ครั้งเมื่อ รัชกาลที่ 4 ให้ตำรวจหลวง บุกจับ สมเด็จโต

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)  วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นอริยสงฆ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้แตกฉานยิ่งในพระปริยัติธรรม เป็นพหูสูตร รอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม มีความเจนจบทั้งพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์  สันนิษฐานว่า ท่านเป็นบุคคลที่สันโดษมักน้อยจริงๆ และไม่ยินดีในเกียรติยศชื่อเสียง การศึกษาของท่านเป็นไปเพื่อต้องการความรู้เท่านั้น จึงไม่นิยมสอบเปรียญธรรมนัก

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)  วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นอริยสงฆ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้แตกฉานยิ่งในพระปริยัติธรรม เป็นพหูสูตร รอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม มีความเจนจบทั้งพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์  สันนิษฐานว่า ท่านเป็นบุคคลที่สันโดษมักน้อยจริงๆ และไม่ยินดีในเกียรติยศชื่อเสียง การศึกษาของท่านเป็นไปเพื่อต้องการความรู้เท่านั้น จึงไม่นิยมสอบเปรียญธรรมนัก

สมเด็จโตเป็นนักเทศน์ที่หาตัวจับยากในยุคต้นรัตนโกสินทร์  ท่านได้แสดงความเป็นอัจฉริยะตั้งแต่เยาว์วัย ทั้งเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าแผ่นดินและประชาชนคนเดินดินทั่วไป คุณวิเศษสำคัญประการหนึ่งของท่านคือ สามารถเทศน์ให้หัวเราะก็ได้ ให้ร้องไห้ก็ได้ ให้คนเทกระเป๋าทำบุญก็ได้ นอกจากนี้ท่านยังเป็นนักโหราศาสตร์ ทำนายดวงชะตาได้แม่นยำ และยังเป็นนักใบ้หวยที่โด่งดังอีกด้วย

 

ครั้งเมื่อ รัชกาลที่ 4 ให้ตำรวจหลวง บุกจับ สมเด็จโต

 

ในการเรียนของสมเด็จโตนั้น กล่าวกันว่า ท่านเรียนจนไม่มีอาจารย์ เมื่อไม่มีผู้ใดสอนให้แล้ว ในที่สุดท่านจึงไปเรียนกับพระพุทธรูปในโบสถ์ เมื่อเห็นว่าพอสมควรแล้วก็หยุด กราบสามครั้ง แล้วก็จัดแจงเก็บหนังสือห่อเทินศีรษะ เดินไปจนถึงที่อยู่ของตน  ท่านประพฤติดังนี้เสมอมามิได้ขาด ครั้นถึงเวลาเปิดสนามหลวง ท่านก็เข้าบัญชีแปลทุกปี เพราะสมัยนั้นหาพระและเณรเข้าแปลบาลีในสนามหลวงได้ยาก ในวัดหนึ่งๆ จะมีสักสามองค์หรือสี่องค์ก็ยาก  ฉะนั้น สมเด็จโตจึงเข้าแปลทุกปี

เมื่อสมเด็จโตแปลนั้น พวกกรรมการไม่มีใครทักเลยแม้แต่รูปเดียว ซึ่งคงจะเนื่องด้วยเหตุสองประการคือ  ประการที่หนึ่ง เห็นว่าท่านเป็นพระหลวง  ประการที่สอง จะเห็นว่าท่านมีความรู้บริบูรณ์เต็มที่แล้ว  และเมื่อท่านแปลพอจวนจะลงประโยคแล้ว ท่านก็ชิงกราบลาไปเสียทุกที  จนบางทีกรรมการถึงกับต่อว่าว่า

"พิลึกจริง...ไม่เห็นมีใครว่าอะไรก็ลาไปเสียเฉยๆ"

นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏว่า สมเด็จโตเป็นเปรียญ (ในสมัยนั้น) เพราะกล่าวกันว่า ท่านไม่ยินดียินร้ายในลาภยศเลย คนทั่วไปจึงมักเรียกท่านว่า "มหาโต" เพราะเลื่อมใสในความเปรื่องปราดของท่าน แต่ขณะเดียวกันก็มีผู้เรียกว่า "ขรัวโต" เพราะท่านชอบทำอะไรแปลกๆ นั่นเอง

สมเด็จโตหลีกเลี่ยงการสอบเปรียญและรับสมณศักดิ์มาหลายรัชสมัย จนมาถึงปีพุทธศักราช ๒๓๙๔ เมื่อ "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จขึ้นครองราชย์ (ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว") จึงทรงให้ประกาศหาพระมหาโต โดยมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ ฝ่ายตะวันออก ฝ่ายตะวันตก ทั่วราชอาณาจักร จับพระมหาโตส่งมายังเมืองหลวงให้ได้  พร้อมทั้งให้เจ้าคณะเหนือ กลาง ใต้ ออก ตก ค้นหาพระมหาโต  พระที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายพระมหาโตต่างถูกจับส่งเข้าเมืองหลวง  จนกระทั่งข่าวพระเจ้าแผ่นดินประกาศจับพระมหาโตดังถึงหูชาวบ้านชาวป่าในที่สุด พระมหาโตกบดานอยู่ในดงพญาไฟนานถึง ๒๕ ปี เมื่อทราบข่าวก็ถึงกับอุทานขึ้นมาว่า

"กูหนีมา ๒๕ ปี ทำไมเพิ่งมาประกาศจับ!!"

