โรคตุ่มน้ำพอง ไม่ใช่โรคหายาก มีหนทางรักษา หมั่นดูแลตนเอง

โรคตุ่มน้ำพอง ไม่ใช่โรคหายาก มีหนทางรักษา หมั่นดูแลตนเอง

จากกรณีที่คุณ วินัย ไกรบุตร (คุณเมฆ) นักแสดงชื่อดัง ได้ป่วยเป็นโรคผื่นขึ้นเต็มตัว จนเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
ทางคุณเมฆได้ออกมา Live ในเพจเฟสบุคของตนเองเพื่อเล่าถึงอาการของโรคที่เป็นอยู่ในตอนนี้
ซึ่งได้ใช้เวลาในการรักษาตัวที่โรงพยาบาล 11 วัน จนล่าสุดก็ได้มารักษาตัวต่อที่บ้าน ตอนนี้ตุ่มตามตัวตั้งแต่หัวถึงเท้า แผลเริ่มแห้งและตุ่มใสๆ เริ่มขึ้นน้อยลงแล้ว

โรคตุ่มน้ำพอง ไม่ใช่โรคหายาก มีหนทางรักษา หมั่นดูแลตนเอง

ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้กัน ที่มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า โรคเพมฟิกัส  จัดอยู่ในโรคตุ่มน้ำพอง
จากข้อมูลสถาบันโรคผิวหนังได้ระบุเอาไว้ว่า โรคเพมฟิกัสจัดอยู่ในกลุ่มโรคตุ่มน้ำพองเรื้อรังที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ โดยมีการสร้างแอนติบอดี้ที่มาทำลายการยึดของเซลล์ผิวหนัง 
ผิวหนังจึงหลุดลอกออกจากกันโดยง่าย ทำให้เกิดอาการตุ่มน้ำพองที่ผิวหนังและเยื่อบุต่าง ๆ

สาเหตุ เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งมีการสร้างภูมิต้านทานต่อเซลล์ผิวหนังและเยื่อบุของตนเอง ร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม มีบทบาทร่วมกันในการก่อโรค
สำหรับอาการของโรคที่เด่นชัด คือ จะปรากฏตุ่มขึ้นตามที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือ ขึ้นตามตัว หากรักษาหายขาด อาจทิ้งร่องรอยคล้ายรอยแผลจากโรคอิสุกอิใสได้

การรักษา
ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความรุนแรงของโรคแตกต่างกัน ในช่วงที่โรคกำเริบ การรักษามีจุดประสงค์ในการลดการเกิดตุ่มน้ำใหม่และเร่งการสมานแผลให้เร็วที่สุด ยาที่ใช้รักษาหลักคือยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานโดยใช้ในขนาดสูง 0.5-1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคมากหรือมีผื่นในบริเวณกว้าง จำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันชนิดอื่นๆ

โรคตุ่มน้ำพอง ไม่ใช่โรคหายาก มีหนทางรักษา หมั่นดูแลตนเอง
 

คำแนะนำสำหรับการดูแลตนเองเบื้องต้น
1. ควรมาพบแพทย์สม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาหรือปรับลดยาเอง
2. ควรทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ บริเวณที่เป็นแผลให้ใช้น้ำเกลือทำความสะอาด ใช้แปรงขนอ่อนทำความสะอาดลิ้นและฟัน ไม่แกะเกาผื่น
3. ผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานต่ำจากยาที่ใช้รักษา จึงควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อ
4. ไม่มีข้อห้ามในการรับประทานอาหาร ในผู้ป่วยที่มีแผลในปาก ควรงดอาหารรสจัด งดรับประทานอาหารแข็ง เช่น ถั่ว ของขบเคี้ยว เนื่องจากอาจกระตุ้นการหลุดลอกของเยื่อบุในช่องปาก
5. ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดคับ เพื่อลดการถลอกที่ผิวหนัง

 

CR.สถาบันโรคผิวหนัง