- 15 มิ.ย. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
หลายคนคงเคยเห็นภาพนักโทษที่ถูกล่ามโซ่ตรวน เป็นภาพที่เห็นกันจนชินตา เวลาไปไหนมาไหนก็จะลำบาก ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการจองจำผู้กระทำผิด แต่หากลองย้อนไปใสมัยโบราณนั้น การจองจำแบบนี้ยังไม่ค่อยมีให้เห็นกันมากนัก จากละครหนึ่งด้าวฟ้าเดียว ก็ได้ถ่ายทอดในเรื่องของ เอ็นร้อยหวาย ซึ่งเป็นฉากที่พม่าได้ต้อนเชลยคนไทย ไปอังวะ โดยการเจาะรูที่ส้นเท้า แล้วหวายร้อย เพื่อไม่ให้หนีนั่นเอง
หากลองย้อนไปในสมัยก่อน การจองจำหรือควบคุมนักโทษนั้น มีวิธีที่น่ากลัวกว่านี้มากนัก เนื่องด้วยต้องนำหวายมาร้อยบริเวณข้อเท้า ซึ่งที่เขาเรียกว่า เอ็นร้อยหวายนั้นเอง แต่ใครจะรู้ว่า สาเหตุที่เรียกว่า เอ็นร้อยหวายนั้น ก็มาจากเหตุนี้เอง
เอ็นร้อยหวายนั้น ที่มาของชื่อนี้ ก็มาจากการที่เขาจับเอานักโทษหรือเชลย ในสมัยก่อน กวาดต้อนกลับไปเป็น แรงงานประเทศของตัวเอง ซึ่งบางครั้งมีจำนวนมาก จึงควบคุมด้วยการเจาะข้อเท้า ตรงเอ็นร้อยหวาย เพื่อเอาหวายไปสอดใส่ ร้อยเป็น เส้นต่อๆกัน ของนักโทษ
เอ็นร้อยหวาย
คำว่า เอ็นร้อยหวาย เอ็นของกล้ามเนื้อน่องที่ยึดกับส่วนบนกระดูกส้นเท้า. เมื่อกล้ามเนื้อน่องหดตัวจะดึงเอ็นนี้ทำให้ฝ่าเท้ากดลงและดันไปข้างหลัง ผลักให้เคลื่อนไหวไปข้างหน้าขณะเดินหรือวิ่ง เหตุที่เรียกเอ็นเส้นนี้ว่า เอ็นร้อยหวาย ก็เนื่องจากในสมัยโบราณ เมื่อจะนำนักโทษไปที่ใดจะใช้หวายร้อยเข้าตรงเอ็นนี้ เพื่อไม่ให้หนีไปได้ เหตุที่ร้อยเข้าบริเวณนี้ เพราะเป็นบริเวณที่ไม่มีเส้นเลือดใหญ่ จึงทำให้เลือดไม่ไหลออกมามาก
เหตุที่เรียกเพราะ สมัยก่อนเวลาจะล่ามเชลยหรือนักโทษ จะล่ามตรงบริเวณเอ็นร้อยหวาย เพราะบริเวณนี้ ไม่มีเส้นเลือดใหญ่นั่นเอง
สำหรับในปัจจุบัน พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.๒๔๗๙ กำหนดเรื่องการใช้เครื่องพันธนาการไว้ว่า
มาตรา ๑๔ ห้ามมิให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง เว้นแต่
(๑) เป็นบุคคลที่น่าจะทำอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของตนเองหรือผู้อื่น
(๒) เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตไม่สมประกอบอันอาจเป็นภยันตรายต่อผู้อื่น
(๓) เป็นบุคคลที่น่าจะพยายามหลบหนีการควบคุม
(๔) เมื่อถูกคุมตัวไปนอกเรือนจำ เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องใช้เครื่องพันธนาการ
(๕) เมื่อรัฐมนตรีสั่งว่าเป็นการจำเป็นจะต้องใช้เครื่องพันธนาการเนื่องแต่สภาพของเรือนจำหรือสภาพการณ์ของท้องถิ่น
ภายใต้บังคับอนุมาตรา (๔) และ (๕) แห่งมาตรานี้ ให้พัศดีเป็นเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะสั่งให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขังและที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้น
