- 17 พ.ค. 2562
เนื่องในวันที่ 19 พฤษภาคม เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย" พระองค์ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "องค์บิดาของทหารเรือไทย"
เนื่องในวันที่ 19 พฤษภาคม เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย" พระองค์ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "องค์บิดาของทหารเรือไทย"
เสด็จในกรม (กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์) ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เพียงไม่กี่วันเท่านั้น ก็ได้กราบบังคมลาออกจากราชการ ไปตากอากาศ เพื่อพักผ่อนรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2466 ทั้งนี้ก็เพราะเสด็จในกรมฯ ทรงมีสุขภาพไม่สู้จะสมบูรณ์แข็งแรงนัก และทรงประชวรพระโรค ภายในอยู่ด้วย
ทางกระทรวงทหารเรือ ได้สั่งให้กระบวนเรือที่ 2 จัด ร.ล.เจนทะเล ถวายเป็นพาหนะ และกรมแพทย์ทหารเรือ ได้จัดนายแพทย์ประจำพระองค์ 1 นาย พร้อมด้วยพยาบาลตามเสด็จไปด้วย เสด็จในกรมฯ ได้เสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21มษายน พ.ศ. 2466 เสด็จในกรมฯ ได้เสด็จไปประทับ อยู่ที่ด้านใต้ปากน้ำ เมืองชุมพร ซึ่งเป็นที่เสด็จในกรมฯ ทรงจองไว้จะทำสวน ขณะที่เสด็จในกรมฯ ประทับอยู่ที่จังหวัดชุมพรนี้ ก็เกิดเป็นพระโรคหวัดใหญ่
เนื่องจากถูกฝน ทรงประชวรอยู่เพียง 3 วัน ก็สิ้นพระชนม์ที่ ตำบลทรายรี ชุมพร ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 สิริพระชนมายุได้ 43 พรรษา ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ร.ล.เจนทะเล ได้เชิญพระศพ จากจังหวัดชุมพรมายังกรุงเทพฯ และมาพักถ่ายพระศพสู่ ร.ล. พระร่วง ที่บางนา
ต่อจากนั้น ร.ล.พระร่วงได้นำพระศพ เข้ามายังกรุงเทพฯ นำพระศพประดิษฐาน ไว้ที่วังของพระองค์ท่าน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พระราชทาน จนถึงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศพไปพระราชทานเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง
กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นผู้มีความสามารถด้านมวยไทย และในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงเป็นผู้ฝึกสอนให้กับนักมวยต่างจังหวัด ทั้ง นายทับ จำเกาะ, นายยัง หาญทะเล, นายตู้ ไทยประเสริฐ และนายพูน ศักดา ซึ่งเป็นนักมวยที่มีฝีมือชาวโคราช นอกจากนี้ พระองค์ยังมีความสามารถในด้านศิลปะ โดยพระองค์ได้ทรงเขียนภาพพุทธประวัติไว้ที่ผนังโบสถ์ของวัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
อันเป็นภาพเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าพบปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นผลงานที่ยังคงปรากฏสืบมาจนถึงปัจจุบัน และได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผลงานที่มีความละเอียดอ่อนลึกซึ้ง ทั้งนี้กรามหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระองค์ยังเป็นศิษย์ของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เนื่องจากพระองค์ สนใจในวิชาอาคมมาก และเป็นผู้ที่มีวิชาเข้มขลังมากที่สุดในสมัยนั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ เรื่องเล่า ภาพเก่า ในอดีตราชบุรี. (https://www.facebook.com/Ratchabui/photos/)