- 06 มิ.ย. 2562
บ้านพิษณุโลก มีกิตติศัพท์ร่ำลือ กันว่าผีดุ จนเป็นเหตุให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พักได้เพียง 2 วันเท่านั้น ก็ย้ายออกไป แต่เมื่อ สื่อมวลชน ไปสัมภาษณ์ พล.อ. เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา ที่เคยพักอาศัยในบ้านหลังนี้ ในสมัยเด็ก ก็ได้รับการยืนยันว่า ไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องผีดุแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่ตนอาศัยอยู่ตั้งแต่เด็กจนหนุ่ม จนกระทั่งรัฐบาลจอมพล ป. ซื้อบ้านหลังนี้ไป
บ้านพิษณุโลก มีกิตติศัพท์ร่ำลือ กันว่าผีดุ จนเป็นเหตุให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พักได้เพียง 2 วันเท่านั้น ก็ย้ายออกไป แต่เมื่อ สื่อมวลชน ไปสัมภาษณ์ พล.อ. เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา ที่เคยพักอาศัยในบ้านหลังนี้ ในสมัยเด็ก ก็ได้รับการยืนยันว่า ไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องผีดุแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่ตนอาศัยอยู่ตั้งแต่เด็กจนหนุ่ม จนกระทั่งรัฐบาลจอมพล ป. ซื้อบ้านหลังนี้ไป
แต่กิตติศัพท์เรื่องผีดุนี้ ก็ได้รับการตอกย้ำ จนไม่มีนายกรัฐมนตรีคนใด ย้ายเข้าไปพักอย่างเป็นทางการ แม้แต่นายชวน หลีกภัย ซึ่งไม่มีบ้านพักของตัวเองในกรุงเทพฯ ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งสองสมัย ก็ไม่ได้ย้ายเข้าไปพำนัก แม้ว่า บ้านพักซอยหมอเหล็งของนายชวน จะเล็กและคับแคบก็ตาม แต่ก็ใช้บ้านพิษณุโลกรับรองแขกของนายกรัฐมนตรีเท่านั้น
บ้านพิษณุโลก เป็นบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยและเคยใช้เป็นที่ทำการของคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นบ้านแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกประจำราชสำนักสยามชาวอิตาลี (พ.ศ. 2443-2468) มีเนื้อที่ 225 ไร่ 3 งาน เดิมชื่อ บ้านบรรทมสินธุ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสร้างบ้านบรรทมสินธุ์ และพระราชทานให้กับมหาดเล็กส่วนพระองค์ คือ พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พร้อมกับการพระราชทานบ้านนรสิงห์ แก่ พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้พี่ และพระราชทานบ้านมนังคศิลา แก่ มหาเสวกเอก พระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล) รวมถึงพระราชทานบ้านพิบูลธรรม แก่ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ซื้อบ้านหลังนี้จากเจ้าของเดิม เพื่อไม่ให้ญี่ปุ่นซื้อไปเป็นสถานทูต เนื่องจากบ้านนี้ตั้งอยู่ใกล้กับกองพันทหารราบที่ 3 ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ รัฐบาลสมัยนั้นได้ใช้บ้านนรสิงห์ เป็นทำเนียบรัฐบาล (ภายใต้ชื่อ "ทำเนียบสามัคคีชัย") สำหรับบ้านบรรทมสินธุ์นั้น ในช่วงแรก ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น บ้านไทยพันธมิตร ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้ง เป็น บ้านพิษณุโลกเนื่องจากบ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนถนนพิษณุโลก ข้างโรงพยาบาลมิชชั่น ได้ใช้เป็นที่ต้อนรับแขกเมืองสำคัญของรัฐบาลมาจนปัจจุบัน