ส่วนเครื่องพันธนาการที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้เป็นอย่างไรนั้น ต้องดูในกฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความใน มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.๒๔๗๙ ซึ่งเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ในเรือนจำ กฎกระทรวงนี้ถูกแก้ไขหลายครั้งตามยุคสมัยและวิธีคิดเกี่ยวกับการดูแลนักโทษจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งกำหนดไว้ว่า
ข้อ ๒๕ เครื่องพันธนาการที่จะใช้แก่ผู้ต้องขังนั้นมี ๔ ประเภท คือ
(๑) ตรวน
(๒) กุญแจมือ
(๓) กุญแจเท้า
(๔) โซ่ล่าม
ข้อ ๒๖ ตรวนมี ๓ ขนาด คือ
(๑) ขนาดที่ ๑ วัดผ่าศูนย์กลางเหล็กวงแหวน ๑๐ มิลลิเมตร
(๒) ขนาดที่ ๒ วัดผ่าศูนย์กลางเหล็กวงแหวน ๑๒ มิลลิเมตร
(๓) ขนาดที่ ๓ วัดผ่าศูนย์กลางเหล็กวงแหวน ๑๗ มิลลิเมตร
โซ่ระหว่างวงแหวนของตรวนขนาดที่ ๑ และขนาดที่ ๓ ให้มีความยาวไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตรและไม่เกิน ๗๕ เซนติเมตร กับให้มีขนาดของลูกโซ่ซึ่งวัดผ่าศูนย์กลางเหล็กสำหรับขนาดที่ ๑ ไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร และสำหรับขนาดที่ ๓ ไม่เกิน ๑๗ มิลลิเมตร ส่วนโซ่ระหว่างวงแหวนของตรวนขนาดที่ ๒ ให้มีความยาวไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร และไม่เกิน ๗๐ เซนติเมตร กับให้มีขนาดของลูกโซ่ซึ่งวัดผ่าศูนย์กลางเหล็กไม่เกิน ๔.๗๕ มิลลิเมตร
ข้อ ๒๘ การใช้เครื่องพันธนาการกับผู้ต้องขังนั้น โดยปกติให้ใช้ตรวนขนาดที่ ๑ หรือขนาดที่ ๒ หรือกุญแจเท้า เว้นแต่เห็นว่ามีเหตุจำเป็นหรือศาลได้มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกผู้ต้องขังนั้นตั้งแต่สามปีขึ้นไป หรือเป็นผู้ต้องขังในคดีอุกฉกรรจ์จะใช้ตรวนขนาดที่ ๓ ก็ได้
ในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยา พม่าจับเชลยคนไทยได้มากเกินกว่าจะมีเครื่องพันธนาการเพียงพอ จึงเจาะบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้า แล้วจึงร้อยด้วยหวายติดกันเป็นพวงเพื่อกวาดต้อนเชลยไทยให้เดินทางไปยังกรุงอังวะ นับแต่นั้นมาคนไทยเรียกบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้าว่า "เอ็นร้อยหวาย"
เมื่อมีเหตุน่าเชื่อว่าผู้ต้องขังจะทำอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายผู้อื่น และเห็นว่าไม่มีทางอื่นที่จะป้องกันได้ดีกว่า ให้ใช้กุญแจมือหรือโซ่ล่ามเพิ่มขึ้นนอกจากตรวน หรือกุญแจเท้าได้ ในกรณีที่ต้องนำตัวคนต้องขังหรือคนฝากไปนอกเรือนจำ ถ้าจะใช้เครื่องพันธนาการ ให้ใช้กุญแจมือ เว้นแต่คนต้องขังในคดีอุกฉกรรจ์จะใช้ตรวนหรือกุญแจเท้าก็ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ขอบคุณภาพจากละคร หนึ่งด้าวฟ้าเดียว ช่อง 3