อายุรแพทย์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ความรู้ อาการไขมันพอกตับ

ปัจจุบันผู้คนสามารถเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายขึ้น ยิ่งโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน ยิ่งพบเจอได้ง่าย เวลาตรวจสุขภาพต้องมานั่งลุ้นว่า คอเลสเตอรอลจะเกินไหม ไตรกลีเซอไรด์จะพุ่งหรือไม่ โดยเฉพาะค่าน้ำตาลในเลือดที่มีผลให้เกิดความเสี่ยงสารพัดโรค ซึ่งนอกจากโรคเบาหวานแล้ว ยังมีอีกหนึ่งโรคที่น่ากลัวไม่แพ้กัน คือ ไขมันพอกตับ เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่รับประทานแล้วไปใช้ได้หมด จนทำให้เกิดการสะสมอยู่ที่ตับ

ปัจจุบันผู้คนสามารถเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายขึ้น ยิ่งโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน ยิ่งพบเจอได้ง่าย เวลาตรวจสุขภาพต้องมานั่งลุ้นว่า คอเลสเตอรอลจะเกินไหม ไตรกลีเซอไรด์จะพุ่งหรือไม่ โดยเฉพาะค่าน้ำตาลในเลือดที่มีผลให้เกิดความเสี่ยงสารพัดโรค ซึ่งนอกจากโรคเบาหวานแล้ว ยังมีอีกหนึ่งโรคที่น่ากลัวไม่แพ้กัน คือ ไขมันพอกตับ เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่รับประทานแล้วไปใช้ได้หมด จนทำให้เกิดการสะสมอยู่ที่ตับ

 

อายุรแพทย์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ความรู้ อาการไขมันพอกตับ

 

ไขมันพอกตับ คืออะไร?
พญ.ปิติญา รุ่งภูวภัทร อายุรแพทย์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า ไขมันพอกตับเป็นภัยเงียบ เนื่องจากผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตับมีความผิดปกติ เพราะส่วนใหญ่ไม่มีอาการใดๆ มักตรวจพบและได้รับการวินิจฉัยเมื่อมาตรวจสุขภาพประจำปี อาจมีอาการอ่อนเพลียควบคู่ไปด้วย มีอาการจุกแน่นบริเวณชายโครงขวา

 

เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับ และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้ผลการตรวจการทำงานของตับผิดปกติเล็กน้อย โรคนี้มักไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด แต่บางครั้งจะบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ

 

อายุรแพทย์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ความรู้ อาการไขมันพอกตับ

 

สาเหตุของโรคไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1.จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic fatty liver disease) ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์

2.ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease) โดยมีผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น 

-มีโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน (Metabolism) ของร่างกาย ที่เรียกว่า Metabolic syndrome (เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง)

-ภาวะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือภาวะทุพโภชนาการ เช่น มีโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือจากการได้รับอาหารทางหลอดเลือดต่อเนื่อง

-ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ยาต้านไวรัสบางชนิด ยาต้านฮอร์โมนบางชนิดในการรักษาโรคมะเร็งเต้านม หรือยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ในปริมาณสูงต่อเนื่อง

-ได้รับสารพิษบางชนิด เช่น จากการบริโภคเห็ดมีพิษ หรือยาฆ่าแมลง

-การติดเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อเอชไอวี และไวรัสตับอักเสบซี

-กินอาหารให้พลังงานสูงเป็นประจำ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน

-อาจเกิดจากพันธุกรรม

กลุ่มเสี่ยงไขมันพอกตับ
ภาวะไขมันพอกตับโดยส่วนใหญ่มักพบในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง กลุ่มอาการอ้วนลงพุง ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก ชอบรับประทานอาหารหวาน ไม่ออกกำลังกาย

 

อายุรแพทย์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ความรู้ อาการไขมันพอกตับ

 

ภัยเงียบจาก ไขมัพอกตับ
โดยส่วนใหญ่ไขมันพอกตับระยะแรกมักไม่มีอาการ แต่หากปล่อยทิ้งไว้จนเกิดการอักเสบเรื้อรัง อาจทำให้กลายเป็นตับแข็ง และเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งตับได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับพบความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งภาวะนี้เกิดจากร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่เรารับประทานไปใช้ได้หมด ส่วนใหญ่ผู้ป่วยไม่มีอาการ จึงอาจทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตัวเองกำลังอยู่ในภาวะไขมันพอกตับ

 

อายุรแพทย์โรคทางเดินอาหารและโรคตับ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ความรู้ อาการไขมันพอกตับ

 

การป้องกัน ไขมันพอกตับ

-ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรือทุก 6 เดือน จะช่วยให้พบความผิดปกติของตับได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะไขมันพอกตับสามารถตรวจเจอในระยะแรกๆ สามารถตรวจพบได้ผ่านการตรวจเลือด อัลตร้าซาวด์ หรือการตรวจด้วยเครื่อง FibroScan

-หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว หรือ อาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เช่น เนื้อติดมัน เบคอน แฮม น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เบเกอรี่ ครีมเทียม

-หลีกเลี่ยงน้ำตาลฟรุกโตส เช่น เครื่องดื่มที่มีรสหวาน คุกกี้ ลูกอม น้ำผลไม้ (ควรรับประทานผลไม้ทั้งผลมากกว่า)

-ควรรับประทานไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่วต่างๆ ปลาทู ปลาแซลมอน ปลาทูน่า

-หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 4-5 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30-45 นาที

-หากใครอยู่ในเกณฑ์อ้วน คือ มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ให้ลดน้ำหนักตัว สามารถปรึกษาแพทย์ได้เช่นกันว่าควรจะมีน้ำหนักประมาณเท่าไร

-ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่

-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 5-6 ชั่วโมงต่อวัน