 

ครั้งเมื่อ รัชกาลที่ 4 ให้ตำรวจหลวง บุกจับ สมเด็จโต

 

ถามไปถามมาจึงรู้ว่าเปลี่ยนแผ่นดินแล้ว พระมหาโตจึงไปโผล่ที่บ้านไผ่ เมืองขอนแก่น และให้ตำรวจหลวงนำท่านเข้าบางกอก จนได้เข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๔ ณ พระที่นั่งอัมรินทร์ฯ ท่ามกลางขุนนาง ข้าราชการ ครั้นรัชกาลที่ ๔ เห็นพระมหาโตก็มีพระราชดำรัสว่า

"เป็นสมัยของฉันปกครองแผ่นดินแล้ว ท่านต้องช่วยฉันพยุงพระบวรพุทธศาสนาด้วยกัน"

เมื่อเสร็จพระราชพิธีการแต่งตั้งแล้ว สมเด็จโตก็ออกจากพระบรมมหาราชวัง (ท่านปฏิเสธขบวนเสลี่ยงที่มีคนหาม ดังมีเรื่องเล่ากันว่า ถ้าเป็นสมภารแล้วเดินเองไม่ได้ ท่านก็ไม่เอา ถ้าไม่ยอม ท่านก็จะไม่รับ)  ท่านถือบาตร ผ้าไตร และบริขาร แบกพัดไปเอง จนถึงบางขุนพรหมและบางลำพู บอกลาพวกสัปบุรุษที่เคยนับถือ มีเสมียนตราด้วง พระยาโหราธิบดีเก่า และผู้อื่นอีกมาก แล้วท่านก็กลับมาที่วัดมหาธาตุฯ เพื่อลาพระสงฆ์ทั้งปวง ลงเรือกราบสีที่ได้รับพระราชทานมาแต่พระพุทธเลิศหล้าฯ ข้ามไปกับผู้เป็นหลาน สมเด็จโตหอบเครื่องไทยธรรม ถือพัดยศและย่ามมาเอง ใครจะรับก็ไม่ยอมส่งให้ เที่ยวเดินไปรอบๆ และร้องบอกดังๆ ว่า

"เจ้าชีวิตทรงตั้งฉันเป็นที่พระธรรมกิตติ มาเฝ้าวัดระฆังฯ วันนี้จ้ะ เปิดประตูโบสถ์รับฉันเถอะจ้ะ ฉันจะต้องเข้าจำวัดเฝ้าโบสถ์ จะเฝ้าวัดตามพระราชโองการรับสั่งจ้ะ"

สมเด็จโตแบกตาลปัตรพัดแฉก สะพายถุงย่ามสัญญาบัตรไปเก้ๆ กังๆ มือหนึ่งถือกาน้ำและกล้วยหวีหนึ่ง พะรุงพะรัง  พวกพระนึกขบขัน จะช่วยท่านถือ เจ้าคุณธรรมกิตติ (สมเด็จโต) ก็ไม่ยอม พระเลยสนุกตามมุงดูกันแน่น แห่กันเป็นพรวนเข้าไปแน่นในโบสถ์ บางองค์ก็จัดโน่นทำนี่ ต้มน้ำบ้าง ตักน้ำถวายบ้าง ตะบันหมากบ้าง กิตติศัพท์เกรียวกราวตลอดกรุง คนนั้นก็มาเยี่ยม คนนั้นก็มาดู เลื่อมใสในจรรยาบ้าง เลื่อมใสในยศศักดิ์บ้าง แต่ท่านก็ขึ้นกุฏิไปเงียบๆ ไม่ได้มีการประชุมพระลูกวัดเพื่อชี้แจงนโยบายอะไร

 

ครั้งเมื่อ รัชกาลที่ 4 ให้ตำรวจหลวง บุกจับ สมเด็จโต

 

ครั้งนั้นมีเรื่องเล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปุจฉาเชิงสัพยอกสมเด็จโตว่า

"เหตุใดขรัวโตจึงพยายามหนีการแต่งตั้งในรัชกาลที่ ๓ แต่ทีนี้ทำไมจึงยอมรับ ไม่หนีอีกเล่า ? "

สมเด็จโตถวายพระพรว่า

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ มิได้ทรงเป็นเจ้าฟ้า ทรงเป็นแต่เจ้าแผ่นดิน อาตมาจึงหนีพ้นเสียได้ ส่วนมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า (รัชกาลที่ ๔) ทรงเป็นทั้งเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ไฉนอาตมาจะหนีพ้นได้เล่า"

ได้ยินเช่นนั้นเข้า... พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงกับทรงพระสรวลในปฏิภาณของสมเด็จโตเลยทีเดียว

 

ครั้งเมื่อ รัชกาลที่ 4 ให้ตำรวจหลวง บุกจับ สมเด็จโต