- 17 มิ.ย. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
หลวงพ่อสงวน ธมฺมานนฺโท วัดไผ่พันมือ จ.สุพรรณบุรี
ยอดเกจิผู้เชี่ยวชาญ ผงอิทธิเจ อีกรูปหนึ่ง ในวงการพระยุคปัจจุบัน หากพูดถึงผงอิทธิเจ ไม่มีใครไม่รู้จักท่าน
เจ้าของประสบการณ์
"มีพระหลวงพ่อสงวน แม้แต่กระหรี่แก่ๆ ยังหาผัวได้"
หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ
หลวงพ่อสงวนเป็นพระเกจิอีกรูปหนึ่ง ที่เคยเงียบจนไม่มีคนสนใจ ให้ฟรีก็ไม่มีใครเอา สมัยท่านยังอยู่หรือแม้แต่หลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว ก็ยังไม่มีคนสนใจ
หลวงพ่อท่านเชี่ยวชาญในการเสกผงฯ เสกได้ขลังจนมีชื่อเสียงโด่งดัง แม้แต่การเสกน้ำมนต์ท่านยังใช้ผงฯใส่ลงในโอ่ง เสกเหรียญท่านก็แช่เหรียญลงในโอ่งน้ำมนต์
หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ
หลวงพ่อสงวนท่านเก่งและเจนจบวิชาการทำผงต่างๆ ไม่ว่า ผงตรีนิสิงเห อิทธิเจ มหาราชฯ ท่านทำได้หมดและทำได้เข้มขลังมากๆซะด้วย โดยเฉพาะผงทาง เมตตา มหาเสน่ห์ชั้นสูง นั้นถือว่าท่านทำได้ “ขึ้น” เลยทีเดียว
นอกจากหลวงพ่อสงวนแล้วพระที่เก่งผงอิทธิเจ อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่ปรง วัดธรรมเจดีย์ หลวงพ่อบุญชู วัดหัวว่าว
หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ
หลวงพ่อสงวน ธัมมานันโท
ชาตะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐
มรณะภาพ เมื่อวันที่ ๑๔ ก.พ. ๒๕๓๖
หลวงพ่อเป็นคนสุพรรณบุรีโดยกำเนิด เกิดที่อำเภอบางปลาม้า ตั้งแต่เป็นเด็กท่านมีนิสัยนักเลง เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ไม่ยอมคน ไม่กลัวใคร เข้าสู่วัยรุ่นได้คบหากับเพื่อนที่มีนิสัยคล้ายกันจนได้มารู้จักสนิมสนมกับเสือในสมัยก่อน อาทิ เสือมเหศวร เสือดำ เป็นต้น แต่ท่านมีอายุน้อยกว่าจึงคบหากันเป็นลูกพี่ลูกน้องกันจนภายหลังท่านได้มาบวชเรียนครองผ้าเหลืองเสือมเหศวรยังคงได้ไปมาหาสู่กับท่าน ตลอดจนช่วยท่านสร้างวัดไผ่พันมือ จนกระทั่งท่านมรณภาพลงเสือมเหศวรก็ยังมาเป็นประธานในงานฌาปนกิจของท่าน
หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ
เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๐ กว่าๆทางการเร่งปราบปราม บรรดาเสือและสมัครพรรคพวก โยมบิดา มารดา เกรงจะถูกทางราชการเพ่งเล็งว่าเป็นสมัครพรรคพวกของเสือในจังหวัดสุพรรณบุรี โยมบิดา มารดาจึงขอให้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดองค์รักษ์ ซึ่งมีหลวงพ่ออรรถ เป็นเจ้าอาวาส และได้รับทราบวิชาการสร้างลูกอมมาจากหลวงพ่ออรรถนี่เอง ลูกอมหลวงพ่ออรรถเป็นเนื้อเทียนชัย มีพระพุทธคุณทางด้านแคล้วคลาดป้อง กันสัตว์ร้ายเขี้ยวงา แม้กระทั่งฟ้าผ่า เป็นที่เลื่องลือและนิยมแสวงหาของคนในพื้นที่
หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ
จนเมื่ออายุครบบวช หลวงพ่อได้อุปสมบทที่วัดสังโฆษิตาราม เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๘๐ มีหลวงพ่อครื้น อมโร เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งต่อมาภายหลังหลวงพ่อสงวนท่านได้เล่าเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับอาจารย์ของท่าน ท่านนี้ให้ศิษย์ของท่านฟังมากมาย มักเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์พิเศษที่ท่านเคยเห็นมากับตา อาทิ การเดินผ่านทะลุฝาผนังกุฏิ การเรียกหรือห้ามลม ฝน การปลุกเสกพระเครื่องรางฯ ฯลฯ
หลังจากบวชเป็นพระแล้วท่านได้เล่าเรียนธรรมะศึกษา พระปริยัติธรรมได้นักธรรมตรี-โท-เอก และอักขระเลขยันต์คาถาอาคม การเขียนผงลบผงอิทธิเจจากพระอุปัชฌาย์จนเชี่ยวชาญพร้อมๆกันนั้น ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อครื้น ด้วยหลังจากอุปสมบท ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดองครักษ์ อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี ราว ๔-๕ พรรษา ชาวบ้านเลื่อมใสในปฏิปทาต้องการให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส แต่ท่านไม่รับตำแหน่ง หวังจะศึกษาวิชาคาถาอาคมที่ได้ร่ำเรียนมา จึงได้ย้ายไปอยู่ที่วัดบ้านกร่าง ในราวปี พ.ศ.๒๔๙๐ จนในที่สุดได้ลาสิขาบท เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ที่วัดบ้านกร่าง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ
จากนั้นจึงได้พบหญิงคนรัก มีครอบครัว บุตรและธิดา รวม ๒ คน ระหว่างที่ท่านได้ครองเรือนอยู่นั้น ท่านก็ยังใฝ่ในพระธรรม คงมาถือศีลปฏิบัติธรรมอยูที่วัดห้วยสุวรรณก่อนที่ท่านจะเข้าอุปสมบทอีกครั้งในราวปี พ.ศ. ๒๕๐๕ บวชครั้งนี้ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งแฝก จำพรรษาที่วัดทุ่งแฝก ประมาณ ๖ - ๗ พรรษา ในช่วงนี้ท่านมีญาติโยมไปมาหาสู่ มาขอพึงบารมีท่านเป็นจำนวนมาก ท่านจึงเริ่มสร้างพระและเครื่องรางในราวปี พ.ศ.๒๕๑๐ ส่วนใหญ่จะเป็นลูกอมเนื้อผงอิทธิเจ แจกแก่ญาติโยม เป็นครั้งแรก แต่ส่วนมากจะแจกให้แก่เด็กๆ เพราะในสมัยนั้นชาวบ้านไม่ชอบลูกอมกัน เพราะยังไม่รู้จัก และยังไม่เห็นประสบการณ์
หลังจากที่เด็กๆแขวนลูกอมของท่านถูกหมากัดแต่ไม่เข้า จึงมีชาวบ้านที่รู้ข่าว เห็นประสบการณ์มาขอลูกอมท่านกันมากขึ้นๆ จนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเช่นปัจจุบัน
หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ
ราวปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งแฝกได้ระยะหนึ่งเกิดขัดแย้งกันภายในวัด ท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดไผ่พันมือ หมู่ที่ ๖ ตำบลดอนปรู อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งขณะนั้น เป็นวัดร้าง ท่านก็เริ่มสร้างกุฏิไม้หลังเล็กๆขึ้นและจำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียว ออกบิณฑบาตทุกวันต้องเดินเท้าระยะทางไกลประมาณ ๕-๖ ก.ม. ต้องตื่นแต่เช้าตรู่ จึงจะทันชาวบ้านตักบาตร
หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ
หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ
อ่านเพิ่มเติม...คาถาแคล้วคลาด "หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด"ปลอดภัยทุกนาที
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้
พระเกจิอยุธยา
http://baanjompra.com/
เพื่อเผยแผ่กิตติคุณเป็นสังฆบูชา