รัฐบาลยุคต่อมาได้ปรับปรุงบ้านพิษณุโลก เพื่อใช้เป็นบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาตั้งแต่สมัย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2522 และมาแล้วเสร็จในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในปี พ.ศ. 2524 พลเอกเปรม ได้ย้ายเข้าไปพัก แต่ก็อยู่เพียง 2 วัน จึงย้ายออกไปพักที่บ้านพักเดิมคือ บ้านสี่เสาเทเวศร์ ในยุค พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีการใช้บ้านหลังนี้เป็นที่ทำงานของคณะที่ปรึกษาจนมีชื่อเสียงโด่งดัง เรียกกันติดปากสื่อมวลชนว่า ที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก แต่ไม่ได้มีการใช้เป็นที่พัก โดยนายกรัฐมนตรียุคต่อมามีเพียง นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายที่เข้าพักบ้านพิษณุโลกหลังนี้และอยู่ได้นานทั้งสองสมัยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เรื่องอาถรรพณ์ที่เล่าลือต่อๆ กันมา แต่ไม่รู้ว่ามีใครเคยเห็นจริงหรือไม่ ก็จะเป็นเรื่องของ "เจ้าที่" ที่ "แรง" มีเสียงแปลกๆ ที่มาจากรูปปั้นต่างๆ ภายในบริเวณบ้าน เช่น ม้า รูปปั้นโรมัน รวมไปถึงงูยักษ์ที่ออกมาเลื้อยให้เห็น ซึ่งก็ออกจะเป็นธรรมดาของบ้านเก่าในยุคเดียวกัน เช่น ที่ "บ้านพระอาทิตย์" นี่ก็มี ส่วนต้นวงศ์ของท่านเจ้าของเดิม (ม.ล.เฟื้อ – ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ) คือ พระองค์เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ ที่มีพระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้าไกรสร" นั้นท่านทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 1 จำนวน 1 ใน 4 พระองค์ที่ดำรงพระชนมชีพอยู่ในขณะที่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงประชวรและเสด็จสวรรคต คือ
พระเจ้าน้อยยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ (พระองค์เจ้าอรุโณทัย)
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทพพลภักดิ์ (พระองค์เจ้าอภัยทัต)
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ (พระองค์เจ้าฉัตร)
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรักษ์รณเรศ (พระองค์เจ้าไกรสร)
ทั้ง 4 พระองค์มีพระนามผูกอยู่ในคำกลอนบาทแรก ที่ว่ากันว่าเป็นกลอน "พระนามลูกรัก" ในรัชกาลที่ 1 คล้องจองกันดังนี้
อรุโณทัย อภัยทัต ฉัตร ไกรสร
สุริยวงศ์ สุริยา ดารากร
ศศิธร คันธรส วาสุกรี
สุทัศน์ อุบล มณฑา
ดวงสุดา ดวงจักร มณีศรี
ธิดา กุณฑล ฉิมพลี
กระษัตรี จงกล สุภาธร
สำหรับเสียงร่ำลือของบ้านพิษณุโลกมีกิตติศัพท์ร่ำลือกันว่าผีดุจนเป็นเหตุให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พักได้เพียง 2 วันเท่านั้น ก็ย้ายออกไปแต่เมื่อสื่อมวลชนไปสัมภาษณ์ พล.อ.เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา ซึ่งเป็นทายาทของพระยาอนิรุทธเทวา ซึ่งเคยพักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้เมื่อสมัยเด็กก็ได้รับการยืนยันว่าไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องผีดุแต่อย่างใดทั้งๆ ที่ตนอาศัยอยู่มาตั้งแต่เด็กจนหนุ่ม จนกระทั่งรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซื้อบ้านหลังนี้ไป
แต่กิตติศัพท์เรื่องผีดุนี้ก็ได้รับการตอกย้ำ จนไม่มีนายกรัฐมนตรีคนใดย้ายเข้าไปพักอย่างเป็นทางการ แม้แต่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ยังได้ใช้บ้านหลังนี้เป็นเพียงที่รับแขกเท่านั้น มีเพียงแต่นายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายเพียงคนเดียวที่พำนักอยู่ในบ้านหลังนี้ได้นานที่สุดคือ นายชวน หลีกภัย เนื่องจากบ้านพักในซอยหมอเหล็งของนายชวนนั้นค่อนข้างเล็กและคับแคบ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงได้ย้ายเข้ามาพำนักในบ้านพิษณุโลก อย่างเป็นทางการทั้งสองสมัย โดยได้ใช้โซฟาในห้องทำงานซึ่งอยู่ด้านหน้าห้องนอนเป็นที่นอน และไม่ได้มีการใช้เตียงนอนภายในห้องนอนของบ้านแต่อย่างใดเนื่องจากเป็นให้เกียรติเจ้าของบ้าน จึงเป็นที่สงสัยกันว่าเหตุใด นายชวน หลีกภัย พำนักอยู่ในบ้านหลังนี้ได้นานกว่านายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ และหลังจาก นายชวน หลีกภัย แล้วก็ไม่มีนายกรัฐมนตรีคนใดใช้บ้านหลังนี้เป็นที่พำนักถึงปัจจุบัน มีเพียงแต่ใช้เป็นที่ประชุมและรับแขกเท่านั้น