัดในทางนี้ มัวแต่สะสมความชั่วใส่ตน จิตก็ต้องเดือดร้อน
“จิตดีโลกก็ต้องดี จิตชั่วโลกก็ต้องชั่ว”
ฉะนั้นจึงได้เขียนแนวทางอบรมดวงจิตเพื่อสร้างความร่มเย็นต่อไป.
ทิพยมนต์ มนต์ของท่านพ่อลี
(บทสวดธาตุ)
สวดมนต์ด้วยพระพุทธคุณตั้งธาตุทั้ง ๖
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ (สามจบ)
พุทธัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
ธัมมัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
สังฆัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
(แล้วว่า ทุติยัมปิ, ตติยัมปิ, ฯลฯ ให้ครบ ๓ รอบ)
หมวดธาตุลม ๓ ข้อ ดังนี้
๑. วาโย จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง.
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิฑู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
๒. วาโย จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง.
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญหีติฯ
๓. วาโย จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิโน ภะคะวา นะมามิหัง.
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
ธาตุปะริสุทธานุภาเวนะ, สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา
วิมุจจันติ, อิติอุทธะมะโร ติริยัง สัพพะธิ สัพพัตตะตายะ สัพพาวันตัง โลกัง, เมตตา กะรุณา มุทิตา อุเปกขา สะหะคะเตนะ เจตะสา,
จะตุททิสัง ผะริตวา วิหะระติ, สุขัง สุปะติ สุขังปะฏิพุชฌะติ, นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ, มะนุสสานังปิโย โหติ, อะมะนุสสานัง
ปิโย โหติ, เทวะตา รักขันติ, นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมิติ, ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ, มุขวัณโณ วิปปะสีทะติ, อะสังมุฬโห กาลัง กะโรติ, อุตตะริงอัปปะฏิวิชฌันโต พรัหมะโลกูปะโค โหติ, อิติ อุทธะมะโธ ติริยัง อะเวรัง อะเวรา สุขะชีวิโน,
กะตัง ปุญญะผะลังมัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต, ภะวะตุ สัพพะมังคะลังรักขันตุ สัพพะเทวะตา, สัพพะพุทธานุภาเวนะ สัพพะธัมมานุภาเวนะ สัพพะสังฆานุภาเวนะ โสตถี โหนตุ นิรันตะรัง, อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภคะวา นามามิหังฯ
(วิธีเปลี่ยนธาตุ เหมือนข้อต้นทั้งหมด)
คือ ข้อ ๑ พุทธคุณ ข้อ ๒ ธรรมคุณ และข้อ ๓ สังฆคุณ แล้วต่อด้วยบท “ธาตุปริสุทธานุภาเวนะ ฯลฯ” เป็นการเปลี่ยนแต่ชื่อธาตุเท่านั้น.
หมวดธาตุไฟ
๑. เตโช จะ พุทธะคุณัง ฯลฯ
๒. เตโช จะ ธัมเมตัง ฯลฯ
๓. เตโช จะ สังฆานัง ฯลฯ
หมวดธาตุน้ำ
๑. อาโป จะ พุทธะคุณัง ฯลฯ
๒. อาโป จะ ธัมเมตัง ฯลฯ
๓. อาโป จะ สังฆานัง ฯลฯ
หมวดธาตุดิน
๑. ปะฐะวี จะ พุทธะคุณัง ฯลฯ
๒. ปะฐะวี จะ ธัมเมตัง ฯลฯ
๓. ปะฐะวี จะ สังฆานัง ฯลฯ
หมวดอากาศธาตุ
๑. อากาสา จะ พุทธะคุณัง ฯลฯ
๒. อากาสา จะ ธัมเมตัง ฯลฯ
๓. อากาสา จะ สังฆานัง ฯลฯ
หมวดวิญญาณธาตุ
๑. วิญญาณัญ จะ พุทธะคุณัง ฯลฯ
๒. วิญญาณัญ จะ ธัมเมตัง ฯลฯ
๓. วิญญาณัญ จะ สังฆานัง ฯลฯ
ให้สนใจท่องในหมวดต้นให้แม่นยำ ส่วนธาตุที่ต่อมานั้นจะเข้าใจและจำง่าย เพราะเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนธาตุเท่านั้น ธาตุทั้ง ๖ หมวดนี้ มีอยู่ในตัวของเราผู้สวดทุกคน เพราะฉะนั้นเวลาสวดให้นึกถึงธาตุนั้นๆ ด้วย เช่น ลม-ส่วนที่พัด ไปมา มีลมหายใจเป็นต้น ไฟ-ความอบอุ่น น้ำ-มีอาการเหลว ๆ ดิน-แข็ง อากาศ-ช่องว่าง วิญญาณ-ความรู้ ดังนี้เป็นต้น การสวดจึงจะเป็นประโยชน์มาก.
อนึ่ง เมื่อจะสวดธาตุในพิธีอื่น เช่นการสวดธาตุเพื่อเป็นการเจริญอายุและจิตใจของผู้ป่วย หรือสวดสลับในพิธีพุทธาภิเษกเป็นต้น นิยมสวดขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และ อาการ ๓๒ เพิ่มเติมด้วย การสวดทำนองเดียวกับการสวดธาตุทุกอย่าง เปลี่ยนแต่ ชื่อขันธ์ อายตนะ และอาการ ๓๒ ไปด้วยลำดับเท่านั้น.
หมวดขันธ์ ๕
๑. รูปัญ จะ
๒. เวทะนา จะ
๓. สัญญา จะ
๔. สังขารา จะ
๕. วิญญาณณัญ จะ
หมวดอายตนะ ๑๒๑. จักขุ จะ
๒. โสตัญ จะ
๓. ฆานัญจะ
๔. ชิวหา จะ
๕. กาโย จะ
๖. มะโน จะ
๗. รูปัญจะ
๘. สัทโท จะ
๙. คันโธ จะ
๑๐. ระโส จะ
๑๑. โผฏฐัพพา จะ
๑๒. ธัมมารัมมะณัญ จะ
หมวดอาการ ๓๒
๑. เกสา จะ
๒. โลมา จะ
๓. นะขา จะ
๔. ทันตา จะ
๕. ตะโจ จะ
๖. มังสัญ จะ
๗. นะหารู จะ
๘. อัฏฐี จะ
๙. อัฏฐิมิญชัญ จะ
๑๐. วักกัญ จะ
๑๑. หะทะยัญ จะ
๑๒. ยะกะนัญ จะ
๑๓. กิโลมะกัญ จะ
๑๔. ปิหะกัญ จะ
๑๕. บัปผาสัญ จะ
๑๖. อันตัญ จะ
๑๗. อันตะคุณัญ จะ
๑๘. อุทะริยัญ จะ
๑๙. กะรีสัญ จะ
๒๐. มัตถะลุงคัญ จะ
๒๑. ปิตตัญ จะ
๒๒. เสมหัญ จะ
๒๓. ปุพโพ จะ
๒๔. โลหิตัญ จะ
๒๕. เสโท จะ
๒๖. เมโท จะ
๒๗. อัสสุ จะ
๒๘. วะสา จะ
๒๙. เขโฬ จะ
๓๐. สิงฆาณิกา จะ
๓๑. ละสิกา จะ
๓๒. มุตตัญจะ
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูล
ลูกศิษย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม
เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทาน