- 12 มิ.ย. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
ข้อธรรมะที่องค์หลวงปู่มั่นเขียนด้วยลายมือของท่านเอง
จากหนังสือ "ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ"
คำว่า ศีล ได้แก่สภาพเช่นไร ศีลอย่างแท้จริงเป็นไปด้วยความมีสติ รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม คอยบังคับกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในขอบเขตของศีลที่เป็นสถาพปกติ ศีลที่เกิดจากการรักษามีสภาพปกติไม่คะนองทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นที่เกลียด นอกจากความปกติงดงามทางกาย วาจา ของผู้มีศีล ว่าเป็นศีลเป็นธรรม เราควรรักษาศีล ๕
พระพุทธรูป
พระพุทธรูป
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
๑.สิ่งมีชีวิต เป็นสิ่งที่มีคุณค่า จึงไม่ควรเบียดเบียนข่มเหงและทำลายคุณค่าแห่งความเป็นอยู่ของเขาให้ตกไป
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
๒.สิ่งของของใคร ๆ ก็รักและสงวน ไม่ควรทำลาย ฉก ลัก ปล้น จี้เป็นต้น อันเป็นการทำลายสมบัติและทำลายจิตใจกัน
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
๓.ลูก หลาน สามี ภรรยาใคร ๆ ก็รักสงวนยิ่ง ไม่ปราถนาให้ใครมาอาจเอื้อมล่วงเกิน เป็นการทำลายจิตใจของผู้อื่นอย่างหนัก และเป็นบาปไม่มีประมาณ
๔.มุสา การโกหกพกลม เป็นสิ่งทำลายความเชื่อถือของผู้อื่นให้ขาดสะบั้นลงอย่างไม่มีดี แม้เดรัจฉานเขาก็ไม่พอใจคำหลอกลวง จึงไม่ควรโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นเสียหาย
ดอกบัว
๕.สุรา ยาเสพติด เป็นของมึนเมาและให้โทษ ดื่มเข้าไปย่อมทำให้คนดีๆ กลายเป็นคนบ้าได้ ลดคุณค่าลงโดยลำดับ ผู้ต้องการเป็นคนดีมีสติปกครองตัวอย่างมนุษย์ จึงไม่ควรดื่มสุราเครื่องทำลายสุภาพทางร่างกายและใจอย่างยิ่ง เป็นทำลายตัวเองและผู้อื่นได้ด้วยในขณะเดียวกัน
อานิสงส์ของศีล ๕ เมื่อรักษาได้
๑.ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
๒.ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวีเบียดเบียนทำลาย
๓.ระหว่างลูก หลาน สามี ภรรยาอยู่ด้วยกันเป็นผาสุกไม่มีผู้คอยล่วงล้ำกล้ำกราย ต่างครองกันอยู่ด้วยความเป็นสุข
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
๔.พูดอะไรมีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจ ไพเราะด้วยสัตย์ด้วยศีล
๕.เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้าหลงหลัง จับโน่นชนนี่เหมือนคนบ้าคนบอหาสติไม่ได้
พระพุทธรูป
ผู้มีศีลเป็นผู้ปลูกและส่งเสริมสุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลกให้มีแต่ความอบอุ่น ไม่เป็นที่ระแวงสงสัย ผู้ไม่มีศีลเป็นผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า
อ่านเพิ่มเติม... "ผีเปรต คืนวันพระ"หลังเที่ยงคืนมักออกมาขอส่วนบุญ!!
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้
จากหนังสือขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
เผยแผ่เพื่อเป็นธรรมทาน